การเติบโตของสาหร่ายขนาดเล็ก Chlorella protothecoides BUUC1602 จากหัวเชื้อที่เก็บรักษาด้วยเทคนิคการตรึงเซลล์ในแคลเซียมอัลจิเนต
Main Article Content
บทคัดย่อ
หัวเชื้อสาหร่ายเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญต่อการเติบโตของสาหร่ายในกระบวนการเลี้ยง งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการเติบโตของ Chlorella protothecoides BUUC1602 จากการเลี้ยงด้วยหัวเชื้อที่ได้จากวิธีการตรึงและเก็บรักษาเซลล์ที่แตกต่างกัน ในการทดลองขั้นแรกเลี้ยงสาหร่ายด้วยวิธีแบบเซลล์แขวนลอยและเซลล์ตรึงสาหร่ายด้วยอาหารสูตรกิลลาร์ด F/2 ความเค็ม 30 พีเอสยู วางขวดเลี้ยงสาหร่ายภายใต้อุณหภูมิห้องปฏิบัติการ 26±1 องศาเซลเซียส และให้แสง 4000 ลักซ์ พบว่าอัตราการเติบโตจำเพาะของสาหร่ายที่เลี้ยงแบบเซลล์แขวนลอยและเซลล์ตรึง เท่ากับ 0.34 และ 0.53 ต่อวัน ตามลำดับ ขั้นตอนต่อมา ทดลองเตรียมเม็ดเซลล์ตรึงสาหร่ายบนแคลเซียมอัลจิเนต ทั้งรูปแบบที่ไม่เติมกลีเซอรอล และเติมกลีเซอรอลให้มีความเข้มข้น 5% ปริมาตรต่อปริมาตร แล้วนำเม็ดเซลล์ตรึงสาหร่ายเก็บรักษาด้วยวิธีการแช่เยือกแข็งที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส และทำแห้งด้วยวิธีการระเหิด เก็บรักษาเม็ดเซลล์ตรึงที่ผ่านขั้นตอนเก็บรักษาเซลล์ไว้เป็นเวลา 30 วัน จากนั้นจึงละลายเม็ดเซลล์ตรึง และนำสาหร่ายไปเลี้ยงแบบเซลล์แขวนลอย พบว่า การใช้หัวเชื้อสาหร่ายในรูปของเซลล์ตรึงที่มีการเติมกลีเซอรอล และผ่านขั้นตอนการเก็บรักษาเซลล์ด้วยวิธีการระเหิด ทำให้สาหร่ายมีการเติบโตได้ดีกว่าชุดการทดลองอื่น โดยให้เซลล์สูงสุด 138x104 เซลล์ต่อมิลลิลิตร และอัตราการเติบโตจำเพาะ 0.69 ต่อวัน แสดงให้เห็นว่า หากต้องการเก็บรักษาเซลล์สาหร่าย C. protothecoides BUUC1602 เพื่อใช้งานเป็นหัวเชื้อที่สะดวกในการเก็บรักษาสภาพ สามารถทำโดยวิธีการตรึงเซลล์สาหร่ายบนแคลเซียมอัลจิเนตที่มีกลีเซอรอลเป็นส่วนผสมและผ่านการทำแห้งด้วยวิธีการระเหิดได้
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
จตุพงษ์ พิรุฬห์ภาวดี. (2559). ผลของรูปแบบการเพาะเลี้ยงต่อการเติบโตและผลผลิตมวลชีวภาพของสาหร่ายสีเขียว Chlorella sp. ที่แยกได้จากอ่าวหมู จังหวัดจันทบุรี. ปัญหาพิเศษ วิทยาศาสตรบัณฑิต คณะเทคโนโลยีทางทะเล, มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี.
ชลี ไพบูลย์กิจกุล, มะลิวัลย์ คุตะโค, รชนิมุข หิรัญสัจจาเลิศ, ศศิฬา ฉิมพลี และเบ็ญจมาศ ไพบูลย์กิจกุล. (2560). ผลของความเข้มข้นของกลีเซอรอลและระยะเวลาในการเก็บรักษาต่ออัตราการรอดของสาหร่าย Chlorella sp. แก่นเกษตร, 45(ฉบับพิเศษ 1), 859-864.
บุรินทร์ มนตรีวิสัย, ธีรวัฒน์ สีทองแดง, ทรงกลด ใบยา, บงกช บุญบูรพงศ์, อาภรณ์ บัวหลวง และสุรศักดิ์ ละลอกน้ำ. (2564). การผลิตเซลล์ตรึงไซยาโนแบคทีเรียออสซิลลาทอเรีย ในการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำเสียสังเคราะห์. วารสารเกษตรพระวรุณ, 18(2), 16–23.
