ผลของการใช้เพอร์ไลต์ที่ปรับสภาพด้วยความร้อนเป็นสารปรับปรุงดินต่อผลผลิตของมันสำปะหลัง และสมบัติของดินทรายจัด ในตำบลเพนียด อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้เพอร์ไลต์ที่ปรับสภาพด้วยความร้อนเป็น
สารปรับปรุงดินต่อผลผลิตของมันสำปะหลัง และสมบัติของดินทรายจัด ในตำบลเพนียด อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ผลการศึกษาพบว่าดินในพื้นที่ศึกษาเป็นประเภทดินทรายจัด มีค่าความหนาแน่นรวม 1.58 กรัม/ลบ.ซม. มีค่าความหนาแน่นของอนุภาคดิน 2.55 กรัม/ลบ.ซม และมีค่าความพรุนประมาณ 41 % ไม่มีคุณสมบัติในการกักเก็บธาตุอาหารเนื่องจากอนุภาคส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นควอตซ์ เป็นกรดเล็กน้อย มีปริมาณน้ำที่เป็นประโยชน์ต่ำมาก (5 %) มีอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารต่าง ๆ อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมาก ค่าการแลกเปลี่ยนประจุบวกต่ำ การศึกษาการปรับปรุงดินด้วยเพอร์ไลต์ที่ปรับสภาพด้วยความร้อนโดยการผสมในแปลงทดลองที่
แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 800 กิโลกรัม/ไร่ 1,600 กิโลกรัม/ไร่ และไม่ใส่เพอร์ไลต์ แต่ละกลุ่มตัวอย่างมี
จำนวน 3 ตัวอย่าง โดยเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์สมบัติของดินทุก ๆ 60 วัน ผลการทดลองพบว่าดินหลังการปรับปรุงด้วยเพอร์ไลต์ที่ปรับสภาพด้วยความร้อนมีผลทำให้สมบัติของดินได้แก่ค่าความเป็นกรดด่าง ค่าการนำไฟฟ้า ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดิน แคลเซียมที่เป็นประโยชน์ในดิน แมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ในดิน ปริมาณน้ำที่เป็นประโยชน์ในดินสูงกว่าดินแปลงควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ
ผลการศึกษาผลของเพอร์ไลต์ต่อผลผลิตมันสำปะหลัง พบว่าให้ค่าผลผลิตรวมสูงกว่า ดินก่อนการปรับปรุง อย่างมีนัยสำคัญ (Sig. = 0.000) โดยผลผลิตเฉลี่ยของมันสำปะหลังของแปลงทดลองจำนวน 3 แปลงที่ปรับปรุงดินด้วยเพอร์ไลต์ในอัตราส่วน 1,600 กิโลกรัม/ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ยที่ 64 กิโลกรัม ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยจากแปลงทดลองที่ไม่ได้รับการปรับปรุงดินด้วยเพอร์ไลต์ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยทั้ง 3 แปลง 46 กิโลกรัม ผลการศึกษาครั้งนี้จึงสรุปได้ว่า การใช้เพอร์ไลต์ที่ปรับสภาพด้วยความร้อนเป็นวัสดุปรับปรุงดินส่งผลต่อสมบัติทางเคมี และกายภาพของดิน ตลอดจนผลผลิตของมันสำปะหลังอย่างมีนัยสำคัญ
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กัญจน์นรี ช่วงฉ่ำ. (2555). กลไกทางกายภาพ และ เคมี ของสารปรับปรุงบำรุงดินถ่านชีวมวลจากเศษวัสดุเหลือทิ้งข้าวโพดที่มีผลต่อผลผลิตและการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกในไร่ข้าวโพด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กรมพัฒนาที่ดิน. (2561). การจัดการพื้นที่ดินทราย. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กรมพัฒนาที่ดิน. (2540). การจัดการดินและพืชเพื่อปรับปรุงดินอินทรียวัตถุต่ำ. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กรมพัฒนาที่ดิน. (2550). ความสำคัญของดินและปุ๋ย. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
เอิบ เขียวรื่นรมย์. (2533). ดินของประเทศไทย ลักษณะ การกระจาย และการใช้. ภาควิชาปฐพีวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นิคม จึงอยู่สุข. (2530). ประโยชน์ของหินภูเขาไฟเนื้อแก้วเพอร์ไลต์ในงานอุตสาหกรรม. การประชุมเหมืองแร่. หน้า 133-140, กรุงเทพ, กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี.
อภิสิทธิ์ เอี่ยมหน่อ. (2519). ธรณีวิทยา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิชย์
สำนักทรัพยากรแร่ กรมทรัพยากรธรณี. (2549). สมบัติของหินเพอร์ไลต์ และการใช้ประโยชน์. กรุงเทพฯ:กรมทรัพยากรธรณี.
สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน. (2553). เอกสารวิชาการ เรื่อง ความเสื่อมโทรมของที่ดิน และการจัดการแก้ไข. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
บุรี บุญสมภพพันธ์. (2531). ดินทราย. วารสารพัฒนาที่ดิน, 25, 19-23.
Abidi, S., B. Nait-Ali, Y. Joliff and C. Favotto. (2015). Impact of Perlite, Vermiculite and Cement on the Thermal Conductivity of a Plaster Composite Material: Experimental and Numerical Approaches. Composites Part B: Engineering, 68, 392-400.
Bastani, D., A.A. Safekordi, A. Alihosseini and V. Taghikhani. (2006). Study of Oil Sorption by Expanded Perlite at 298.15 K. Separation and Purification Technology, 52(2), 295-300.
Boumnijel, I., H. Ben Amor and C. Chtara. (2013). Effect of Calcinated and Activated Perlite on Improving Efficiency of Dihydrate Process for Phosphoric Acid. International Journal of Mineral Processing, 125, 112-117.
Chesterman, C.W. (1995). Industrial Mineral and Rocks, New York: American Institute of Mining, Metallurgical and petroleum Engineering, Inc.
Karakoç, M.B., R. Demirboğa, İ. Türkmen and İ. Can. (2012). Effect of Expanded Perlite Aggregate on Cyclic Thermal Loading of Hsc and Artificial Neural Network Modeling. Scientia Iranica, 19(1), 41-50.
Maxim L. Daniel, Ron Niebo & Ernest E. McConnell. (2014), Perlite toxicology and epidemiology – a review, Inhalation Toxicology. Inhal Toxicol, 26(5), 259-270, DOI: 10.3109/08958378.2014.881940
Silber, A., B. Bar-Yosef, I. Levkovitch and S. Soryano. (2010). Ph-Dependent Surface Properties of Perlite: Effects of Plant Growth. Geoderma, 158(3–4), 275-281.
Tekin, N., E. Kadıncı, Ö. Demirbaş, M. Alkan, A. Kara and M. Doğan. (2006). Surface Properties of Poly(Vinylimidazole)-Adsorbed Expanded Perlite. Microporous and Mesoporous Materials, 93(1–3), 125-133.
Yilmazer, S. and M.B. Ozdeniz. (2005). The Effect of Moisture Content on Sound Absorption of Expanded Perlite Plates. Building and Environment, 40(3), 311-318.