ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดหยาบรากหนอนตายหยาก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดหยาบจากรากหนอนตายหยาก โดยสกัดด้วยตัวทำละลาย 4 ชนิด ได้แก่ เฮกเซน เอทิลอะซิเตท เอทานอลและเมทานอล พบว่า สารสกัดหยาบรากหนอนตายหยากที่สกัดด้วยเอทานอลมีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดสูงมีปริมาณเท่ากับ 16.120.53 mg GAE/g และ 23.190.69 QE/g ตามลำดับ เมื่อทำการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH ABST และ FRAP assay พบว่าสารสกัดหยาบรากหนอนตายหยากที่สกัดด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดโดยมีค่า EC50 เท่ากับ 13.210.38 mg/mL 6.450.41 mg/mL 182.180.28 µmol/g extract และการศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus TISTR746 พบว่า สารสกัดหยาบรากหนอนตายหยากในตัวทำละลายเฮกเซนสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus TISTR746 ได้ดีที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยบริเวณที่ยับยั้งอยู่ที่ 8.540.87 มิลลิลิเมตร ซึ่งสารสกัดหยาบรากหนอนตายหยากในตัวลำละลายเฮกเซนสามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียได้อย่างสมบูรณ์โดยมีค่า MIC และ MBC อยู่ระหว่าง 25 และ 50 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ข้อมูลการศึกษานี้จะเป็นองค์ความรู้พื้นฐานในการพัฒนาสมุนไพรพื้นบ้านให้เกิดมูลค่าต่ออุตสาหกรรมการรักษาต่อไปในอนาคต
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ณพัฐอร บัวฉุน. (2558). สารต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลิกรวมของสารสกัดจากชะเอมไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(2), 78-95.
ธนศักดิ์ แซ่เลี่ยว, ศศิธร จันทนวรางกูร และวรรณี จิรภาคย์กุล. (2551). ผลของตัวทำละลายต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและความสามารถต้านออกซิเดชันของกระชายเหลือง (Boesenbergia pandurata). การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร ครั้งที่ 46: สาขาอุตสาหกรรมเกษตร (538-545). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นาตยา มนตรี, ชนนิกานต์ ขวัญช่วย และ พรประพา คงตระกูล. (2557). ผลของสารสกัดหยาบจากหนอนตาย หยากต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อราโรคพืชบางชนิด. แก่นเกษตร, 42(3), 649-653.
นิธิ ตั้งศิริทรัพย์. (2555). การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากเปลือกกล้วยหอมดิบต่อการยับยั้งแบคทีเรียก่อสิวและการติดเชื้อผิวหนังที่พบได้บ่อย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาวบัณฑิต สขาตจวิทยา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นันทวัน บุญยะประภัศร, วิมล ศรีสุข, อรัญญา จุติวิบูลย์สุข, ประพินศรา สอนเล็ก, วิไลวรรณ ทองใบน้อย, วงศ์สถิต ฉั่วกุล, Fong, H.S., Pezzuto, J.และ Kosmeder, J., (2545). ผักพื้นฐานบ้านในป่าชายเลน. วารสารสมุนไพร, 9(1), 1-12.
บุหรัน พันธุ์สรรค์. (2556). อนุมูลอิสระ สารต้านอนุมูลอิสระและการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 21(3), 275-286.
พิชญา พรรคทองสุขและคณะ. (2555). แนวทางการวินิจฉัยโรคและภัยจากการประกอบ อาชีพเบื้องต้นสําหรับหน่วยบริการสาธารณสุข. กลุ่มสื่อสารสาธารณะและพัฒนา พฤติกรรมสุขภาพ สํานักงานโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
ลือชัย บุตคุป. (2555). สารประกอบฟีนอลิกและฤทธิ์ทางชีวภาพ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยมหาสาคาม, 31(4), 443-455.
วสันต์ สุมินทิลี่, ปนิดา บรรจงสินศิริ, จันทนา ไพรบูรณ์ และวรรณวิมล คล้ายประดิษฐ. (2557). กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบจากสาหร่ายพวงองุ่น (Caulerpa lintillifera) สาหร่ายทุ่น (Sargassum oligocystum) และสาหร่ายเขากวาง (Gracilaria changii). วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม, 9(1), 63-75.
อัฐญาพร ชัยชมภูและนฤมล ทองไว. (2555). การยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคบางชนิดโดย ใช้สารสกัดสมุนไพรพื้นฐานบ้าน. 28-30 มกราคม 2558 การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. (หน้า 792-801). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Bagul, U.S. and Sivakumar, S. M. (2016). Antibiotic susceptibility testing: a review on current practices. International Journal of Pharmaceutics, 6(3), 11-17.
Balouiri, M., Sadiki, M. and Ibnsouda, K.S. (2016). Methods for in vitro evaluating antimicrobial activity: a review. Journal of Pharmaceutical Analysis, 6(2), 71-79.
Benzie IFF,& Strain JJ. (1996). The ferric reducing ability of plasma (FRAP) as a measure of antioxidant power the FRAP assay. Analytical biochemistry, 239(1), 70-76.
Boonjira Rutnakornpituk Chatchai Boonthip Waraporn Sanguankul Pimtawan Sawangsup and Metha Rutnakornpituk. (2018). Study in total phenolic contents, antioxidant activity and analysis of Glucosinolate compounds in cruciferous vegetables. Naresuan University Journal: Science and Technology, 26(2), 27-37.
Jorgensen, J.H. and Ferraro, M. J. (2009). Antimicrobial susceptibility testing: a review of general principles and contemporary practices. Clinical Infectious Diseases, 49(11), 1749-1755.
Lalitha, M.K. (2004). Manual on antimicrobial susceptibility testing. Guide lines for antimicrobial susceptibility testing. Pennsylvania: Twelfth Informational Supplement. pp. 6-20.
Loudon, G. Mark. (2002). Organic Chemistry 4th. Oxford University Press.
Mohsen, S. M. and Ammar, A. S. M. (2009). Total phenolic content and antioxidant activity of corn tassel extract. Food chemistry, 112(3), 595-598.
Prommuak, C., D-Eknamkul, W. & Shotipruk, A. (2008). Extraction of flavonoids and carotenoids from thai silk waste and antioxidant activity of extract. Separation and Purification Technology, 62(2), 444-448.
Re, R., Pellegrini, N., Proteggente, A., Pannala, A., Yang, M. & Rice-Evans, C. (1999), Antioxidant activity applying an improved ABTS radical cation decolorization assay. Free Radical Biology and Medicine, 26(9-10), 1231-1237.
Slinkard, K., & Singleton, V.L. (1997). Total phenol analysis: Automation and comparison with manual methods. American Journal of Enology and Viticulture, 28(1), 49-55.
Zhu, K., Zhou, H. & Qian, H. (2006). Antioxidant and free radical-scavenging activities of wheat germ protein hydrolysates (WGPH) prepared with alcalase. Process Biochemistry, 41(6), 1296-1302.