การศึกษาการย้อมสีใบตะขบด้วยฝางเพื่องานพิมพ์สีธรรมชาติด้วยเทคนิคการถ่ายโอนสีสู่ผ้าฝ้าย

Main Article Content

เกชา ลาวงษา
สุจาริณี สังข์วรรณะ
วีระศักดิ์ ศรีลารัตน์

บทคัดย่อ

การพิมพ์ผ้าด้วยสีธรรมชาติเป็นการต่อยอดภูมิปัญญาดังเดิมของท้องถิ่นไทย ช่วยส่งเสริมอาชีพและลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามความหลากหลายของสียังไม่มีความหลากหลายมากนัก การศึกษานี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการย้อมสีใบตะขบด้วยฝางในอัตราส่วนต่างกันจากสีธรรมชาติที่ดีที่สุด โดยเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ปริมาณผงฝางต่อน้ำในอัตราส่วน (10 20 30 40 50 ) และระยะเวลา(10 20 30 นาที) ผลการศึกษาพบว่า ใบตะขบย้อมสีจากผงฝาง น้ำผสมผงฝางในอัตราส่วนน้ำ 1 ลิตรต่อผงฝาง 50 กรัม ระยะเวลาในการย้อมใบตะขบกับผงฝางเป็นเวลา 30 นาที อุณภูมิในการต้ม 50 องศาเซลเชียสให้ผลที่ดีที่สุดสีเข้มที่สุดและวัดค่าสีของผ้าฝ้ายที่พิมพ์สีจากใบตะขบย้อมสีจากฝางพบว่า ส่วนใหญ่มีความสว่าง ไปทางสว่าง (ค่า L* เฉลี่ยรวม 57.32) ค่า a* เฉลี่ยรวม 16.42 เป็นค่าบวก (สีแดง) โดยมีค่า a* เฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 23.68 การย้อมใบไม้สำหรับงานพิมพ์ผ้าด้วยเทคนิคที่เป็นธรรมชาติสามารถทำให้สีใบตะขบ มีความหลากหลายและมีความชัดเจน ลวดลายทันสมัย โดยสามารถดึงสีสันจากใบตะขบให้มีสีชมพูเข้ม ลวดลายมีความประณีตของเส้นใบ อีกทั้งยังสามารถนำไปต่อยอดโดยการตัดเย็บเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และของตกแต่งบ้านจากผ้า ตลอดจนเป็นการส่งเสริมธุรกิจครัวเรือนและชุมชนได้อีกทางหนึ่ง 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุยา ขอพลอยกลาง, คณิต ขอพลอยกลาง, วรรษกร ขอพลอยกลาง, เปรมจิต รองสวัสดิ์, และฐิติกร พรหมบรรจง. (2561). ความหลากหลายทางชีวภาพ ลักษณะทางพฤกษศาสตรและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของพรรณไม้ในพื้นที่ป่าพรุควนเครง (รายงานผลการวิจัย). คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

ธัญลักษณ์ ธนิกกุล, สุเชษฐ์ สมุหเสนีโต, และปริญดา เพ็ญโรจ. (2558). สภาวะการสกัดต่อสมบัติสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดใบบัวหลวง. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 23(2), 34–42.

พิณทิพย์ การะเกษ. (2556). การศึกษาสมบัติการเป็นสีย้อมของแก่นไม้ฝาง. [การศึกษาอิสระ]. มหาวิทยาลัยพะเยา.

พันธ์ศิริ มูลศรี. (2547). ผลของเกลือและสารช่วยย้อมบางชนิดต่อการดูดซับสีสกัดจากแก่นไม้ ขนุนโดย เส้นด้ายฝ้าย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พรพิมล ม่วงไทย และคณะ. (2553). การเตรียมผงสียอมจากเปลือกผลมังคุดบนสารดูดซับ. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 7 (1975-1984), จังหวัดนครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

วรางคณา ศรีผุย, วัชรี ฝั้นเฟือนหา, และณัฐพร พุทธวงศ์. (2562). การพัฒนาการย้อมสีจากไม้ฝางด้วยกระบวนการย้อมแบบพหุโดยใช้ดอกดาวเรืองเป็นสีหลัก. วารสารวิจัยคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 4(1), 27-35.

วีระศักดิ์ ศรีลารัตน์, สุจาริณี สังข์วรรณะ, ภัทรภร พุฒพันธ์, ธิติรัตน์ วงษ์กาฬสินธุ์, ณรัช พรนิธิบุญ, และธนัง ชาญกิจชัญโญ. (2565). การพิมพ์สีธรรมชาติจากใบเพกาด้วยเทคนิคการถ่ายโอนสีสู่ผ้าฝ้าย. วารสาร วิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 17(1), 45-55.

Ananth, S., Vivek, P., Arumanayagam, T., & Murugakoothakoothan, P. (2014). Natural dye extract of lawsonia inermis seed as photo sensitizer for titanium dioxide based dye sensitized solar cells. Spectrochimica Acta Part A: Molecular and Biomolecular Spectroscopy, 128, 420–426.

Anliker, R., Duerig, G., Steinle, D., & Moriconi, E. J. (1988). List of colorants to be classified as toxic. Journal of the Society of Dyers and Colourists, 104, 223–225.

Baig, U., Khatri, A., Ali, S., Sanbhal, N., Ishaque, F., & Junejo, N. (2020). Ultrasound-assisted dyeing of cotton fabric with natural dye extracted from Marigold flower. Journal of The Textile Institute, 112(5), 801–808.

Baaka, N., Haddar, W., Ben Ticha, M., & Mhenni, M. F. (2019). Eco-friendly dyeing of modified

cotton fabrics with grape pomace colorant: Optimization using full factorial design approach. J ournal of Natural Fibers, 16(5), 652–661.

Frischer, K., & Garcia, M. (2005). Résultats et mesures environnementalessur des essais de teinture de la laine (Oral presentation), 7–9 October. 3rdForum Les Rencontres de la Couleur Végétale. Lauris: France.

Watters, C. & Cantero, A. (1964). Rat Liver Parenchymal Cell Function during Azo Dye Carcinogenesis. Cancer Research, 25, 67-71.

Puntener, A. & Cambell, P. (2003). European Ban on Certain Azo Dyes. Leather International, 50-51.

Johnson, E.J., Hammond, B.R., Yeum, K.J., Qin, J., Dong Wang, X., Castaneda, C., Snodderly, D.M., & Russell, R.M. (2000). Relation among serum and tissue concentrations of lutein and zeaxanthin and macular pigment density. The American Journal of Clinical Nutrition, 71, 1555–1562.

Shahid Ul, I., & Butola, B. S. 2020. A synergistic combination of shrimp shell derived chitosan Polysaccharide with Citrus sinensis peel extract for the development of colourful and bioactive cellulosic textile. International Journal of Biological Macromolecules, 158, 94–103.

Haji, A. (2020). Application of D-optimal design in the analysis and modelling of dyeing of plasma-treated wool with three natural dyes. Coloration Technology, 136(2), 137–146.