ความต้านทานไฟฟ้าของถ่านกัมมันต์จากการเตรียมด้วยเปลือกพืชตระกูลแตงที่ใช้ตัวกระตุ้นที่แตกต่างกัน

Main Article Content

กาญจนาพร อ่อนทรายแก้ว
ปรีชา ปัญญา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวกระตุ้นที่เหมาะสมในการเตรียมถ่านกัมมันต์จากเปลือกพืชตระกูลแตง จากแตงโม แคนตาลูป และแตงไทย และเพื่อนำถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้ไปประยุกต์ใช้เป็นขั้วไฟฟ้า โดยทำการศึกษาตัวกระตุ้น ได้แก่ ซิงค์คลอไรด์ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ และกรดทาร์ทาริก โดยทำการวิเคราะห์ลักษณะพื้นผิวและขนาดรูพรุนของถ่านกัมมันต์ด้วpกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด  หาพื้นที่ผิวถ่านกัมมันต์จากสมการไอโซเทอร์มแบบแลงเมียร์ของการดูดซับเมทิลีนบลู และทดสอบความต้านทานไฟฟ้าด้วยเครื่องมัลติมิเตอร์แบบเข็ม ผลการศึกษา พบว่า สำหรับเปลือกแตงโม เปลือกแคนตาลูป และเปลือกแตงไทยที่ถูกกระตุ้นด้วยซิงค์ลอไรด์สามารถเตรียมถ่านกัมมันต์ที่มีพื้นที่ผิวสูงที่สุด โดยมีพื้นที่ผิวเท่ากับ 139, 162 และ 110 ตารางเมตรต่อกรัม ตามลำดับ ซึ่งได้ผลสอดคล้องกับค่าความต้านทานไฟฟ้า สรุปได้ว่าจากลักษณะพื้นที่ผิวที่สูงและขนาดรูพรุนในถ่านกัมมันต์สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นส่วนประกอบในซูเปอร์คาปาซิเตอร์ได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ สีรอด, และวรินรำไพ เศรษฐ์ธณบุตร. (2561). สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตถ่านกัมมันต์จากเศษไม้ยูคาลิปตัสโดยการใช้กรดฟอสฟอริกเป็นสารกระตุ้น. วารสารวิจัย มข., 19(3), 13-27.

ทิชากร สวนใจดี, และปรีชา ปัญญา. (2559). การกำจัดฟีนอลโดยการดูดซับบนถ่านกัมมันต์ที่ปรับปรุงด้วยเซททิลพิริดิเนียมคลอไรด์. สักทอง : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สทวท.), 3(2), 69–76.

ธีระ วงศ์เนตร, และปรีชา ปัญญา. (2554) การผลิตถ่านกัมมันต์จากเหง้ามันสำปะหลัง. สักทอง วารสารการวิจัย, 17, 13–20.

ปรีชา ปัญญา. (2557). เคมีพื้นผิว. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ภิเษก รุ่งโรจน์ชัยพร. (2554). วัสดุรูพรุนคืออะไร. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 20(1), 60-69.

ยุวรัตน์ เงินเย็น, และขนิษฐา คำวิลัยศักดิ์. (2556). ถ่านกัมมันต์จากวัสดุชีวมวลของประเทศไทย: การทบทวนวรรณกรรม. วิศวกรรมสาร มข., 40(2), 267-283.

ยุวรัตน์ เงินเย็น, วีรวิทย์ ผิวเรืองนนท์, และรัชพล อณาชัย. (2561). การเตรียมถ่านกัมมันต์จากเปลือกกระท้อนและก้านพริก. วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ, 4(2), 98-107.

