การจำลองระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ของอาคารในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Main Article Content

ประยุทธ์ ฤทธิเดช
ศุภรัชชัย วรรัตน์
อำนาจ ผดุงศิลป์

บทคัดย่อ

ระบบพลังงานและสมรรถนะการใช้พลังงานในอาคารมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในการบรรลุสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศไทย วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อวิเคราะห์การจัดหาพลังงานโดยมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยใช้แบบจำลอง PVSYST ในการคำนวณและประเมินระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคา จากการสำรวจอาคารทั้งหมดจำนวน 22 อาคาร พบว่ามีอาคารจำนวน 10 อาคารที่สามารถติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เช่น การบังเงาของอาคาร ไม่เป็นอาคารลักษณะเฉพาะ และพื้นที่หลังคาไม่เหมาะสม เป็นต้น จากการศึกษาพบว่าหากมีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์จะได้กำลังการผลิตไฟฟ้าสูงสุด 992 กิโลวัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 1,379,477.70 หน่วยต่อปี ซึ่งถ้าคิดเป็นมูลค่าของเงินที่ประหยัดได้ในแต่ละปีจะลดลงได้ประมาณ 4,768,470.42 บาทต่อปี โดยใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 32.736 ล้านบาท และมีระยะเวลาคืนทุน 7 ปี 3 เดือน สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 651.742 พันตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี ผลการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงระบบพลังงานร่วมกับมาตรการทางด้านพลังงานอื่นๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกรณีศึกษา นอกจากนั้นอาคารสถานศึกษาอื่น ๆ ยังสามารถประยุกต์ใช้งานวิจัยนี้เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การุณย์ ชัยวณิชย์, พุทธดี อุบลศุข, และมนตรี สังข์ทอง. (2561). การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์จากการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินภายในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 10(12), 35–46.

กิตติพงศ์ เพทาย. (2562). การศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดตั้งโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ กรณีศึกษา จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

จุฑารัตน์ ชุนหะศร. (2556). พฤติกรรมการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์:กรณีศึกษาบุคลากรที่ปฏิบัติงานในเทศบาลตำบลเมืองแกลง จังหวัดระยอง. วารสารวิทยบริการ, 24(3), 82-93.

ฉัตร ผลนาค, จอมภพ แววศักดิ์, สมพล ชีวมงคลกานต์, และ ปราณี หนูทองแก้ว. (2560). การประเมินประสิทธิภาพระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาและเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายขนาดกำลัง 3 กิโลวัตต์ โดยอาศัยการจำลองแบบด้วยโปรแกรม PVsyst. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 20, 261–268.

ชนิสรา สุทธินนท์. (2559). การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ธนากร น้ำหอมจันทร์. (2560). การอนุรักษ์พลังงานในสถานศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(1), 67–75.

บัญชา งามชื่น. (2562). การวิเคราะห์ความพร้อมในการผลิตกำลังไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดติดตั้งบนหลังคาขนาดใหญ่ 1 เมกกะวัตต์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

บุญญิศา บัวเผื่อน. (2563). การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร กรณีศึกษา บริษัท บีเอ็มที เอเชีย จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วริศรา สิขิวัฒน์, วิภาดา ทองหอม, ศุภิสรา แขวงโสภา, ธนกฤต เนียมหอม และ วิธิดา พัฒนอิสรานุกูล. (2564). คาร์บอนฟุตพรินท์ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตพญาไท. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 29(4), 604-617.

วิรัตณ์ พิชิตกุญชร, และกีรติ ชยะกุลคีรี. (2561). การออกแบบและการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาของอาคารกองบัญชาการกรมยุทธโยธาทหารบก. วิ ศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา, 29(1), 25–36.

ศรายุทธ์ จิตรพัฒนากุล, และกฤษณะ จันทสิทธิ์. (2564). ระบบสาธิตผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับชุมชนฐานรากระดับครัวเรือน. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 16(1), 87-102.

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2564). การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) จากการใช้พลังงาน ปี2564. สืบค้นจาก http://www.eppo.go.th/index.php/th/component/k2/item/download/22061_5ccc70b8d6aaf1e3d34dc98b6d138bc2

อิทธิเดช ภู่นันทพงษ์, และฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์. (2563). การศึกษาความเป็นไปได้ของระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาตามนโยบายการรับซื้อไฟฟ้า สำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย. วารสารวิชาการพลังงานทดแทนสู่ชุมชน, 3(1), 58–64.