การพัฒนาเคลือบเซรามิกขี้เถ้ามันสำปะหลัง จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

กฤตยชญ์ คำมิ่ง
คนึงนิต ปทุมมาเกษร

บทคัดย่อ

          การพัฒนาเคลือบเซรามิกขี้เถ้ามันสำปะหลัง จังหวัดกำแพงเพชร มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราส่วนผสมของเคลือบที่เหมาะสมในการเผาที่อุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียสและวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพของเคลือบเซรามิกขี้เถ้ามันสำปะหลัง ตามหลักทฤษฎีแผนภาพตารางสามเหลี่ยมด้านเท่า (Triaxial Diagram) โดยการนำส่วนประกอบต่างๆ ของมันสำปะหลัง เช่น ลำต้น ใบ และโคนมันสำปะหลัง มาเผาให้เป็นขี้เถ้าบดละเอียด หลังจากนั้นนำมาชั่งตามอัตราส่วนผสมในการทำเคลือบ ผลการศึกษาพบว่า

              1. ลักษณะของเคลือบเซรามิกขี้เถ้ามันสำปะหลังมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะมีทั้งเคลือบด้าน (Matt Glaze) เคลือบมัน (Glossy Glaze) เคลือบกึ่งด้านกึ่งมัน (Sami-Matt Glaze) และเคลือบราน (Crank Glaze) นำมาเคลือบผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน

              2. ผลการทดลองเคลือบเซรามิกขี้เถ้ามันสำปะหลังได้จากการหาอัตราส่วนผสมตามหลักทฤษฎีแผนภาพตารางสามเหลี่ยมด้านเท่า (Triaxial Diagram มีดังนี้

                 2.1 เคลือบมันวาว คือ สูตรที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 8, 9 และ 10

                 2.2 เคลือบด้าน คือ สูตรที่ 7, 11, 12, 27 และ 28

                 2.3 เคลือบกึ่งด้านกึ่งมัน คือ สูตรที่ 13, 14, 15, 19, 20, 21, 33, 34, 35 และ 36

                 2.4 เคลือบราน คือ สูตรที่ 16, 17, 18, 22, 23, 24, 25, 26, 29, 30, 31 และ 32

              3. ผลการพัฒนาเคลือบเซรามิกขี้เถ้ามันสำปะหลังโดยใช้ออกไซด์ให้สี พบว่า สีน้ำตาลแดงใส่เฟอร์ริกออกไซด์ (Fe2O3) ร้อยละ 10 สีขาวใส่ไทเทเนียมออกไซด์ (Tio2) ร้อยะ 10 และสีเขียวใส่โครมิกออกไซด์ (Cr2O3) ร้อยละ 2.5

 

          The development of ceramic glazes with cassava ashes, Kamphaeng Phet Province have purposes to develop an improved formula of glazing to fire at 1,200 degrees Celsius and analyzed Physical properties of Cassava ashes glaze by using the triangular table theory.  The components of cassava such as trunks, leaves and roots that were burned to become ash and take it mash into powder, and then brought the cassava ashes to scale at the rate of glazing formula. The study found that:

              1. The nature of ceramic glaze by using cassava ashes that showed the identities were Matt glaze, Glossy glaze, Sami-Matt glaze and Crank glaze when using glaze the product with throwing.

              2. The cassava ash is used for glazing in this experiment. The adequate proportion is calculated by triangular table shown as

                 2.1 Glossy glaze, formulas are 1, 2, 3, 4, 5, 6, 8, 9 and 10

                 2.2 Matt glaze, formulas are 7, 11, 12, 27 and 28

                 2.3 Sami-Matt glaze, formulas are 13, 14, 15, 19, 20, 21, 33, 34, 35 and 36

                 2.4 Crank glaze, formulas are 16, 17, 18, 22, 23, 24, 25, 26, 29, 30, 31 and 32. 

              3. The results of the developed the cassava ash glazes using Oxide found adding the Ferric Oxide (Fe2O3; 10%) is changed color into red-brown, Titanium Oxide (TiO2; 10%) is changed color into white and Chromic Oxide (Cr2O3; 10%) is changed color into green.

 

 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

กฤตยชญ์ คำมิ่ง

อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีเซรามิกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์  ในพระบรมราชูปถัมภ์

คนึงนิต ปทุมมาเกษร

อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

References

โกมล รักษ์วงศ์. (2538). น้ำเคลือบ 2 .เอกสารประกอบการสอนวิชาน้ำเคลือบ 2 ภาควิชาเครื่องปั้นดินเผา คณะวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันราชภัฏพระนคร, อัดสำเนา.

ชลูด นิ่มเสมอ. (2546). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิชโอเดียนสโตร์.

ทวี พรหมพฤกษ์. (2523). เครื่องเคลือบดินเผาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: เรืองรัตน์.

ปรีดา พิมพ์ขาวขำ. (2530). เคลือบเซรามิกส์. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2537). รวมสูตรเคลือบเซรามิกส์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

__________. (2541). เนื้อดินเซรามิก. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

วนิดา ฉินนะโสต. (2546). การทดลองเนื้อดินปั้น อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เพื่อใช้ในงานเครื่องปั้นดินเผา. คณะศิลปกรรม สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี.

สมศักดิ์ ชวาลาวัณย์. (2535). การพัฒนาสีในเนื้อดินสำหรับผลิตภัณฑ์เซรามิกส์โดยใช้สนิทโลหะตามสูตรไตรดุลยภาค. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

สาธร ชลชาติภิญโญ. (2547). การศิลปะเครื่องปั้นดินเผาแห่งชาติ ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง.

สภาเกษตรกรจังหวัดกำแพงเพชร. (2558). มันสำปะหลัง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nfc-kpt.or.th/index.php/2014-06-29-10-05-25. (2559, 22 มกราคม).

Kenny, John B. (1984). The Complete of pottery Making. New York: Chilton Book Company.

Phil Rogers. (1991). Ash Glazes. rev. U.S.A : Chilton Book Company: 130.

Rhodes, Daniel. (1973). Clay and Glazes for the Potter. London: Pitman Publishing Company.