ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากสถานการณ์ระบาด ของโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

อัษฎาวุฒิ โยธาสุภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาพตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากสถานการณ์ระบาดโรคโควิด-19 และ 2) วิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากสถานการณ์ระบาดโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 270 คน โดยคัดเลือกตัวอย่างโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในช่วงเดือน สิงหาคม ถึง ตุลาคม 2565 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด -19 อยู่ในระดับดี ( = 2.86, S.D = 0.22) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากสถานการณ์ระบาดโรคโควิด -19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ (p= 0.001) อายุ (r= -0.130, p=0.033) รายได้ (r= 0.171, p=0.005) โรคเบาหวาน (p= 0.001) ความรู้เกี่ยวกับโรค    โควิด -19 (r= 0.810, p= 0.0019) ทัศนคติต่อการป้องกันโรคโควิด -19 (r= 0.215, p= 0.001) การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคโควิด -19 (r= 0.434, p= 0.001) การรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันโรคโควิด -19 (r= 0.214, p=0.001) การเข้าถึงแหล่งทรัพยากรด้านสุขภาพ (r= 0.214, p=0.001) การได้รับคำแนะนำจากบุคลากรสาธารณสุข (r= 0.310, p=0.001) การได้รับการกระตุ้นเตือนจากสมาชิกในครอบครัว (r= 0.411, p=0.001) ผลการศึกษานี้สามารถประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโควิด -19 และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ดีภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิค -19

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด-19 สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 ภายในประเทศ รายสัปดาห์. สืบค้นจาก http://ddc.moph.go.th/covid19- dashboard/?dashboard=main.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม, และพยงค์ เทพอักษร. (2564). ความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 12(3), 195-212.

คำนวณ อึ้งชูศักดิ และสมศักดิ อรรฆศิลป์. (2563). แนวโน้ม ผลกระทบ และการเตรียมรับมือการระบาดรอบที่สองของ COVID-19. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(4), 765-8.

จันทนี เจริญศรี. (2563). บทวิเคราะห์ 7 New Normal ที่อาจได้เห็นในสังคมไทยในวันที่โควิด-19 หายไป. สืบค้นจาก https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/124543.

จุฑาวรรณ ใจแสน. (2564). พฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ของพนักงานสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. สืบค้นจาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/ IS/sat16/6114060102.pdf.

ณัฎฐวรรณ คำแสน. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 33-48.

ดรัญชนก พันธ์สุมา, และพงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของประชาชนในตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร, 36(5), 597-604 .

ธานี กล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ, และทักษิกา ชัชวรัตน์. (2563). ความรู้ และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเองจากการ ติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา, 21(2), 29-39.

ธานี ชัยวัฒน์ และคณะ. (2563). พฤติกรรมการใช้ชีวิตในครัวเรือนไทยมีผลต่อการแพร่ระบาดโควิด-19. สืบค้นจาก https://businessto-day.co/covid-19/18/04/2020.

นงลักษณ์ โตบันลือภพ, ธีรารัตน์ บุญกุณะ, บุศรินทร์ ผัดวัง, และจิตตวีร์ เกียรติสุวรรณ. (2563). การรับรู้ ทัศนคติ และความรู้ต่อมาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคมและผลต่อการปฏิบัติตัวตามมาตรการ สุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตของประชาชน ในจังหวัดลำปางในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ, 8(1), 168-186.

นารีมะห์ แวปูเตะ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, และกัลยา ตันสกุล. (2564). พฤติกรรมการป้องกันโรคจากไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 3(2), 31-39.

ปิยะนันท์ เรือนคำ, สุคนธา คงศีล, สุขุม เจียมตน, และยุวนุช สัตยสมบูรณ์. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชากรผู้ใหญ่: กรณีศึกษาเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(2), S247-S259.

พรทิวา คงคุณ, ระวิ แก้วสุกใส, รังสฤษฎ์ แวดือราแม, บุญยิ่ง ทองคุปต์, และมูฮัมหมัดไซด์ ซาและ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่เพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้จำหน่ายอาหาร จังหวัดนราธิวาส. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการศาธารณสุขภาคใต้, 8(3), 133-146.

ศรุตานนท์ ชอบประดิษฐ์. (2563). วิกฤตโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม อย่างไร Covid 19 Crisis Affect Social Change. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์, 3(2), 1-14.

สานิตย์ หนูนิล. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: กรณี ศึกษาองค์กรภาคอุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิทยาการจัดการ, 8(1), 17-37.

สุขประเสริฐ ทับสี. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ในอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 3(1), 14-30.

Best, John, W. (1970). Research in Education. New Jersey: Prentice-Hill.

Bloom, Benjamin, S.J. (ed). (1975). Taxonomy of Education Objective, Hand Book 1: Cognitive Domain. New York: David Mckay.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.

Chen X., Chen H. (2020). Differences in preventive behaviors of COVID-19 between urban and rural residents: lessons learned from a cross-sectional study in China. Int J Environ Res Public Health, 17(12), 4437.

Pender, N. J., Murdaugh, C.L., & Parsons, M. A. (2011). Health promotion in nursing practice (6th ed.). Boston: Pearson.

Zhong, BL., Luo, W., Li, HM., Zhang, QQ., Liu, XG., Li, WT., & Li, Y. (2020). Knowledge, attitudes, and practices towards COVID-19 among Chinese residents during the rapid rise period of the COVID-19 outbreak: a quick online cross-sectional survey. Int J Biol Sci, 16(10), 1745-1752.