การออกแบบและสร้างอินเวอร์เตอร์แหล่งจ่ายอิมพีแดนซ์แบบสองอินพุตสำหรับแหล่งจ่ายพลังงานทดแทน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการนำเสนอการออกแบบและสร้างวงจรอินเวอร์เตอร์แหล่งจ่ายอิมพีแดนซ์แบบสองอินพุต โดยการมอดูเลทแบบพีดับเบิลยูเอ็ม ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถลดและเพิ่มแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับด้านเอาต์พุท โดยไม่ต้องใช้วงจรทบระดับแรงดันให้ยุ่งยากซับซ้อน และลดสัญญาณรบกวนจากการแทรกสอดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ชุดขับเกทไม่จำเป็นต้องมีวงเดดไทม์ จึงทำให้ไม่สูญเสียพลังงานในช่วงนั้นไป วงจรควบคุมสามารถลดความยุ่งยากซับซ้อนโดยใช้วงจรอินเวอร์เตอร์ที่เพิ่มวงจรโครงข่ายอิมพีแดนซ์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเหนี่ยวนำและตัวเก็บประจุที่มีขนาดเท่ากันต่อไขว้กันด้านอินพุตของวงจรฟูลบริดจ์อินเวอร์เตอร์ จากจำลองการทำงานของอินเวอร์เตอร์เฟสเดียวโดยใช้โปรแกรม MATLAB/Simulink และควบคุมการทำงานด้วยสัญญาณ
พีดับเบิลยูเอ็มโดยใช้บอร์ด Arduino MEGA 2560 ที่ดัดแปลงเพิ่มช่วงเวลาลัดวงจรจากรูปแบบดั้งเดิมของวงจรอินเวอร์เตอร์แหล่งจ่ายแรงดัน แสดงให้เห็นว่าวงจรอินเวอร์เตอร์แบบใหม่นี้สามารถเพิ่มระดับแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับด้านเอาต์พุทได้โดยไม่ต้องใช้วงจรทบระดับแรงดัน และเหมาะสมกับการใช้งานร่วมกับแหล่งจ่ายพลังงานทดแทน
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ชาติชาย โสบุญ, ปุณยภัทร ภูมิภาค, และอนุวัฒน์ จางวนิชเลิศ. (2558). การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากคลื่นทะเล. การประชุมทางวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้าครั้งที่ 38, หน้า 161–164.
Farzad Sedaghati,. & Ebrahim Babaei. (2011). Double Input Z-Source DC-DC Converter. The 2nd Power Electronics, Drive System and Technologies Conference, (pp. 581-586.)
Gajanayake, C. J., & Mahinda Vilathgamuwa, D. (2005). Modeling and design of multi-loop closed loop controller of Z-Source Inverter for distribution generation. 37th IEEE Power Electronics Specialists Conference, (pp.1-7).
Huang, Y., Shen M., Peng, F. Z., & Wang, J. (2003). Z-Source Inverter for Residential Photovoltaic Systems. IEEE TRANSACTIONS ON POWER ELECTRONICS, 21(6), 1776-1782.
Jung, J. W., Min Dai & Ali Keyhani. (2005). Modeling and Control of a Fuel Cell Based Z-source Inverter. IEEE.Conf, (pp.1112 -1118).
Loh, P. C., Vilathgamuwa, D. M., Lai, Y. S., Chua G. T., & Li, Y. (2005). Pulse-Width Modulation of Z-source Inverters. IEEE Transactions on Power Electronics, 20(6), 1346 -1355.
Peng, F. Z. (2003). Z-Source Inverter. IEEE Transactions on Industry Applications, 39(2), 504 -510.
Peng, F. Z., Shen, M., & Qian, Z. (2005). Maximum Boost Control of the Z-Source Inverter. IEEE Transactions on Power Electronics, 20(4), 833-838.