ผลของสารสกัดจากใบแมงลักต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของพืช 4 ชนิด

Main Article Content

ภารดี แซ่อึ้ง
ณัฐวรรณ ปัญญา

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของสารสกัดจากใบแมงลักต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของพืช 4 ชนิด ได้ทำการทดสอบในพืชทดสอบได้แก่ หญ้าข้าวนก ข้าว ต้อยติ่ง และถั่วเขียว วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแบบ Least Significant Difference(LSD) จำนวน 3 สิ่งทดลอง โดยสิ่งทดลองที่เปรียบเทียบ คือ 1) การใช้สารสกัดใบแมงลักความเข้มข้น 0 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร 
2) การใช้สารสกัดใบแมงลักความเข้มข้น 500 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร และ 3) การใช้สารสกัดใบแมงลักความเข้มข้น 1,000 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ผลการทดสอบพบว่า การใช้สารสกัดใบแมงลักความเข้มข้น 500 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร การใช้สารสกัดใบแมงลักความเข้มข้น 1,000 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร แช่เมล็ดพันธุ์ในการเพาะเมล็ด มีผลทำให้พืชมีความงอกและการเจริญของต้นกล้าด้านความยาวลำต้นและความยาวรากลดลง  ตลอดจนการใช้สารสกัดใบแมงลักความเข้มข้น 500 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร และการใช้สารสกัดใบแมงลักความเข้มข้น 1,000 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ฉีดพ่นต้นพืช มีผลทำให้พืชมีการเจริญเติบโตลดลง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรัญญา ปิ่นสุภา, และคมสัน นครศรี. (2553). วิจัยและพัฒนาสารจากแมงลักป่าเพื่อการป้องกันกำจัดวัชพืช. รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 กรมวิชาการเกษตร. 534-548.

จุฑามาศ ศุภพันธ์, และวีระเกียรติ ทรัพย์มี. (2557). ผลของสารสกัดจากวัชพืชบางชนิดต่อการงอกและการแบ่งเซลล์ของข้าววัชพืช. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 45(2)(พิเศษ), 185-188.

ชุติมา แก้วพิบูลย์. (2563). ผลร่วมของสารสกัดใบสาบเสือและกระถินเทพาต่อการงอกและการเจริญของไมยราบ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 28(3), 526-535.

ดวงพร สุวรรณกูล. (2543). ชีววิทยาวัชพืช พื้นฐานการจัดการวัชพืช. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธนัชสัณห์ พูลไพบูลย์พิพัฒน์. (2564). อัลลีโลพาธี: แนวคิดพื้นฐานและการประยุกต์ใช้เพื่อการจัดการวัชพืช. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธมลวรรณ เทพคุณ, มนัชญา พิมศรี, และสุพรรณิกา อินต๊ะนนท์. (2562). สารประกอบฟีนอลิกและผลอัลลีโลพาทีของสาบม่วงคลุกดินต่อการงอกและการเจริญเติบโตของพืช. แก่นเกษตร, 47(ฉบับพิเศษ 1), 73-78.

บุญรอด ชาติยานนท์. (2556). ผลของสารสกัดจากใบแมงลักต่อการงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าผักโขมสวนและหญ้าขจรจบดอกเหลือง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 5(9), 119-130.

บุญรอด ชาติยานนท์, เฉลิมชัย วงศ์วัฒนะ, และสมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ. (2557). ผลของสารสกัดด้วยน้ำจากใบพืชวงศ์กะเพราบางชนิดต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของต้นกล้าหญ้าขจรจบดอกเหลือง (Pennisetum setosum L.). วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 6(3), 121-132.

ศรินทิพ สุกใส, บุญเลิศ สอาดสิทธิศักดิ์, เพชรรัตน์ จันทรทิณ, วีระเดช สุขเอียด, เรืองวิทย์ สว่างแก้ว และศจี น้อยตั้ง. (2559). คู่มือการจัดการคุณภาพแหล่งผลิตเมล็ดแมงลัก ตามมาตรฐาน GAP พืช. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริพรรณ สุขขัง, สมนึก พรมแดง, อตินุช แซ่จิว, และศรีสม สุวรรณวงศ์. (2562). สารสกัดหยาบจากเศษเหลือเปลือกมะขาม(Tamarindus indica L.) ตะไคร้บ้าน (Cymbopogon citratus Stapf.) และตะไคร้หอม (Cymbopogon nardus Rendle.) ยับยั้งการงอกและการเจริญเติบโตของต้อยติ่ง (Ruellia tuberosa Linn.). วิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ, 2(3), 29-36.

สุวรรณี แสนทวีสุข, ดวงใจ จงตามกลาง, ทัศน์วรรณ สมจันทร์, และปิติพงษ์ โตบันลือภพ. (2555). ปริมาณสารฟีนอลิคทั้งหมด ความสามารถในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และความสามารถในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ของสมุนไพรบางชนิด. แก่นเกษตร ฉบับพิเศษ 2, 480-483.

สุขุมาลย์ เลิศมงคล. (2558). ผลทางอัลลิโลพาธิกของผักเสี้ยนดอกม่วงต้นสดและต้นแห้งต่อการงอกและการเจริญเติบโตของหญ้าข้าวนกและผักโขมหนาม. วารสารวิจัย, 8(1), 1-6.

อัณศยา พรมมา, ศิริพร สอนท่าโก, ธัญชนก จงรักไทย, ธนิตา คำอำนวย, พรรณีกา อัตตนนท์, ศิริพร ซึงสนธิพร, คมสัน นครศรี, ภัทร์พิชชา รุจิระพงศ์ชัย, จรัญญา ปิ่นสุภา, และวิไลวรรณ พรหมคำ. (2559). ประสิทธิภาพและสารสำคัญของน้ำมันหอมระเหยจากแมงลักป่าในการควบคุมวัชพืช. รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2559 กรมวิชาการเกษตร. 1-15.

อินทิรา ขูดแก้ว, กนกรัตน์ บุญรักษา, และปรียานุช สมลี. (2559). ผลของสารสกัดหยาบจากไมยราบและหญ้าขนต่อการงอกและการเติบโตของต้อยติ่ง. แก่นเกษตร, 44(ฉบับพิเศษ 1), 777-782.

Abdel-Hady H., M. M. Abdel-Gawad & E. A. El-Wakil. (2017). Characterization and evaluation of antioxidant activity of Ocimum Canum leaves and its effeciency on Schistosoma mansoni larval stage. Indo American Journal of Pharmaceutical Research, 7(11), 978-994.

Egley, G.H. (1974). Dormancy variations in common purslane seeds. Weed Sci., 22, 535-540.

Khare, P., Srivastava, S., Nigam, N., Singh, A. K., & Singh, S. (2019). Impact of essential oils of E. citriodora, O. basilicum and M. arvensis on three different weeds and soil microbial activities. Environmental technology & innovation, 14.

Mustafa, A. A. & H. H. El-kamali. (2019). Chemical Composition of Ocimum americanum In Sudan. Research in Pharmacy and Health Sciences. 2019, 5(3),172-178.

Shobo A.O., Anokwuru C. Jokotagba O.A, Koleoso O.K., & Tijani R.O. (2015). Chemical composition of methanolic extracts of Ocimum canum Sims (Lamiaceae) leaves. International journal of medical and applied sciences, 4(1), 118-123.

Uddin, M. B., R. Ahmed, S. A. Mukul, & M. K. Hossain. (2007). Inhibitory effects of Albizia lebbeck leaf extracts on germination and growth behavoior of some popular agricultural crops. Journal of Forestry Research, 18, 128-132.