การประเมินการรั่วไหลของก๊าซปิโตรเลียมเหลวห้องปฏิบัติการครัวร้อน ด้วยโปรแกรม ALOHA และ Google Earth ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือ LPG เมื่อรั่วไหลจะเกิดไฟไหม้และระเบิด ทำให้ผิวหนังไหม้ ขาดอากาศหายใจและเสียชีวิตได การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแพรกระจาย และการระเบิดเมื่อมีการรั่วไหลของกาซปโตรเลียมเหลวแบบอัดอากาศ ขนาด 48 กิโลกรัม จำนวน 5 ถัง ของห้องปฏิบัติการครัวร้อนด้วยโปรแกรม ALOHA (Areal Locations of Hazardous Atmospheres) และ Google earth ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี โดยการจำลองสถานการณ์ 3 ฤดู พบว่าที่ระดับ ERPG-3 (ความเข้มข้น 33,000 ppm) ระดับ ERPG-2 (ความเข้มข้น 17,000 ppm) และระดับ ERPG-1 (ความเข้มข้น 5,500 ppm) ในฤดูหนาว
มีระยะการรั่วไหลสูงสุดที่ระยะ 194 , 325 และ 620 เมตรตามลำดับ โดยแพร่กระจายไปทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือ การรั่วไหลแบบกลุ่มหมอกก๊าซไวไฟ พบว่าฤดูฝนค่าขีดจำกัดบนที่ระเบิดได้
(60 %LEL ความเข้มข้น 12,600 ppm ) และค่าขีดจำกัดล่างที่ระเบิดได้ (10 %LELความเข้มข้น 2,100 ppm ) มีรัศมีการรั่วไหลสูงสุดที่ 55 และ 137 เมตรตามลำดับ ฤดูร้อนพบการเกิดเพลิงไหมและการระเบิดแบบ
Jet fire ที่ทำให้เกิดเปลวไฟที่ความสูง 4 เมตรทำให้ผู้ที่อยู่ภายในรัศมี 10 เมตรได้รับอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต
และพบว่าเกิดเพลิงไหมและการระเบิดแบบ BLEVE เป็นลูกไฟขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 18 เมตร โดยฤดูร้อนทำให้เกิดรังสีความร้อนที่ระดับความเข้ม 10 กิโลวัตต์ต่อตารางเมตร ทำให้ผู้ที่อยู่ภายในรัศมี 45 เมตรได้รับอันตรายถึงชีวิตและโครงสร้างอาคารถูกทำลาย ดังนั้น ทางมหาวิทยาลัยแห่งนี้ควรจัดทำแผนการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินที่ครอบคลุมการแพร่กระจายที่ระดับ ERPG-1,2 และ 3 ค่าระดับความเข้มที่ปลอดภัยและระดับความเข้มของการแผ่รังสีความร้อน เพื่อลดการสัมผัสที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ และนำข้อมูลไปใช้ในการจัดทำแผนตอบโต้เหตุฉุกเฉินในสถานศึกษาและชุมชนที่ใกล้เคียงที่มีความเสี่ยงในแบบเดียวกันกับมหาวิทยาลัยแห่งนี้ต่อไป
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2564). การเตรียมความพร้อมและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสารเคมีสำหรับการอบรม
หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพทีมปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสารเคมีและรังสี ระดับพื้นที่สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (ครู ก.). สืบค้นจาก http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/media/manual/Readiness_01.pdf
กรมควบคุมมลพิษ. (2564). จัดทำคู่มือการปกป้องประชาชนจากเหตุฉุกเฉินสารเคมีรั่วไหล. สืบค้นจาก https://www.pcd.go.th/publication/11960/
กรมอุตุนิยมวิทยา. (2564). ภูมิอากาศปทุมธานี. สืบค้นจาก http://climate.tmd.go.th/data/province/ภาคกลางตอนบน/ภูมิอากาศปทุมธานี.pdf
กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2564). คู่มือการเตรียมความพร้อมและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรณีอุบัติภัยสารเคมี. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1171220210826082606.pdf
ชรินทร์ เย็นใจ และวันเพ็ญ วิโรจนกูฏ. (2558). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน กรณี สารเคมีรั่วไหลด้วย โปรแกรม ALOHA, MARPLOT, Google earth และ Microsoft Excel. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัย บูรพา, 10(1), 15-25.
