การพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองเกี่ยวกับการป้องกันมะเร็งปากมดลูกด้วย นวัตกรรมสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

พลอยฌญารินทร์ ราวินิจ
พรสุข หุ่นนิรันดร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองเกี่ยวกับการป้องกันมะเร็งปากมดลูกด้วยนวัตกรรมสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ในจังหวัดปทุมธานี โดยมีรูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานการจัดการตนเองด้วยนวัตกรรมสุขภาพ สภาพปัญหาและความต้องการในการป้องกันมะเร็งปากมดลูก กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ในจังหวัดปทุมธานีโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 6 คน และใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สตรีอายุ 30-60 ปี จำนวน 400 คน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบและทดลองใช้รูปแบบกับกลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 30 คน และสตรีอายุ 30-60 ปี จำนวน 300 คน ในจังหวัดปทุมธานี ระยะที่ 3 ประเมินรูปแบบโดยกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเดียวกันกับระยะที่ 2 สถิติที่ใช้ ได้แก่ จำนวน, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Paired-t tests, One Way Repeated Measures ANOVA และ One-way MANOVA 


ผลการศึกษา พบว่า ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงมีอายุเฉลี่ย 40 ปี มีความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกอยู่ในระดับสูง และแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพอยู่ในระดับมาก ระยะที่ 2 นำข้อมูลจากระยะที่ 1 มาพัฒนารูปแบบ และแอพพลิเคชั่น โดยประยุกต์ร่วมกับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการสร้างแอพพลิเคชั่น Cervical cancer guidebookสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการป้องกันมะเร็งปากมดลูก และพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองเกี่ยวกับการป้องกันมะเร็งปากมดลูกด้วยนวัตกรรมสุขภาพ โดยประกอบด้วย 5 กิจกรรม ระยะเวลา 5 สัปดาห์ ได้แก่ กิจกรรมที่ 1) ความรู้ 2) การโน้มน้าวใจ 3) ตัดสินใจ 4) การสื่อสารทางสุขภาพ และการใช้นวัตกรรมสุขภาพด้วยแอพพลิเคชั่น และ 5) การยืนยัน ระยะที่ 3 หลังทดลองใช้รูปแบบ 5 สัปดาห์ พบว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีทักษะการใช้นวัตกรรมสุขภาพสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีทักษะการสื่อสารทางสุขภาพไม่แตกต่างกับก่อนการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างสตรี พบว่า หลังทดลองใช้รูปแบบ 5 สัปดาห์ สตรีมีความรู้เรื่องการป้องกันมะเร็งปากมดลูก การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก การรับรู้ความรุนแรงของมะเร็งปากมดลูก และการรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนการรับรู้อุปสรรคในการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกลดลงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05     

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นันทิดา จันต๊ะวงค์, ปิยธิดา ตรีเดช, สุคนธา ศิริ, และชาญวิทย์ ตรีเดช. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(1), 63-79.

บุญยัง อาจศึก, และน้ำอ้อย หล้าบาง. (2557). จาก Home visit สู่ Home ward ถึง Home OPD. สืบค้นจาก http://cpho.moph.go.th/wp/wp-content/uploads/2014/04/13 -มะเร็ง-รพ.สต.นางแดด.pdf

พรพิมล โสฬสกุลางกรู, และรัตน์ศิริ ทาโต. (2562). ปัจจัยทำนายการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของแม่บ้านตำรวจ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลตำรวจ, 11(2), 407-420.

พรสุข หุ่นนิรันดร์. (2564). ทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรม : แนวคิดและการประยุกต์ใช้ในงานวิจัย. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 19 เรื่อง การบูรณาการงานวิจัยภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลกเพื่อสังคมที่ยั่งยืน, 28 พฤศจิกายน 2564 ณ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น จังหวัดปทุมธานี. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

มงคล เบญจาภิบาล. (2564). มะเร็งปากมดลูก.....สามารถป้องกันได้. สืบค้นจาก https://mgronline.com/qol/detail/9640000120123

สุวิมล สอนศรี, วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล, และชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข. (2564). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสตรีกลุ่มเสี่ยง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพยาบาล, 70(3), 11-19.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2562). มะเร็งปากมดลูก. สืบค้นจาก http://www.nci.go.th/th/Knowledge/downloads/%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%812.pdf

สถาบันบริหารสารสนเทศและการจัดการความรู้. (2563). การถอดรหัสวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ DECODING BEST PRACTICES. สืบค้นจากhttp://www.km.moc.go.th/download/doc/KM2558/BesPracticeRevise.pdf

อุไรวรรณ สัมมุตถี, และสมเดช พินิจสุนทร. (2558). ความตั้งใจไปรับบริการตรวจตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี อายุ 30-60 ปี โรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลบ้านพร้าว อำเภอเมือง จังหวัด หนองบัวลำภู. วารสารสุขภาพชุมชน, 3(4), 529-546.

ไอรีน เรืองขจร. (2561). มะเร็งปากมดลูก. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ. ลิฟวิ่งจำกัด.

Daniel, W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences (9th ed.). New York: John Wiley & Sons.

World Health Organization. (2020). WHO Health Innovation Group. Retrieved from https://www.who.int/life-course/about/who-health-innovation-group/en/