การเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์จำนวนนักศึกษาแรกเข้า คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Main Article Content

คชินทร์ โกกนุทาภรณ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์ จำนวนนักศึกษาแรกเข้าคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2540 ถึง ปีการศึกษา 2565 จำนวน 26 ค่า ผู้วิจัยแบ่งข้อมูลออกเป็นสองชุด โดยชุดที่ 1 จำนวน 20 ค่า เริ่มตั้งแต่ ปีการศึกษา 2540 ถึง ปีการศึกษา 2559 สำหรับเปรียบเทียบหาตัวแบบพยากรณ์ โดยงานวิจัยนี้ใช้วิธีการพยากรณ์ คือ วิธีบอกซ์-เจนกินส์ วิธีปรับให้เรียบเอ็กซ์โพเนนเซียลแบบโฮลท์ และวิธีการทำให้เรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียลที่มีแนวโน้มแบบแดม ข้อมูลชุดที่ 2 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 ถึง ปีการศึกษา 2565 จำนวน 6 ค่า สำหรับการเปรียบเทียบหาวิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมที่สุดโดยใช้เกณฑ์ค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (RMSE) และค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAPE) ที่ต่ำที่สุด ผลการวิจัยพบว่าภายใต้เกณฑ์ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (MAPE) วิธีการทำให้เรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียลที่มีแนวโน้มแบบแดมเป็นวิธีการพยากรณ์ที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ขณะที่ภายใต้เกณฑ์ค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (RMSE) วิธีบอกซ์-เจนกินส์ ARIMA (0,1,0) เป็นวิธีการพยากรณ์ที่มีความเหมาะสมมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ค่าพยากรณ์ของทั้งสองวิธี มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คชินทร์ โกกนุทาภรณ์. (2563). ตัวแบบพยากรณ์จำนวนนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(1), 7- 12.

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2562). ประวัติคณะ. สืบค้นจาก http://edu.vru.ac.th/main/?page_id=40.

เดลินิวส์. (2557). ส.ค.ศ.ท.จี้ลดจำนวนผลิตบัณฑิตครู. สืบค้นจาก https://www.dailynews. co.th/education/213488.

ทรงศิริ แต้สมบัติ. (2549). การพยากรณ์เชิงปริมาณ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2557 (2557, 14 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 131 (ตอนพิเศษ 46 ง), หน้า 16-19.

มุกดา แม้นมินทร์. (2549). อนุกรมเวลาและการพยากรณ์. กรุงเทพฯ : ประกายพรึก.

สมเกียรติ เกตุเอี่ยม. (2548). เทคนิคการพยากรณ์,พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2540 - 2566). ข้อมูลพื้นฐาน/ข้อมูลนักศึกษา พ.ศ. 2540 ถึง พ.ศ. 2566. สืบค้นจาก http://acad.vru.ac.th/about_acad/ac_StudentActive.php.

สุภัทธิรา วรอาจ, ยุทธนา สันแสนดี, และศรันยู พรมศร. (2560). การพยากรณ์จำนวนผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาการจัดการงานก่อสร้างโดยวิธีอารีมา. งานประชุมระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 2, 20-21 มิถุนายน 2560 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.รัตนโกสินทร์ นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

Bowerman, BL. & O’Connell, R.T. (1993). Forecasting and Time Series: An Applied Approach. 3rd Ed. New Jersey: Prentice Hall.

Box, G. E. P., Jenkins, G.M., & Reinsel, G. C. (1994). Time series analysis: Forecasting and control(3rded). Englewood Cliffs, NJ: Prentice–Hall.

IBM Corporation. (2018). IBM SPSS Statistics Information Center. Retrieved from http://publib.boulder.ibm.com/infocenter/spssstat/v20r0m0/index.jsp?.