การพัฒนาผ้าทอผสมเส้นใยก้านช่อดอกชก

Main Article Content

ธวัชชัย จิตวารินทร์
ลภัสรดา จิตวารินทร์
บุญชัช เมฆแก้ว
เบญจกาญจน์ นิรัติศัย
กัญญาภัค นันทชัย
ภัทรวรรต ศรีบุญจิต
ซุฟเฟียนี สนิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมบัติทางกายภาพของผ้าทอผสมเส้นใยจากก้านช่อดอกชก และ 2) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อผ้าทอผสมเส้นใยก้านช่อดอกชก ผลการวิจัยพบว่า  ผ้าทอผสมเส้นใยก้านช่อดอกชกที่พัฒนาขึ้นใช้เส้นใยก้านช่อดอกชกเป็นเส้นด้ายพุ่งในการทอผสมกับเส้นฝ้ายที่ใช้เป็นเส้นด้ายยืน ผิวสัมผัสมันวาวเล็กน้อย ลักษณะผิวสัมผัสค่อนข้างหยาบ จึงเหมาะที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอสำหรับตกแต่ง หรือใช้เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนมากกว่าที่จะนำไปใช้เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม น้ำหนักผ้าเท่ากับ 190.71+8.10 กรัมต่อตารางเมตร ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มผ้าที่มีน้ำหนัก ปานกลาง มีค่าแรงดึงสูงสุดแนวเส้นด้ายยืนและแนวเส้นด้ายพุ่งเท่ากับ 254.08+8.52 นิวตัน และ 433.12+9.45 นิวตัน ตามลำดับ ผ้าทอผสมเส้นใยก้านช่อดอกมีจำนวนเส้นด้าย 78 เส้นต่อตารางนิ้ว โดยเป็นจำนวนเส้นด้ายยืนและเส้นด้ายพุ่ง เท่ากับ 31 และ 47 เส้นต่อตารางนิ้ว ตามลำดับ ความพึงพอใจที่มีต่อผ้าทอเส้นใยก้านช่อดอกชกในระดับมากที่สุดในทุกด้าน ทั้งนี้ด้านความพึงพอใจภาพรวมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และแตกต่างกับค่าเฉลี่ยความพึงพอใจด้านสี ด้านลักษณะปรากฏ ด้านน้ำหนักผ้า และด้านผิวสัมผัสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนค่าเฉลี่ยความพึงพอใจด้านสี ด้านลักษณะปรากฏ ด้านน้ำหนักผ้า และด้านผิวสัมผัสไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองการศึกษาเทศบาลตำบลบางเตย. (2560). การทำลูกชก. สืบค้นจาก http://www.bangtoeycity.go.th/news/doc_download/a_310517_093413.pdf

กิตติพงศ์ พัฒนไพศาลสิน, กัลทิมา เชาว์ชาญชัยกุล, และแววบุญ แย้มแสงสังข์. (2562). การปรับปรุงเส้นใยจากต้นปุดสำหรับการประยุกต์ใช้งานด้านสิ่งทอ. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับ

บัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20, วันที่ 15 มีนาคม 2562. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จุฑามาศ ขุนไชยการ, สาคร ชลสาคร, และรัตนพล มงคลรัตนาสิทธิ์. (2561). สมบัติทางกายภาพของผ้ายกเดนิมนคร. วารสาร มทร. อีสาน ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(3), 130-143.

เจนณรงค์ แผ่นทอง และอโณทัย สิงห์คำ. (2563). การออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นร่วมสมัยจากเส้นใยต้นสาร. วารสารศิลปกรรมและการออกแบบแห่งเอเชีย, 1(1), 78-94.

เตือนใจ ปิยัง และระริน เครือวรพันธุ์. (2562). การสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือทิ้งในการแปรรูปทางจาก ชุมชนบ้านแหลม จังหวัดตรัง. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 11(6), 503-517.

ธวัชชัย จิตวารินทร์ และคณะ. (2565). การสกัดและศึกษาคุณสมบัติเส้นใยก้านช่อดอกชก. PSRU Journal of Science and Technology, 7(2), 42-56.

นวัทตกร อุมาศิลป์ และพัดชา อุทิศวรรณกุล. (2561). นวัตกรรมสิ่งทอจากเส้นใยดาหลาสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์. Veridian E-Journal Silpakorn University, 11(3), 803-814.

นาวี เปลี่ยวจิตร์. (2562). การวิจัยเส้นใยจากกาบหมากเพื่อพัฒนาเป็นเคหะสิ่งทอ. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 13(3), 90-100.

รุ่งทิพย์ ลุยเลา. (2560). เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเส้นใยธรรมชาติจากพืช เล่มที่ 4 : ผ้าไม่ทอจากใยธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ.

ศรัณย์ จันทร์แก้ว. (2562). การพัฒนาเส้นใยใบอ้อยเพื่องานออกแบบสิ่งทอ. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตคณะศิลปกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมพร วาสะสิริ. (2558). ผืนผ้าจากเส้นใยผักตบชวาผสมด้ายฝ้าย. Journal Art Klong Hok, 2(1), 210-214.

สาวิตรี สุวรรณสถิตย์. (2556). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร.

เสาวณีย์ อารีจงเจริญ, นฤพน ไพศาลตันติวงศ์, รัตนพล มงคลรัตนาสิทธิ์, และสาคร ชลสาคร. (2556). รายงานการวิจัย: การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากเส้นใยตะไคร้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

American Society for Testing and Materials. (2008). Standard Test Methods for Warp (End) and Filling (Pick) Count of Woven Fabrics. West Conshohosken: ASTM international.

American Society for Testing and Materials. (2009a). Standard Test Methods for Mass Per Unit Area (weight) of Woven Fabric. Section 9 option C. Volume 07.02. West Conshohosken: ASTM international.

American Society for Testing and Materials. (2009b). Standard Test Method for Breaking Strength and Elongation of Textile Fabrics (Grab Test). West Conshohosken: ASTM international.

Perreault W. Jr., Cannon, J., & McCarthy, E. J. (2013). Basic Marketing : A Marketing Strategy Planning Approach. 19th ed. Irwin: McGraw-Hill.

Sapuan, S.M., Sahari, J., Ishak, M.R., & Sanyang, M.L. (2019). Sugar Palm Biofibers, Biopolymers, and Biocomposites. Florida: CRC Press.

Subhankar, M. (2014). Characteristics and effects of fiber crimp in nonwoven structure. Journal of the textile association, 3(14), 360-366.

University of Fashion. (2014). Fabric Weight. Retrieved from https://www.universityoffashion.com/wp- content/uploads/2014/12/KnitFabricWeightChart.pdf