ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ของประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

ปวีณา รัตนเสนา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยการใช้แบบสอบถามมาตรฐานเกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. (อ.อาหาร อ.ออกกำลังกาย อ.อารมณ์ ส.สูบบุหรี่ และ ส.สุรา) ของประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ฉบับปรับปรุงปี 2561 จากกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข โดยสำรวจผ่านระบบออนไลน์กูเกิลฟอร์มด้วยการสุ่มแบบบังเอิญ ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน ถึง 20 สิงหาคม พ.ศ. 2565 พบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวน 121 คน ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมสุขภาพและความรอบรู้ทางสุขภาพในระดับปานกลาง ทื่ร้อยละ 64.5 และ 58.1 ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่าส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ (ร้อยละ 62.0) การสื่อสารสุขภาพ (ร้อยละ 84.3) การจัดการตนเอง (ร้อยละ 67.8) และการรู้เท่าทันสื่อตามหลัก 3อ.2ส. (ร้อยละ 47.9) ในระดับปานกลาง แต่มีการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ (ร้อยละ 48.8)  และการตัดสินใจและเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลัก 3อ.2ส. (ร้อยละ 55.4) ในระดับสูง เมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติไคสแควร์ พบว่าการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพและการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.001 และสถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อันดับของสเปียร์แมนก็แสดงให้เห็นว่าการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพและการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.01 (rs = .339 และ .351 ตามลำดับ) ผลงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพและด้านการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ จะสามารถส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). 3อ.2ส. รหัสป้องกันโรค. สืบค้นจาก https://multimedia. anamai.moph.go.th/infographics/info_190-protect/

กองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. (2565). จำนวนและอัตราตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ (NCD) ปี 2559 - 2563. สืบค้นจาก http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=14220&tid=32&gid=1-020

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ตาม 3อ.2ส. ของประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ฉบับปรับปรุงปี 2561. สืบค้นจาก http://www.hed.go.th/linkHed/333

เกษดาพร ศรีสุวอ. (2564). การศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส ของผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านแม่นนท์ ตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา, 4(2), 35-44.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ เข้าถึง เข้าใจ และการนำไปใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อัมรินทร์.

ทรงทรรศน์ จินาพงศ์, ภัทริศวร์ ดำเสน, นันทรัตน์ ศรีสวัสดิ์, และไพฑูรย์ โพธิสาร. (2561). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ 3อ.2ส. ของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ (NGRC) ครั้งที่ 47, วันที่ 6-7 ธันวาคม 2561. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 1-8.

นพมาศ โกศล, ประนอม อุบลกาญจน์, เชาวลิต ลิ่มวิจิตรวงศ์, และนิติยา ศิริแก้ว. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ของกลุ่มวัยทำงาน สำหรับหมู่บ้านจัดการสุขภาพ: กรณีศึกษาชุมชนบ้านวังหิน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10, วันที่ 12 – 13 กรกฎาคม 2562. สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. 1600-1611.

พิทยา ไพบูลย์ศิริ. (2561). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส ของผู้บริหารภาครัฐ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 8(1), 97-107.

วัชราพร เชยสุวรรณ. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ : แนวคิดและการประยุกต์สู่การปฏิบัติการพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี, 44(3), 183-197.

สกาวเนตร ไทรแจ่มจันทร์, วัลลภา อันดารา, อุษณีย์ บุญบรรจบ, และรฐานุช ถิ่นสอน. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ของประชาชนในชุมชนบ้านเอื้ออาทรบางเขน (คลองถนน). วารสารพยาบาลทหารบก, 22(3), 376-386.

อารีย์ แร่ทอง. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กรณีศึกษาตำบลหินตกอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 15(3), 62-70.