ผลของดินผสมจากผักตบชวาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักบุ้งจีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ดินผสมจากผักตบชวาเป็นดินผสมที่นำผักตบชวามาใช้เป็นวัสดุร่วมกับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อช่วยเพิ่มธาตุอาหารที่จะส่งเสริมการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชได้ ตลอดจนมีส่วนทำให้ลดปริมาณวัชพืชในแหล่งน้ำได้ โดยการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของดินผสมจากผักตบชวาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักบุ้งจีน วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) ประกอบด้วย 6 สิ่งทดลอง จำนวน 4 ซ้ำ ได้แก่ สิ่งทดลองที่ 1 ดิน (ชุดควบคุม) , สิ่งทดลองที่ 2 ดิน : ขุยมะพร้าว : แกลบดิบ : มูลวัว : มูลไก่ (1 : 1 : 1 : 1 : 0.5), สิ่งทดลองที่ 3 ดิน : ขุยมะพร้าว : แกลบดิบ : มูลวัว : มูลไก่ : ผักตบชวา (1 : 1 : 1 : 1 : 0.5 : 1), สิ่งทดลองที่ 4 ดิน : แกลบดิบ : มูลวัว : มูลไก่ : ผักตบชวา (1 : 1 : 1 : 0.5 : 1), สิ่งทดลองที่ 5 ดิน : ขุยมะพร้าว : มูลวัว : มูลไก่ : ผักตบชวา (1 : 1 : 1 : 0.5 : 1), สิ่งทดลองที่ 6 ดิน : มูลวัว : มูลไก่: ผักตบชวา (1 : 1 : 0.5 : 2) จากผลการทดลองพบว่า ดินผสมสิ่งทดลองที่ 5 ที่ประกอบด้วย ดิน : ขุยมะพร้าว : มูลวัว : มูลไก่ : ผักตบชวา (1 : 1 : 1 : 0.5 : 1) ทำให้ผักบุ้งจีนมีการเจริญเติบโตและผลผลิตสูงที่สุด ได้แก่ เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 0.28 เซนติเมตร จำนวนใบ 12.65 ใบต่อต้น ความยาวใบ 18.45 เซนติเมตร น้ำหนักสดต้น 15.84 กรัมต่อต้น น้ำหนักสดราก 3.79 กรัมต่อต้น น้ำหนักแห้งต้น 1.40 กรัมต่อต้น และน้ำหนักแห้งราก 0.27 กรัมต่อต้น
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ขจรยศ ศิรินิล, และอรประภา เทพศิลปวิสุทธิ์. (2563). การพัฒนาวัสดุดินผสมเพื่อการเพาะปลูกผักสลัดกรีนโอ๊ค. แก่นเกษตร, 48(5), 990-1001.
ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย. (2559). สรีรวิทยาพืชไร่. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่.
เฉลิมชัย แพะคำ, บุญร่วม คิดค้า, มนัส ทิตย์วรรณ, และวิพรพรรณ์ เนื่องเม็ก. (2557). การศึกษาปริมาณธาตุอาหารพืชจากปุ๋ยหมักผักตบชวาที่ย่อยสลายโดยเชื้อรา Trichoderma sp. ไอโซเลท UPPY19. แก่นเกษตร. 42(1), 671-676.
ตฤณ ปฐมนิธิภิญโญ, อารียา คงอิ่ม, ทิพย์รัตน์ ร่วมสำโรง, อรสา จัดดีเรียน, และเอกราชันย์ ไชยชนะ. (2565). การผลิตภาชนะชีวภาพจากผักตบชวา. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 7-8 กรกฎาคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จังหวัดนครปฐม.
ธงชัย มาลา. (2546). ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ : เทคนิคการผลิตและการใช้ประโยชน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นัทธีรา สรรมณี, ปิยกมล อาจจินดา, และกมลชนก พานิชการ. (2566). อิทธิพลของกระบวนการหมักต่อการปลดปล่อยธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม. PSRU Journal of Science and Technology, 8(1), 1-12, 2023
นุสลาวาตี จูมิง, รุสนีดา ดอเลาะ, ภานุ คะนอง, และจุฑามาศ แก้วมณี. (2565). การผลิตกระถางต้นไม้ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากกากกาแฟ ผักตบชวา และขุยมะพร้าว. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2565, 10-11 มีนาคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี.
ประยงค์ ธรรมสุภา. (2555). การศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของดาวเรือง. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 7(1), 26-31.
ปิยะ ดวงพัตรา. (2553). สารปรับปรุงดิน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปุณณดา ทะรังศรี, ชัชวินทร์ นวลศรี, คงเดช พะสีนาม, ธันวมาส กาศสนุก, และจักรกฤช ศรีละออ. (2565). ผลของผักตบชวาหมักร่วมกับของเสียเหลือใช้ต่อการงอกและการเจริญเติบโตของผักกาดหอมพันธุ์กรีนโอ๊ค. Life Sciences and Environment Journal, 23(1), 196-207.
วนิดา ชัยชนะ. (2562). ประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของผักบุ้งจีน. วารสารเกษตรพระวรุณ, 16(1), 81-90.
ศิราณี วงศ์กระจ่าง, และบัญชา รัตนีทู. (2561). ผลของการใช้ดินผสมจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น จ.นราธิวาส ต่อการเจริญเติบโตของผักสลัดกรีนโอ๊ค. แก่นเกษตร, 46(1), 1156-1160.
สามารถ ใจเตี้ย. (2565). ผลของวัสดุปลูกจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักสลัดใบพันธุ์กรีนโอ๊ค. วารสารผลิตกรรมการเกษตร, 4(3), 13-21.
สุกัญญา จัตตุพรพงษ์, ปฏิมา อู๋สูงเนิน, และอุทัย คันโธ. (2553). เอกสารวิชาการ เรื่องการใช้ประโยชน์จากมูลสัตว์และน้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์เป็นปุ๋ยอินทรีย์แบบต่าง ๆ สำหรับพืชเศรษฐกิจ. นครปฐม: สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจเพื่อการค้นคว้าพัฒนาปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
โสฬส แซ่ลิ้ม. (2559). ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย. กลุ่มวิจัยและพัฒนาการจัดการอินทรีย์วัตถุ. กองเทคโนโลยี ชีวภาพทางดิน กรมพัฒนาที่ดิน. กรุงเทพฯ.
อรประภา อนุกูลประเสริฐ, พิสินี บุญวัฒนากูล, และสมชาย ชคตระการ . (2558). ผลการใช้ปุ๋ยอินทรย์คุณภาพสูง ปุ๋ยเคมี และการใช้ร่วมกันที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของผักบุ้งจีน (Ipomoea aquatic Forsk.). วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 23(6), 971-982.
Balasubramanian, D., Arunachalam, K., Arunachalam A., & Das A.K. (2013). Water hyacinth [Eichhornia crassipes (Mart.) Solms.] engineered soil nutrient availability in a low-land rain-fed rice farming system of north-east India. Ecological Engineering, 58, 3-12.
Khaing, M.T. (2016). Characterization on Organic Fertilizer of Eichhornia crassipes (Mart.) Solms (Beda). Yadanarbon University Research Journal, 7(1), 1-12.
Vidya, S., & Girish, L. (2014). Water hyacinth as a green manure for organic farming. IMPACT: International Journal of Research in Applied, Natural and Social Sciences, 2(6), 65-72.