ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างการรับรู้เกี่ยววัคซีนป้องกันโรคโควิค-19 ของนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์สุขภาพที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อสถานการณ์การระบาด

Main Article Content

ปัณณทัต ตันธนปัญญากร
ทัศนพรรณ เวชศาสตร์
นลพรรณ ขันติกุลานนท์
ศศิวิมล จันทร์มาลี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างการรับรู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคโควิค-19 ของนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อสถานการณ์การระบาด นักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป และศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยที่อยู่ในพื้นเสี่ยงต่อสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า-2019 ซึ่งแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 55 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างการรับรู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรค      โควิค-19 กลุ่มควบคุมได้รับคู่มือมาตรฐานเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคโควิค-19 วัดผลการทดลองก่อนและหลังโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติการทดสอบไคสแควร์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สถิติการทดสอบ t-test ได้แก่ independent t-test และ paired sample t-test  ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนการรับรู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคโควิค-19 ทัศนคติเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคโควิค-19 และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิค-19 เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (p<0.001) และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสำหรับการเปรียบเทียบภายในกลุ่มทั้งกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม (p<0.001) ผลจากการศึกษาในครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการสร้างแรงจูงใจให้กับนักศึกษาในการเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคโควิค-19 หน่วยงานทางด้านการบริการทางสุขภาพสามารถประยุกต์ในการวางแผนสำหรับการป้องกันโรค และเฝ้าระวังการระบาดร่วมกับมาตรการของภาครัฐได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019), สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). วัคซีนป้องกันโรคโควิค-19 (COVID-19) ของประเทศไทย, สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19.

กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์, และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรสัโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก, วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 14 (2), 138-148.

จงกลณี ตุ้ยเจริญม และคณะ. (2563). การรับมือไวรัสโคโรนา COVID-19 ในงานสาธารณสุขมูลฐาน, วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์, 4(3), 1-20.

ณัฐวรรณ คำแสน. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติด เชื้อไวรัสโควิด-19ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 33-48.

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2564). รายงานการได้รับวัคซีคป้องกันโรคโควิค-19 ของนักศึกษา. ปทุมธานี.

รจนารถ ชูใจ, ชลธิชา บุญศิริ, และกมลพร แพทย์ชีพ. (2564). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด-19ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรม การป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลดอน ตะโก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วารสารเครือข่ายพยาบาลและการสาธารณสุข, 8(1), 250-262.

ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า-2019. (2565). สถานการณ์โควิค-19 ในประเทศไทย, สืบค้นจาก https://www.moicovid.com.

สุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ, และพยงค์ เทพอักษร. (2564). วัคซีน COVID-19 แผนสร้างภูมิคุ้มกันหมู่กับความกังวล. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 4(1), 216-219.

อุดม ลิขิตวรรณวุฒิ. (2563). ความน่าเชื่อถือของชุดตรวจโควิด-19 แบบรวดเร็วในช่วงต้นของการติดเชื้อ,สืบค้นจาก http://www.tncathai.org/index.php/ncab.

Bandura, A. (1997). Self-Efficacy: The Exercise of Control. New York: W.H. Freeman and Company.

Best, J.W. (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice Hall Inc.

Cheng, Z.J. & Shan, J. (2020). 2019 Novel coronavirus: where we are and what we know, Infection, 48(2), 155-163.

Firew, A. & Belachew, U. (2022). COVID-19 vaccines: awareness, attitude and acceptance among undergraduate University students. Journal of Pharmaceutical Policy and Practice, 15(32), 1-7.

Oxford Policy Management. (2020). Social Impact Assessment of COVID-19 in Thailand. Oxford Policy Management Limited; Oxford, UK: 2020.

Rajatanavin, N., et al. (2021). Responding to the COVID-19 second wave in Thailand by diversifying and adapting lessons from the first wave. BMJ Global Health, 6, 1-9.

Schwartz, N.E. (1975). Nutritional knowledge, attitudes, and practices of high school graduates. J Am Diet Assoc, 66(1), 28-31.

Suphanchaimat. R, et al. (2021). Predicted Impact of Vaccination and Active Case Finding Measures to Control Epidemic of Coronavirus Disease 2019 in a Migrant-Populated Area in Thailand. Risk Manag Healthc Policy, 3(14), 3197-3207.

Wang, C., et al. (2021). The impact of COVID-19 pandemic on physical and mental health of Asians: A study of seven middle-income countries in Asia. PLoS ONE, 16(2), 1-20.

World Health Organization. (2022). Coronavirus (COVID-19), Retrieved from https://covid19.who.int?.