สถานการณ์ระบบเฝ้าระวังและกลไกการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในชุมชนพื้นที่จุดผ่อนปรนเพื่อการค้าชายแดนไทย-เมียนมา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed-methods research) ประเภทงานวิจัยเชิงปริมาณนำงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ระบบเฝ้าระวังและกลไกการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในชุมชนพื้นที่จุดผ่อนปรนเพื่อการค้าชายแดนไทย-เมียนมา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย สำหรับการศึกษาเชิงปริมาณมีจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 1,127 คน โดยใช้สูตรคำนวณขนาดตัวอย่างที่ทราบประชากรและสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบและการศึกษาเชิงคุณภาพเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้นผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากการสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม ใช้การวิเคราะห์รูปแบบเนื้อหาข้อความและเทคนิคการทวนสอบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 44.6 และเพศหญิง ร้อยละ 55.4 มีอายุเฉลี่ย 49.6 ปี ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 97.4 การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 50.8 อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 47.5 สถานภาพสมรส ร้อยละ 62.8 สำหรับการเจ็บป่วยและทางเลือกในการดูแลสุขภาพตนเอง ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาพบว่า มีการเจ็บป่วย ร้อยละ 9.1 ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ร้อยละ 2.3 รับการบริการโรงพยาบาลของรัฐอันดับแรก ร้อยละ 46.9 ให้เหตุผลเดินทางสะดวก ร้อยละ 67.5 และค่ารักษาพยาบาลถูก ร้อยละ 11.0 การเดินทางใช้รถจักรยานยนต์เป็นหลัก ร้อยละ 63.1 นอกจากนี้ส่วนใหญ่รู้จักโรคติดต่อสำคัญในพื้นที่แต่ยังพบว่าไม่รู้จักโรคหัดและโรคมือ เท้า ปาก ร้อยละ 16.3 ร้อยละ 14.5 มีการแจ้งข่าวกรณีเกิดโรคติดต่อสำคัญระบาดในชุมชน โดยโรคโควิด-19 มีการแจ้งข่าวสูงที่สุด ร้อยละ 87.8 โรคอุจจาระร่วงเป็นโรคติดต่อที่ไม่แจ้งข่าวสูงที่สุด ร้อยละ 73.6 ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ามีระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อและการป้องกันควบคุมโรคติดต่อข้ามแดนในพื้นที่จุดผ่อนปรนเพื่อการค้าประกอบไปด้วย ระบบการคัดกรองผู้ป่วยข้ามแดนพบปัญหาผู้ป่วยข้ามแดนไม่ผ่านการคัดกรอง มีข้อเสนอแนะให้ผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างระบบคัดกรอง การคืนข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเป็นการตั้งรับ ไม่พบว่ามีระบบคืนข้อมูลตามมาตรฐานสากล ระบบส่งต่อผู้ป่วยข้ามแดนผ่านด่านควบคุมป้องกันโรคระหว่างประเทศโดยผ่านทางรถอาสาสมัครกู้ชีพกู้ภัย พบปัญหาอุปสรรคในภาษาและการสื่อสารจากความหลากหลายทางเชื้อชาติ
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กระทรวงมหาดไทย. (2553). คู่มือการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน. สำนักงานปลัดกระทรวง มหาดไทย กระทรวงมหาดไทย.
กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. (2560). วิเคราะห์ภาพรวมการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมาเลเซีย-เมียนมา-สปป.ลาว-กัมพูชา ปี 2560. สืบค้นจาก http://www.dft.go.th/bts/trade-statistics/cid/153/-4
เฉิด สารเรือน, และนิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. (2558). การเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวก่อนก้าวสู่เขต พัฒนาเศรษฐกิจและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนชายแดนไทย-เมียนมาร์ จังหวัดตาก. วารสาร พยาบาลสาธารณสุข, 29(3), 123-136.
ณิภัทรา หริตวร, และชนินตร์นันทร์ สุขเกษม. (2561). สุขภาพชายแดน: การข้ามพรมแดนเพื่อมารับบริการ สุขภาพในประเทศไทยของผู้ป่วยจากประเทศเมียนมาร์ ลาวและกัมพูชา. รายงานวิจัยสถาบันวิจัย ระบบสาธารณสุข.
พิมลพรรณ ไชยนันท์, และจักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง. (2560). โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษกับการเปลี่ยนแปลง ในพื้นที่ชายแดน: บทสำรวจเบื้องต้นในบริบทพื้นที่ตากและเชียงราย. วารสารสังคมวิทยา มานุษยวิทยา, 36(1), 104-127.
ศุภกิจ ศิริลักษณ์. (2557). ยุทธศาสตร์สุขภาพชายแดนของประเทศไทย. สำนักนโยบายและแผน. กระทรวง สาธารณสุข.
สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ. (2555). หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อคนชายขอบผู้ไม่มีสัญชาติไทย. วารสารวิจัย ระบบสาธารณสุข, 6(3), 403-415.
เสาวนีย์ เปลี่ยนพานิช, นรินทร์ สุริยนต์, และพิษณุรักษ์ กันทวี. (2562). ผลของการพัฒนาระบบเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกันโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ตามแนวชายแดนประเทศไทย-เมียนมา-สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว จังหวัดเชียงราย ปี 2560-2561. วารสารควบคุมโรค, 45(1), 85-96.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย. (2562). รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2561. เอกสารอัดสำเนา
อัชวัฒน์ คำหวาน, และปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. (2559). การเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ กรณีศึกษา อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(3), 359- 374.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.