การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าว (ฟูริคาเกะ) รสกะเพราเสริมใบชายา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ต้นชายาหรือคะน้าแม็กซิโก เป็นผักชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกกันในพื้นที่รอบบริเวณโรงเรียนคลองน้ำใสวิทยาคาร อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งผักชายาเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ควรที่จะนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ สำหรับวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ นำใบชายามาพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้กับชมรมแปรรูปอาหาร “บาย ชายขอบ” ซึ่งเป็นชมรมของโรงเรียนคลองน้ำใสวิทยาคาร โดยพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวรสกะเพราเสริมด้วยใบชายา โดยขั้นตอนแรกจะเป็นการศึกษาหาปริมาณเครื่องปรุงรสกะเพราะที่เสริมลงไปในผงโรยข้าว 3 ระดับ คือ ร้อยละ 60 ร้อยละ 80 และร้อยละ 100 ในการเตรียมส่วนผสมเครื่องปรุงผงโรยข้าวรสกะเพรา จะประกอบไปด้วยส่วนผสม 2 ส่วน คือ ส่วนผสมหลัก ได้แก่ ปลากระตักอบแห้ง งาขาวคั่ว สาหร่าย และส่วนผสมของเครื่องปรุงรสกะเพรา ได้แก่ ผงพริกเกาหลี พริกป่น กะเพราอบแห้ง และผงกระเทียม จากการทดสอบทางประสาทสัมผัสพบว่า ผงโรยข้าวที่มีปริมาณการเสริมเครื่องปรุงรสกะเพาที่ได้รับคะแนนการยอมรับสูงสุด คือ ร้อยละ 80 หลังจากนั้นนำผงโรยข้าวรสกะเพาดังกล่าว มาศึกษาหาปริมาณใบชายาอบแห้งที่เหมาะสมในการเสริมลงไปในผงโรยข้าว โดยแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ ร้อยละ 0 (ชุดควบคุม), ร้อยละ 5, ร้อยละ 10 และร้อยละ 15 โดยน้ำหนัก จากผลการทดลอง พบว่าผงโรยข้าวรสกะเพราเสริมด้วยใบชายาอบแห้งที่ร้อยละ 10 ได้รับคะแนนการยอมรับในภาพรวมมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าผงโรยข้าวรสกะเพราเสริมด้วยใบชายามีปริมาณโปรตีนและเส้นใยอยู่ร้อยละ 39.76 และ 10.60 ตามลำดับ
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กฤติยา ไชยนอก. (2562). บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน คะน้าเม็กซิโก...ต้นไม่แสนอร่อย. สืบค้นจาก https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/449/%E0%B8%84%E0%B8%B0
ธิติยา ผจงพฤทธิ์, จุรีมาศ ดีอำมาตย์, สินีนาถ สุขทนารักษ์, เบญจางค์ อัจฉริยะโพธา, พัชรลักษณ์ วัฒนไชย, กนกวรรณ ปุณณะตระกูล, วีระศักดิ์ ศรีลารัตน์ และมนัญญา คำวชิระพิทักษ์. (2562). การพัฒนา ผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนของชุมชนบ้านคลองอาราง : ชาสมุนไพรชายากลิ่นข้าวเหนียวดำคั่ว. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 96(14), 95-103.
ณพัฐอร บัวฉุน. (2563). พฤกษทางเคมี ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์มในการยัยบยั้งแอลฟา-อะไมเลส และ แอลฟา-กลูโคซิเดสของสารสกัดจากคะน้าเม็กซิโก. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี, 15(1), 118-132.
ดวงรัตน์ พรเทวบัญชา. (2554). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าว (ฟูริคาเกะ) จากผักสลัด. สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นพรัตน์ มะเห, ดลฤดี พิชัยรัตน์ และนัฏฐา คเชนทร์ภักดี. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าว (ฟูริคาเกะ) จากปลาผสมหนังปลากระพงขาวทอดกรอบ. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 49(1), 30-39.
รจนา นุชนุ่ม. (2551). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าว (ฟูริคาเกะ) จากปลาสลิด. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สังวาลย์ ชมพูจา. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์หมันโถวเชิงสุขภาพด้วยการเสริมน้ำผักชายา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 6(2), 21-31.
AOAC. (2000). Official methods of analysis of AOAC International, 17th ed., Gaitherburg, MD, USA: AOAC.
Kuti, J. O. and Kuti. H. O. (1999). Proximate composition and mineral content of two edible species of Cnidoscolus (tree spinach). Plant food human nutrition, 54, 275- 283.