การศึกษาคุณสมบัติเชิงกลของแผ่นซีเมนต์บอร์ดผสมเส้นใยพืช เพื่อใช้เป็นวัสดุก่อสร้างผนังอาคาร

Main Article Content

สมคเณ เกียรติก้อง
ศุภลักษณ์ ใจเรือง
วิวัฒน์ คลังวิจิตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพด้านต่างๆ ของแผ่นซีเมนต์บอร์ด ได้แก่ 1) ด้านคุณสมบัติเชิงกลของแผ่นซีเมนต์บอร์ด ได้แก่ การทดสอบการรับแรงอัด การทดสอบการรับแรงดัด   
การทดสอบแรงดึงตั้งฉากของผิววัสดุ  การทดสอบมอดูลัสยืดหยุ่น โดยศึกษาในส่วนของสัดส่วนการผสมปูนซีเมนต์มอร์ต้า (ปูนซีเมนต์ : ทรายละเอียด) สูตรทดลองปูนมอร์ต้า มี 4 สูตร ได้แก่ สูตร 1 (60 :  40) / สูตร 2 (65 :  35) / สูตร 3 (55 :  45) / สูตร 4 (40 :  60) นำไปทดสอบกำลังรับแรงอัด  พบว่า ปูนมอร์ต้า อันดับที่ 1 ได้แก่ สูตร 2 มีกำลังอัดที่ 609 ksc. มีระยะก่อตัวที่ 4.35 min  อันดับ 2 ได้แก่ สูตร 1 มีกำลังอัดที่ 564 ksc. มีระยะการก่อตัวที่ 3:51 min, อันดับ 3 ได้แก่ สูตร 4 มีกำลังอัดที่ 507 ksc. มีระยะการก่อตัวที่ 4:04 min 2) ด้านคุณสมบัติของแผ่นซีเมนต์บอร์ดที่ผสมกับเส้นใยพืช โดยการนำเส้นใยพืช 4 ชนิด ได้แก่ กล้วย ธูปฤาษี กก และตันไมยราบยักษ์ มาปั่นให้ละเอียด นำไปตากให้แห้ง แล้วผสมกับปูนมอร์ต้าสูตรที่ 2 นำไปหล่อ เป็นแผ่นซีเมนต์บอร์ด แบบแยกเส้นใยพืช ขนาด 40 x 40 x 2.5 cm. (กxยxน) ตามมาตรฐาน มอก.878-2537 จากการทดสอบคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งาน พบว่า อันดับที่ 1 แผ่นซีเมนต์ผสมเส้นใยกก มีแรงดึงตั้งฉาก 0.19 MPa การรับแรงกดที่ 40.78 kg : cm2 มอดูลัสยืดหยุ่นที่ 9209 MPa  การดูดความชื้นร้อยละ 3.9 การซับเสียงลดลงที่ 14.33 db. และผ่านมาตรฐานการทนไฟ อันดับ 2 แผ่นซีเมนต์ผสมเส้นใยไมยราบยักษ์ มีแรงดึงตั้งฉาก 0.19 MPa, การรับแรงกดที่ 42.52 kg : cm2 มอดูลัสยืดหยุ่นที่ 7312 MPa. การดูดความชื้นร้อยละ 4.0 การซับเสียงลดลงที่ 14.87 db. และผ่านมาตรฐานการทนไฟ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมชลประทาน. (2563). ฝ่ายทดสอบและวิเคราะห์วัสดุ. สำนักงานวิจัยและพัฒนา. กรมชลประทานที่ 11 อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี.

ตฤณ ดิษฐลำภู, และกิตติพงษ์ สุวีโร. (2560). การใช้ประโยชน์จากเส้นใยผักตบชวาในผลิตภัณฑ์แผ่นใยอัดซีเมนต์ภายนอกอาคารสำหรับวิสาหกิจชุมชน. ทุนวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

นิรมล ปั้นลาย, ประชุม คำพุฒ, และกิตติพงษ์ สุวีโร. (2563). แผ่นใยซีเมนต์อัดผสมชานอ้อย. วารสารเทคโนโลยีนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 3(2), 59-67.

ปราโมทย์ วีรานุกูล, และกิตติพงษ์ สุวีโร. (2558). การพัฒนาแผ่นซีเมนต์บอร์ดด้วยกากกาแฟเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. ทุนวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ภูษิต เลิศวัฒนารักษ์, และกนกวรรณ มะสุวรรณ. (2558). การศึกษาคุณสมบัติในการกันเสียงของแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ผสมเส้นใยธรรมชาติ. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 38(1), 71-86.

มาตรฐาน : BS 476 Part 7. (1997). การทดสอบการทนไฟบนวัสดุก่อสร้างและโครงสร้างส่วนที่ 7 วิธีการทดสอบเพื่อระบุประเภทของการแพร่กระจายของพื้นผิวของเปลวไฟของผลิตภัณฑ์.

วิวัฒน์ คลังวิจิตร, และสมคเณ เกียรติก้อง. (2561). การพัฒนาแผ่นไม้อัดสำเร็จรูปจากเส้นใยพืชทางการเกษตรเพื่อสร้างอาคารอนุรักษ์พลังงาน. งานวิจัย วช., การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 17, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.). (2537). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เรื่องแผ่นชิ้นไม้อัดซีเมนต์ความหนาแน่นสูง มอก.878-2537, สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.

เอกสิทธิ เทียนมาศ และสุรเชษฐ์ ตุ้มมี. (2563). คุณสมบัติของแผ่นไม้อัดสำเร็จรูปจากเส้นใยธรรมชาติ. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่4, ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

American Society for Testing and Materials. (2006). ASTM D 1037-99 Standard Test Methods for Evaluating Properties of Wood-Base Fiber and Particle Panel Materials, In Annual Book of ASTM Standards, Phiadephia: ASTM.