ตัวแบบการพยากรณ์ราคายางพารา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

อรวรรณ สืบเสน
ศุภชัย ดำคำ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ 1) เพื่อหาตัวแบบที่เหมาะสมในการพยากรณ์ราคายางพาราจังหวัด    สุราษฎร์ธานี และ 2)เพื่อเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์ราคายางพารา 3 วิธี โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2547 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 จำนวน 188 ค่า สำหรับการสร้างตัวแบบพยากรณ์ด้วยวิธีการสร้างเส้นแนวโน้มด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด วิธีการทำให้เรียบแบบเอ็กซ์โพเนนเชียลซ้ำสามครั้ง และวิธีวิเคราะห์อนุกรมเวลาแบบบอกซ์ เจนกินส์ โดยใช้เกณฑ์เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยที่ต่ำที่สุดเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบความแม่นยำของการพยากรณ์ ผลจากการศึกษาพบว่า วิธีการพยากรณ์ทั้งหมด 3 วิธี ประกอบด้วยวิธีการสร้างเส้นแนวโน้มด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด วิธีการทำให้เรียบแบบเอ็กซ์โพเนนเชียลซ้ำสามครั้ง และวิธีวิเคราะห์อนุกรมเวลาแบบบอกซ์ เจนกินส์ โดยตัวแบบการพยากรณ์ราคายางพารา จังหวัดสุราษฎร์ธานีที่เหมาะสมที่สุดคือ วิธีวิเคราะห์อนุกรมเวลาแบบบอกซ์ เจนกินส์ ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ตัวแบบการพยากรณ์ที่ได้คือ  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารงานและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

การยางแห่งประเทศไทย. (2561). สถานการณ์ยางพารา. สืบค้นจากhttp://www.raot.co.th/ewt_dl_link.php?nid=5659

ชม ปานตา, และยุภาวดี สำราญฤทธิ์. (2560). การพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนรายเดือนในจังหวัดนครสวรรค์โดยใช้เทคนิคการพยากรณ์ทางสถิติ. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 9(10), 127-142.

บุญฤทธิ์ ชูประดิษฐ์ และเสาวภา ชัยพิทักษ์. (2561). ตัวแบบพยากรณ์ปริมาณการส่งออกมะม่วงของประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร, 26(2), 74 – 85.

ยุทธพล สกุลหลง. (2559). การพยากรณ์ราคาส่งออกยางแผ่นรมควันชั้น 3 ของประเทศไทย. สารนิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วรางคณา กีรติวิบูลย์. (2558). ตัวแบบพยากรณ์ปริมาณการจำหน่ายเบียร์ในประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23 (5), 731-742.

ศิริลักษณ์ สุวรรณวงศ์. (2556). เทคนิคการพยากรณ์เชิงปริมาณ: การวิเคราะห์อนุกรมเวลา. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.

สมเกียรติ เกตุเอี่ยม. (2548). เทคนิคการพยากรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร. (2561). พื้นที่ปลูกยางพาราในภาคใต้. สืบค้นจาก https://www.arda.or.th/kasetinfo/south/para/controller/01-09.php

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขตที่ 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2561). ราคายางพาราจังหวัดสุราษฎร์ธานี. สืบค้นจาก https://oaezone.oae.go.th/view/17/index/TH-TH

Hyndman, R. J., & Athanasopoulos, G. (2021). Forecasting: principles and practice (3rd ed.). Australia: Otexts Melbourne.

Makridakis, S., Wheelwright, S.C. & Hyndman, R.J. (1997). Forecasting: Methods and Applications (3rd ed.). New York: Wiley.