การพัฒนาระบบวินิจฉัยโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุด้วยออนโทโลยี

Main Article Content

วิไลลักษณ์ ตรีพืช
วุฒิพงษ์ ชินศรี

บทคัดย่อ

             การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนาระบบวินิจฉัยโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุด้วยออนโทโลยี 2. เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบวินิจฉัยโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุด้วยออนโทโลยี 3. เพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้งานระบบวินิจฉัยโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุด้วยออนโทโลยี

             ระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนของการระบุข้อมูลของผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยและส่วนของการแสดงผลการวินิจฉัย สำหรับส่วนของการประเมินประสิทธิภาพจะทำการประเมินโดยผู้วิจัยจะสอบถามจากผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน โดยผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบวินิจฉัยโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุเมื่อพิจารณาจากอาการ อยู่ในระดับสูงมาก ( =4.23, S.D.=0.84) และเมื่อพิจารณาจากพฤติกรรม อยู่ในระดับสูงมาก ( =4.51, S.D.=0.87) สำหรับส่วนของการประเมินความพึงพอใจในการใช้งานจะทำการประเมินโดยผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับผู้ประเมินประสิทธิภาพของระบบ โดยผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้งานระบบวินิจฉัยโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.65, S.D. =0.55) ซึ่งหากพิจารณาเป็นรายข้อแล้วพบว่ามีความพึงพอใจกับความเร็วในการทำงานของระบบได้รับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ( =4.83, S.D.=0.38)

 

             The objectives of this research were: 1. to develop the diagnostic system for a common geriatric disease by using ontology, 2. to evaluate the performance of the diagnostic system for a common geriatric disease by using ontology, and 3. to evaluate the usage of satisfaction of the diagnostic system for a common geriatric disease by using ontology.

              The system developed are divided into two main parts: part 1 for defining the user information that related for diagnostic; and part 2 for display the result of diagnostic. The evaluation of the performance was evaluated by 30 elders. The overall performance results of the diagnostic system for a common geriatric disease by using ontology when use the symptoms for considering were at a very high level ( =4.23, S.D.=0.84) and when use the behaviors for considering were at a very high level ( =4.51, S.D.=0.87). The evaluation of the usage of satisfaction was evaluated by 30 elders who evaluate the performance of this system. The overall usage of satisfaction results of the diagnostic system for a common geriatric disease by using ontology were at a very high level ( =4.65, S.D.=0.55). Considering in each item, it has been found that the speed of the system have been satisfied at a very high level. ( =4.83, S.D.=0.38). 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

วิไลลักษณ์ ตรีพืช

สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ วิทยาลัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  มหาวิทยาลัยรังสิต   จังหวัดปทุมธานี 

วุฒิพงษ์ ชินศรี

สาขาวิชาการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  มหาวิทยาลัยรังสิต    จังหวัดปทุมธานี 

References

คณะอาจารย์แพทย์ โรงพยาบาลศิริราช. (2542). โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการดูแลรักษา. กรุงเทพฯ: ลิเบอร์ตี้เพรส.

จุฑามาศ เทียนสะอาด และอรวรรณ อิ่มสมบัติ. (2555). ระบบผู้เชี่ยวชาญเพื่อวินิจฉัยและให้คำแนะนำผู้ป่วยไตวายเรื้อรังโดยใช้ฐานข้อมูลออนโทโลยี. JOURNAL OF INFORMATION SCIENCE AND TECHNOLOGY, 3(2), 23-30.

ธีรวิชญ์ วงษา และรัฐสิทธิ์ สุขะหุต. (2557). ออนโทโลยีกับการจัดการความรู้. ข่าวสารคณะวิทยาศาสตร์ มช., 1-3.

ประเสริฐ อัสสันตชัย. (2554). ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน. กรุงเทพฯ: ยูเนี่ยน ครีเอชั่น.

ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2557). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2556. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับชิง จำกัด (มหาชน).

ระบบวินิจฉัยโรคออนไลน์. (2553) ค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2558, จากเว็บไซต์ : http://disease-diagnosis.net63.net/.

วุฒิพงษ์ ชินศรี และศิริวรรณ วาสุกรี. (2558). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการวิเคราะห์ข้อสอบปรนัย. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(1), 1-17.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2555). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Best, J. W. (1977). Research in education. Englewood Cliffs, NJ. Prentice-Hall.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.