ลัดดา วงศ์รัตน์. (2543). คู่มือการเลี้ยงแพลงก์ตอนพืช. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สมเกียรติ แว่นมณี, กานต์ธิดา บุญญาพงศ์, ปวีณา ตปนียวรวงศ์ และมะลิวัลย์ คุตะโค. (2562). การเติบโตและองค์ประกอบกรดไขมันของไซโคพอยด์โคพีพอด Apocyclops royi ที่เลี้ยงด้วยสาหร่ายต่างชนิดกัน. การประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 13, 19 ธันวาคม 2562 ณ แซนด์ดูนส์ เจ้าหลาว บีช รีสอร์ท. จันทบุรี: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สมใจ ศิริโภค. (2547). จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.
Amini Khoeyi, Z., Seyfabadi, J., & Ramezanpour, Z. (2012). Effect of light intensity and photoperiod on biomass and fatty acid composition of the microalgae, Chlorella vulgaris. Aquaculture International, 20(1), 41-49.
Caporgno, M. P., Haberkorn, I., Böcker, L., & Mathys, A. (2019). Cultivation of Chlorella protothecoides under different growth modes and its utilisation in oil/water emulsions. Bioresource Technology, 288, 121476.
Chen, Y. C. (2006). Immobilization of twelve benthic diatom species for long term storage and as feed for post larval abalone Haliotis diversicolor. Aquaculture, 263(1-4), 97-106.
Guillard, R. R., & Sieracki, M. S. (2005). Counting cells in cultures with the light microscope. Algal Culturing Techniques, 239-252.
Ibrahim, I. A., & Elbaily, Z. I. (2020). A review: Importance of Chlorella and different applications. Alexandria Journal of Veterinary Sciences, 65(1), 16-34.
Jimenez-Perez, M. V., Sanchez-Castillo, P., Romera, O., Fernandez-Moreno, D., & Pérez-Martınez, C. (2004). Growth and nutrient removal in free and immobilized planktonic green algae isolated from pig manure. Enzyme and Microbial Technology, 34(5), 392- 398.
Kapoore, R. V., Huete-Ortega, M., Day, J. G., Okurowska, K., Slocombe, S. P., Stanley, M. S., & Vaidyanathan, S. (2019). Effects of cryopreservation on viability and functional stability of an industrially relevant alga. Scientific Reports, 9(1), 1-12.
Kihika, J. K., Wood, S. A., Rhodes, L., Smith, K. F., Thompson, L., Challenger, S., & Ryan, K. G. (2022). Cryoprotectant treatment tests on three morphologically diverse marine dinofagellates and the cryopreservation of Breviolum sp. (Symbiodiniaceae). Scientific Reports, 12(646), 1-12.
Lin-Lan, Z., Jing-Han, W., & Hong-Ying, H. (2018). Differences between attached and suspended microalgal cells in ssPBR from the perspective of physiological properties. Journal of Photochemistry and Photobiology B: Biology, 181, 164-169.
Moreno-Garrido, I. (2008). Microalgae immobilization: current techniques and uses. Bioresource Technology, 99(10), 3949-3964.
Perez-Garcia, O., De-Bashan, L. E., Hernandez, J-P., & Bashan, Y. (2010). Efficiency of growth and nutrient uptake from wastewater by heterotrophic, autotrophic, and mixotrophic cultivation of Chlorella vulgaris immobilized with Azospirillum brasilense. Journal of Phycology, 46(4), 800-812.
Romo, S., & Pérez-Martínez, C. (1997). The use of immobilization in alginate beads for long-term storage of Pseudanabaena galeata (Cyanobacteria) in the laboratory 1. Journal of Phycology, 33(6), 1073-1076.
Senko, O., Stepanov, N., Maslova, O., & Efremenko, E. (2022). “Nature-like” cryoimmobilization of phototrophic microorganisms: new opportunities for their long-term storage and sustainable use. Sustainability, 14(661), 1-16.
Spolaore, P., Joannis-Cassan, C., Duran, E., & Isambert, A. (2006). Commercial applications of microalgae. Journal of Bioscience and Bioengineering, 101(2), 87-96.
Stein, J. R. (Ed.). (1973). Handbook of phycological methods: Culture methods and growth measurements. New York: Cambridge University.
Tanniou, A., Turpin, V., & Lebeau, T. (2012). Comparison of cryopreservation methods for the long term storage of the marine diatom Haslea ostrearia (simonsen). Cryobiology, 65(1), 45-50.
Team, R. C. (2020). R: A language and environment for statistical computing. R Foundation for Statistical Computing, Vienna, Austria. Copenhagen: European Environment Agency.
Vasilieva, S. G., Lobakova, E. S., Lukyanov, A. A., & Solovchenko, A. E. (2016). Immobilized microalgae in biotechnology. Moscow University Biological Sciences Bulletin, 71(3), 170–176.