การพัฒนาแผ่นชิ้นไม้อัดจากเศษกิ่งไม้ต้นมะยงชิดเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนท้องถิ่น และส่งเสริมแนวคิดขยะเหลือศูนย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผ่นชิ้นไม้อัดจากเศษกิ่งไม้ต้นมะยงชิดสำหรับใช้ในงานวัสดุตกแต่ง โดยทำการออกแบบส่วนผสมของเศษกิ่งไม้ต้นมะยงชิดและกาวชนิดไอโซไซยาเนต (pMDI) ที่แตกต่างกัน
จำนวน 6 อัตราส่วน อัดขึ้นรูปเป็นแผ่นชิ้นไม้อัด ขนาด 20 x 20 ตารางเซนติเมตร หนา 6 มิลลิเมตร ใช้ความร้อน 150 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 นาที ทดสอบคุณสมบัติตามมาตรฐาน มอก.876-2547 เรื่องแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดราบ จากผลการทดสอบพบว่า แผ่นชิ้นไม้อัดจากเศษกิ่งไม้ต้นมะยงชิดที่เหมาะสำหรับนำไปใช้เป็นวัสดุตกแต่ง คือ แผ่นชิ้นไม้อัดที่ควบคุมความหนาแน่นประมาณ 600 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ผสมกาวชนิดไอโซไซยาเนต ร้อยละ 10 ใช้ขนาดเศษกิ่งไม้ต้นมะยงชิดไสหนา 0.6 – 0.8 มิลลิเมตร แผ่นชิ้นไม้อัดเทียมดังกล่าวจะมีค่าความหนาแน่นประมาณ 598.65 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ความชื้นร้อยละ 4.35 การพองตัวตามความหนา ร้อยละ 5.85 ความต้านทานแรงดัด 6.55 เมกะพาสคัล มอดุลัสยืดหยุ่น 425.65 เมกะพาสคัล และความต้านทานแรงดึงตั้งฉากกับผิวหน้า 0.36 เมกะพาสคัล
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ปราโมทย์ วีรานุกูล, กิตติพงษ์ สุวีโร, และอิทธิ วีรานุกูล. (2561). ผลิตภัณฑ์แผ่นฝ้าเพดานผสมขุยมะพร้าวที่มีสมบัติความเป็นฉนวนป้องกันความร้อน. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี, 16(2), 129-138.
พนุชศดี เย็นใจ, ทรงกลด จารุสมบัติ, และธีระ วีณิน. (2559). การผลิตแผ่นชิ้นไม้อัดจากเศษเหลือทิ้งของไม้เสม็ดขาว. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(2), 131-140.
สมคเณ เกียรติก้อง, ศุภลักษณ์ ใจเรือง, และวิวัฒน์ คลังวิจิตร. (2565). การศึกษาคุณสมบัติเชิงกลของแผ่นซีเมนต์บอร์ดผสมเส้นใยพืช เพื่อใช้เป็นวัสดุก่อสร้างผนังอาคาร. วารสารวิจัยและพัฒนา
วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 17(3), 113-125.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.). (2547) . มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เรื่องแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดราบ (มอก.876-2547), กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.
Bledzki, A.K., & Gassan, J. (1999). Composites Reinforced with Cellulose based Fibers. Progress in Polymer Science, 24, 221-274.
Clad, W. (1983). Developments and problems in adhesives used for particle board manufacture. International Journal Adhesion Adhesives, 3(3), 127–131.
Rosenfeld, C., Sailer-Kronlachner, W., Konnerth, J., Sol-Rindler, P., Pellis, A., Rosenau, T., Potthast, A., & HerwijnenMays, H.W.G. (2022). Hydroxymethylfurfural: A key to increased reactivity and performance of fructose-based adhesives for particle boards Hydroxymethylfurfural: A key to increased reactivity and performance of fructose-based adhesives for particle boards. Industrial Crops & Products, 187(115536), 1-12.
Warmbier, K., Wilczynski, A., & Danecki, L. (2013). Effects of density and resin content on mechanical properties of particleboards with the core layer made from willow Salix viminalis. Forestry and Wood Technology, 84, 284-287.