ชัยวัฒน์ เผดิมรอด, อรวรรณ ชำนาญพุดซา และจินต์จุฑา ขำทอง. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดอุบัติเหตุของพนักงานดับเพลิงเทศบาลเมืองท่าโขลง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2(3), 38-62.
ธนวัฒน์ เทียมทะนงค์. (2563). แบบจำลองผลกระทบการรั่วไหลจากถังเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลว และการจำลองการอพยพไปยังจุดรวมพล. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มุจลินทร์ อินทรเหมือน และคณะ. (2563). การประเมินการรั่วไหลของสารก๊าซปิโตรเลียมเหลวในโรงงานผลิตถุงมือยางด้วยโปรแกรม ALOHA และ MARPLOT. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(2), 211-220.
วันวิสาข์ เสาศิริ. (2559). การประเมินการแพร่กระจายและการระเบิดของก๊าซปิโตรเลียมเหลวจากการรั่วไหลของสถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ในกรุงเทพมหานคร ด้วยโปรแกรม ALOHA. การค้นคว้าอิสระสาธารณสุขศาตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมโชค สุยะสา, สมภพ จรุงธรรมโชติ และสุภัทร พัฒน์วิชัยโชติ. (2559). การประเมินผลกระทบการรั่วไหลของก๊าซปิโตรเลียมเหลวในโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, 8-9 ธันวาคม 2559. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ. (2564). ALOHA (AREAL LOCATION OF HAZARDOUS ATMOSPHERES). สืบค้นจาก http://www.spko.moph.go.th/wp-content/uploads/2017/03/AlohaThai.pdf
อภิวัฒน์ เขียวอร่าม และสุภัทร พัฒน์วิชัยโชติ. (2563). การวิเคราะห์เชิงสมรรถนะเพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตด้วยโปรแกรม ALOHA และ Pathfinder กรณีศึกษาโรงงานประกอบชิ้นส่วนยานยนต์. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 4 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา, 28 ส.ค. 2563. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จังหวัดชลบุรี.
American Industrial Hygiene Association. ERPGs. (2021). Emergency Response Planning Guidelines (ERPGs). Retrieved from: https://www.aiha.org/get-involved/aiha-guideline-foundation/erpgs
Anjana N.S., Amarnath A., Chithra S.V., Harindranathan Nair, M.V., & Jose, S.K. (2015). Population vulnerability assessment around a LPG storage and distribution facility near Cochin using ALOHA and GIS. International Journal of Engineering Science Invention, 4(6), 23-31.
Anjana, N.S., Amarnath, A., & Nair, M.H. (2018). Toxic hazards of ammonia release and population vulnerability assessment using geographical information system. Journal of environmental management, 210, 201-209.
Beheshti M.H., Dehghan S.F., Hajizadeh R., Jafari S.M., & Koohpaei A. (2018). Modelling the consequences of explosion, fire and gas leakage in domestic cylinders containing LPG. Annals of Medical and Health Sciences Research, 8(1), 83-88.
Tseng, J.M., Su, T.S., & Kuo, C.Y. (2012). Consequence evaluation of toxic chemical releases by ALOHA. Procedia Engineering, 45, 384 – 389.
U.S. Department of Veterans Affairs. (2021). ALOHA (Areal Locations of Hazardous Atmospheres). Retrieved from: https://www.oit.va.gov/Services/TRM/ToolPage.aspx?tid=9015#:~:text=Description%3A,and%20respond%20to%20chemical%20emergencies.