การออกแบบและพัฒนาส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งานสำหรับคัดกรองโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน

Main Article Content

ภักศจีภรณ์ ขันทอง
กชกร เจตินัย
ปกรณ์ กัลปดี
สุภารัตน์ สุขโท
สุรศักดิ์ สุขสาย

บทคัดย่อ

แอปพลิเคชันได้ถูกพัฒนาให้บุคลากรทางการแพทย์ได้ใช้ประโยชน์ในหลายมิติ เช่น การคัดกรองโรค ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ยังขาดประสบการณ์โดยเฉพาะในกลุ่มโรคที่มีความใกล้เคียงกัน งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเป็นแอปพลิเคชันจากผู้เชี่ยวชาญและประเมินความพึงพอใจส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งาน (User interface) เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาในรูปแบบการศึกษาคุณภาพและเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม แบ่งออกเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน และกลุ่มนักศึกษาวิชาชีพทางการแพทย์ (กายภาพบำบัดและแพทย์แผนไทย) จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเชิงคุณภาพ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (Indept-interview) กับผู้เชี่ยวชาญนำไปพัฒนาเป็นต้นแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ด้วยโปรแกรม Visual studio และ Xamarin เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเชิงปริมาณ คือ แบบประเมินความพึงพอใจที่สำรวจในกลุ่มนักศึกษาวิชาชีพทางการแพทย์ ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป


            ผลการศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีข้อมูลที่แตกต่างจากการศึกษาที่ผ่านมาแต่เป็นประโยชน์และมีความเป็นไปได้ในการเขียนโปรแกรมเพื่อพัฒนาเป็นแอปพลิเคชัน การศึกษานี้ได้ออกแบบหน้าจอเมนูใช้งานไว้ 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป การซักประวัติ และการตรวจร่างกาย ผลประเมินความพึงพอใจในอาสาสมัคร พบว่า ทุกหัวข้อมีความพึงพอใจในระดับดีมาก โดยหัวข้อที่มีความพึงพอใจสูงที่สุด คือ การใช้ภาษา มีคะแนนเฉลี่ย 4.35 ± 0.69 คะแนน ส่วนหัวข้อที่มีความพึงพอใจต่ำที่สุด คือ ความสวยงาม มีคะแนนเฉลี่ย 3.92 ± 1.02 คะแนน ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมมี 3 ด้าน คือ การปรับปรุงส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ การเพิ่มรายละเอียดคำถาม และความมีประโยชน์ในการใช้งาน ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความสนใจต่อการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์และมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาและนำแอปพลิเคชันไปช่วยคัดกรองผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐวดี หงส์บุญมี, และติณณภพ โตม่วง. (2564). ระบบพยากรณ์ความเสี่ยงภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทผ่านสมาร์ทโฟนด้วยเทคนิคเหมืองข้อมูล. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13(1), 128–143.

นภาพร จันต๊ะรังษี. (2560). แนวทางการรักษาทางกายภาพบาบัดกับผู้ป่วยภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล, 2(2), 1–16.

ประเมษฐ์ ดำชู, และสุวารี นามวงค์. (2561). การวิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันของส่วนต่อประสานกับผู้ใช้บนเว็บไซต์ของนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 13(1), 70–85.

สรสินธุ์ ฉายสินสอน. (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านคุณลักษณะผู้ประกอบการและการรับรู้เทคโนโลยีที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการยอมรับเทคโนโลยีคลังสินค้าอัจฉริยะเชิงพาณิชย์ของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย. วารสารสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 6(1), 21–36.

Amin, R. M., Andrade, N. S., & Neuman, B. J. (2017). Lumbar disc herniation. Current Reviews in Musculoskeletal Medicine, 10(4), 507–516.

Blyth, F. M., Briggs, A. M., Schneider, C. H., Hoy, D. G., & March, L. M. (2019). The Global Burden of Musculoskeletal Pain-Where to From Here?. American journal of public health, 109(1), 35–40.

Chawalparit, O., Churojana, A., Chiewvit, P., Thanapipatsir, S., Vamvanij, V., & Charnchaowanish, P. (2006). The limited protocol MRI in diagnosis of lumbar disc herniation. Journal of the Medical Association of Thailand = Chotmaihet Thangphaet, 89(2), 182–189.

Gause, P. R., Godinsky, R. J., Burns, K. S., & Dohring, E. J. (2021). Lumbar disk herniations and radiculopathy in athletes. Clinics in Sports Medicine, 40(3), 501–511.

Hartvigsen, J., Hancock, M. J., Kongsted, A., Louw, Q., Ferreira, M. L., Genevay, S., Hoy, D., Karppinen, J., Pransky, G., Sieper, J., Smeets, R. J., Underwood, M., & Lancet Low Back Pain Series Working Group. (2018). What low back pain is and why we need to pay attention. Lancet (London, England), 391(10137), 2356–2367.

Hortman, P. A., & Thompson, C. B. (2005). Evaluation of user interface satisfaction of a clinical outcomes database. Computers, informatics, nursing : CIN, 23(6), 301–307.

Kim, J. H., van Rijn, R. M., van Tulder, M. W., Koes, B. W., de Boer, M. R., Ginai, A. Z., Ostelo, R. W. G. J., van der Windt, D. A. M. W., & Verhagen, A. P. (2018). Diagnostic accuracy of diagnostic imaging for lumbar disc herniation in adults with low back pain or sciatica is unknown; a systematic review. Chiropractic & Manual Therapies, 26, 37.

Lam, O. T., Strenger, D. M., Chan-Fee, M., Pham, P. T., Preuss, R. A., & Robbins, S. M. (2018). Effectiveness of the McKenzie Method of Mechanical Diagnosis and Therapy for Treating Low Back Pain: Literature Review With Meta-analysis. The Journal of orthopaedic and sports physical therapy, 48(6), 476–490.

Majlesi, J., Togay, H., Unalan, H., & Toprak, S. (2008). The sensitivity and specificity of the Slump and the Straight Leg Raising tests in patients with lumbar disc herniation. Journal of Clinical Rheumatology: practical reports on rheumatic & musculoskeletal diseases, 14(2), 87–91.

O'Sullivan, P. (2005). Diagnosis and classification of chronic low back pain disorders: maladaptive movement and motor control impairments as underlying mechanism. Manual Therapy, 10(4), 242–255.

Petersen, T., Laslett, M., & Juhl, C. (2017). Clinical classification in low back pain: best-evidence diagnostic rules based on systematic reviews. BMC Musculoskeletal Disorders, 18(1), 188.

Thinnukool, O., & Kongchouy, N. (2017). The user’s satisfaction of graphic user interface in designing for health care mobile application. Journal of Telecommunication, Electronic and Computer Engineering (JTEC), 9(1-5), 11–15.

Vroomen, P. C., de Krom, M. C., Wilmink, J. T., Kester, A. D., & Knottnerus, J. A. (2002). Diagnostic value of history and physical examination in patients suspected of lumbosacral nerve root compression. Journal of Neurology, Neurosurgery, and Psychiatry, 72(5), 630–634.

Wu, A., March, L., Zheng, X., Huang, J., Wang, X., Zhao, J., Blyth, F. M., Smith, E., Buchbinder, R., & Hoy, D. (2020). Global low back pain prevalence and years lived with disability from 1990 to 2017: estimates from the Global Burden of Disease Study 2017. Annals of translational medicine, 8(6), 299.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. (2nd ed.). New York: Harper & Row.