การศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากสถานที่กำจัดมูลฝอย กรณีศึกษา: สถานที่กำจัดมูลฝอยองค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

อมรรัตน์ ศรีอ่อนแสง
ฤทธิรงค์ จังโกฏิ
สุทิน ชนะบุญ
นัฐชานนท์ เขาราธ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมจากสถานที่กำจัดมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้ที่อาศัยบริเวณโดยรอบสถานที่กำจัดมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการมูลฝอยในพื้นที่ตำบลนาพู่ มีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใน 4 มิติ ได้แก่ มิติทางกาย มิติทางจิตใจ มิติทางสังคม และมิติทางจิตวิญญาณ และด้านสิ่งแวดล้อม โดยใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 256 คน การสนทนากลุ่มย่อย จำนวน 2 ครั้ง รวมจำนวน 31 คน และตรวจคุณภาพสิ่งแวดล้อมสถานที่กำจัดมูลฝอย ผลการศึกษาพบว่า โดยภาพรวมทั้งกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามและกลุ่มสนทนากลุ่มย่อยไม่ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพมากนักจากสถานที่กำจัดมูลฝอย แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาในส่วน ผลกระทบเชิงบวก พบว่า มิติทางจิตใจ ประชาชนรู้สึกพึงพอใจที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ จัดการปัญหาทุกครั้งที่มีเหตุร้องเรียนเข้ามาทันที ร้อยละ 42.97 มีค่าเฉลี่ยในภาพรวม 2.86 (S.D.=1.27) อยู่ในระดับปานกลาง  ผลกระทบเชิงลบ ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ด้านกลิ่นเหม็น ร้อยละ 51.95 มีค่าเฉลี่ยในภาพรวม 1.98 (S.D.=1.31) อยู่ในระดับมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันน้อย  จากการสนทนากลุ่มร่วมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้มาซึ่งมาตรการป้องกันและข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการเฝ้าระวังผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชน และการสร้างความตระหนักและความเข้าใจในการจัดการมูลฝอย เพื่อลดปริมาณการเกิดมูลฝอยในชุมชนและรณรงค์ให้ความรู้ แนวคิดหลัก 3R คือ Reduce Reuse Recycle มีแผนทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและมีการติดตามผล โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหามูลฝอยในพื้นที่ 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2565). รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทยพ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สํานักจัดการกากของเสียและสารอันตรายกรมควบคุมมลพิษ.

กรมอนามัย. (ม.ป.ป). คู่มือการควบคุมพาหะนำโรค: แมลงวัน. นนทบุรี: ชุนุมสหกรณ์การเกษตร .

วนิดา เสริมเหลา, และศุภวัฒนากร วงศ์ธนวส. (2564). ถอดบทเรียนความสำเร็จจากการจัดการขยะของประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้และไต้หวัน. Journal of Modern Learning Development, 6(1), 234-249.

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1-16. (2562). รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินระดับผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยรอบบริเวณ สถานที่กำจัดขยะมูลฝอย ปี พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก http://www.mnre.go.th/attachment/iu/download.php?WP=qUIcnKtkpQMgZKqCGWOgh JstqTgcWat5pQIgAKp4GQSgG2rDqYyc4Uux

สุภาวดี น้อยน้ำใส, เดชาธร แสงคำ, และปิยะดา วชิระวงศกร. (2563). การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของชุมชนโดยรอบสถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอย: กรณีศึกษาตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences) 2019, 12(2), 135.

องค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่. (2566). ระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นจาก http://waste.dla.go.th/

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.

Prince, O.N., Joshua, N.E., & John O.O. (2019). Health and Environmental Risks of Residents Living Close to a Landfill: A Case Study of Thohoyandou Landfill, Limpopo Province, South Africa. Int. J. Environ. Res. Public Health, 16(12), 2125.

Singh, S.K., Chokhandre, P., Salve, P, S., & Rajak, R. (2021). Open dumping site and health risks to proximate communities in Mumbai, India: A cross-sectional case-comparison study. Clinical Epidemiology and Global Health, 9(2021), 34-40.