การศึกษาและพัฒนาระบบควบคุมความชื้นและอุณหภูมิผ่านสมาร์ทโฟนสำหรับโรงเรือนปลูกผักสลัด

Main Article Content

ธีรวัฒน์ ชื่นอัศดงคต
ศรายุทธ์ จิตรพัฒนากุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาและทดสอบสมรรถนะการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นของโรงเรือนระบบพ่นหมอกโดยอาศัยการพ่นหมอกเพื่อทำให้เกิดการระเหยน้ำด้วยความร้อนแฝงและใช้พัดลมช่วยในการระบายความร้อนสะสมออกจากโรงเรือน โดยใช้ตัวอุปกรณ์เปิดและปิดไฟฟ้า SONOFF WiFi เป็นโมดูลสำหรับควบคุมการเปิดและปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในโรงเรือนผ่านทางสมาร์ทโฟน การเปิดและปิดหัวพ่นหมอกเพื่อให้น้ำกับผักสลัดใช้เซนเซอร์ตัววัดอุณหภูมิและความชื้นเพื่อเป็นการตรวจสอบดูผลป้อนกลับที่ได้ เพื่อเป็นการควบคุมสมดุลของอุณหภูมิและความชื้นให้ได้ตามที่ต้องการซึ่งทำการสั่งงานผ่านทางสมาร์ทโฟน การส่งกำลังของน้ำใช้ปั๊มน้ำแรงดันสูงขนาด 24 โวลต์ 6.9 bar ติดตั้งร่วมกับหัวพ่นหมอกขนาด 0.6 มิลลิเมตร จำนวน 4 ตัว และ
พัดลมระบายอากาศแบบขวางขนาด 4 นิ้ว ทำการระบายอากาศออกนอกโรงเรือนจำนวน 2 ตัว การตรวจสอบผลของอุณหภูมิและความชื้นที่ได้สามารถตรวจสอบผ่านทางแอพลิเคชั่น eWeLinK ที่ทำเชื่อมต่อการทำงานผ่าน WiFi กับ SONOFF WiFi ผลการทดสอบพบว่า สามารถควบคุมอุณหภูมิได้อยู่ในช่วง 26 ถึง 31 องศาเซลเซียส การลดอุณหภูมิจากสภาพแวดล้อมภายนอกสามารถลดได้สูงสุด 8 องศาเซลเซียส โรงเรือนสามารถควบคุมความชื้นได้ตั้งแต่ร้อยละ 70 ถึง 87 ดังนั้น การควบคุมสมดุลของอุณหภูมิและความชื้นสามารถทำได้ในขอบเขต
ที่กำหนด แต่ในการสั่งงานจากสมาร์ทโฟนไปสู่ SONOFF WiFi นั้นยังคงพบปัญหาในด้านระยะเวลาการตอบสนองที่มีความช้าในช่วงเวลาที่มีความขัดข้องทางอินเทอร์เน็ต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2558). การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์. เอกสารคำแนะนำกรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 9-20.

เฉลิมชาติ เสาวรัจ, กระวี ตรีอำนรรค, และเทวรัตน์ ตรีอำนรรค. (2561). สมรรถนะการทำงานร่วมของโรงเรือน เพาะปลูกแบบพ่นหมอกกับระบบระบายอากาศที่ควบคุมด้วยสมการสมดุลความชื้นของอากาศ. วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย, 24(2), 63-69.

เทพ เกื้อทวีกุล, อัษฎางค์ บุญศรี, ธนวัฒน์ ปะระปิน, และอัษฎาวุฒิ เกษนาค. (2564). การออกแบบและพัฒนาระบบรดน้ำแบบน้ำ หยดโดยควบคุมการรดน้ำอัตโนมัติและควบคุมการทำงานผ่านสมาร์ทโฟนสำหรับชุมชนหมู่ที่ 7 ต.มหาชัย อ.ไทรงาม จ.กำแพงเพชร. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ สำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 1. 1069-1079.

ธนากร น้ำหอมจันทร์, และอติกร เสรีพัฒนานนท์. (2557). ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ใน โรงเรือนเพาะปลูกพืชไร้ดินแบบทำความเย็นด้วยวิธีการระเหยของน้ำร่วมกับการสเปรย์ละอองน้ำแบบ อัตโนมัติโดยใช้ระบบควบคุมเชิงตรรกะแบบโปรแกรมได้. EAU Heritage Journal Science and Technology, 8(1), 98-111.

นิพนธ์ ไชยมงคล. (2554). สลัด/ผัดกาดหอม เอกสารคำแนะนำการปลูกผักสลัด. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2564, สืบค้นจาก https://www.h2ohydrogarden.com/ความรู้เบื้องต้น/มาทำความรู้จักกับผักสลัดของเรากันดีกว่า.html

ปิตุพร พิมพาเพชร. (2564). ปัจจัยที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช. สืบค้นจาก https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/33764?fbclid=IwAR0SH-IE0S5XMZeEGJr_93H3VBF7inl8n14MAq400WqPvuDdueGygJelKn8

ปิยวัตร มากศรี, วรพงศ์ อินทร์พรหม, ศักดิ์โสภณ บุญเกื้อ, พีรพงศ์ หนูช่วย, นรานันท์ ขามณี, ณัฐปภัสร์ บุญดา, และชิโนรส ละอองวรรณ. (2564). เทคโนโลยีการควบคุมระบบอัตโนมัติสาหรับการปลูกพืช. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทร เกษม ครั้งที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. 175-182.

ศุภฤกษ์ เชาวลิตตระกูล. (2560). ระบบปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์แบบอัตโนมัติ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. 43-50.

อัษฎางค์ บุญศรี, นิวดี คลังสีดา, จารุกิตติ์ พิบูลนฤดม, ธัญญลักษณ์ บุตรศรีเพชร, และเพ็ญนภา ทองแฉล้ม. (2563). การพัฒนาระบบควบคุมความชื้นและอุณหภูมิในโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้าด้วยระบบสมาร์ทโฟน. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 ด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้และสิ่งประดิษฐ์ ประจำปี 2563 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. 224-237.