สุจนีย์ คุ่ยเสงี่ยม. (2544). การกำจัดตะกั่วและปรอทจากน้ำทิ้งอุตสาหกรรมสิ่งทอโดยใช้ถ่านกัมมันต์จากกะลาปาล์มและกะลามะพร้าว. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาพร รัตนพันธ์, เพ็ญนภา เพ็งแจ่ม, และพนิตา ก้งซุ่น. (2557). การเตรียมและลักษณะจำเพาะของถ่านกัมมันต์จากเปลือกมังคุด. พัทลุง: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สุโรชินี สกุลดวงดี. (2545). การเตรียมถ่านกัมมันต์และการทดสอบความชอบในการดูดซับของถ่านกัมมันต์จากกะลาปาล์มโดยใช้สารละลายซิงค์คลอไรด์ในการกระตุ้น. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Balbasi, M., & Sahin, A. (2015). Symmetrical supercapacitor application with low activated carbon content. Journal of the Faculty of Engineering and Architecture of Gazi University, 30 (4), 683-692.

Boulanger, N., Skrypnychuk, V., Nordenström, A., Moreno-Fernández, G., Granados-Moreno, M., Carriazo, D., Mysyk, R., Bracciale, G., Bondavalli, P., & Talyzin. A.V. (2021). Spray deposition of supercapacitor electrodes using environmentally friendly aqueous activated graphene and activated carbon dispersions for industrial implementation. ChemElectroChem, 8, 1349–1361.

Elanthamilan, E., Rajkumar, S., Yesuraj, J., Premkumar, D., Kumaresan, M., Karthikeyan, K. & Princy, M.J. (2019). Low cost activated carbon derived from Cucumis melo fruit peel for electrochemical supercapacitor application. Applied Surface Science, 486, 527- 538.

Gandla, D., Wu, X., Zhang, F., Wu, C., & Tan, D.Q. (2021). High-performance and high-voltage supercapacitors based on N‑doped mesoporous activated carbon derived from dragon fruit peels. ACS Omega, 6, 7615−7625.

Geçgel, O., Ünal, G., & Yüksel, B. (2019). Preparation and characterization of mesoporous activated carbons from waste watermelon rind by using the chemical activation method with zinc chloride. Arabian Journal of Chemistry, 12(8), 3621-3627.

Mahaninia M., Rahimian, P., & Kaghazchi, T. (2015). Modified activated carbons with amino groups and their copper adsorption properties in aqueous solution. Chinese Journal of Chemical Engineering, 23, 50–56.

Nunes, C.A., & Guerreiro, M.C. (2011). Estimation of surface area and pore volume of activated carbons by methylene blue and iodine numbers. Química Nova, 34(3), 472-476.

Otgonbayar, Z., Yang, S., Kim, I.J., & Oh, W.C. (2021). Surface modification effect and electrochemical performance of LiOH-high surface activated carbon as a cathode material in EDLC. Molecules, 26, 2187-2015.

Pashley, R. M., & Karaman, M. E. (2004). Applied colloid and surface chemistry. Chichester: John Wiley & Sons.

Rahmah, A., Zainollah, A., Fitriani, O.A., Ramadhan, D.S., Cahayo, M., & Masruroh. (2017). EDLC type supercapacitor electrode based on banana peels activated carbon. Indonesian Journal of Applied Physics, 7 (1), 46-51.

Reece, R., Lekakou, C., & Smith, P.A. (2019). A structural supercapacitor based on activated carbon fabric and a solid electrolyte. Materials Science and Technology, 35 (3), 368–375.

Shetty, A.A., Rana, R., Buckseth, T., & Preetham, S.P. (2012). Waste utilization in cucurbits: A review. Waste Biomass Valor, 3, 363–368.

Sultan, A., Ahsan, A., & Rafat, M. (2019). Supercapacitor performance of activated carbon derived from rotten carrot in aqueous, organic and ionic liquid based electrolytes. Journal of Saudi Chemical Society, 22, 993-1002.

Wei, Q., Chen, Z., Cheng, Y., Wang, X., Yang, X., & Wang, Z. (2019). Preparation and electrochemical performance of orange peel based-activated carbons activated by different activators. Colloids and Surfaces A: Physicochemical and Engineering Aspects, 574, 221-227.