ผลของการออกกำลังกายในนํ้าที่มีต่อช่วงการเคลื่อนไหวของข้อเข่าหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมระยะแรกในผู้ป่วยหญิงสูงอายุ จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ธนวรรณพร ศรีเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค  1. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลง และ 2. เปรียบเทียบค่าของชว่ งการเคลื่อนไหว
มุมงอของข้อเข่า ขนาดเส้นรอบวงของข้อเข่า ระดับความรู้สึกปวด และระยะเวลาลุกเดินไป-กลับ 16 ฟุต ภายใน
กลุ่มที่ออกกำลังกายในน้ำและกลุ่มออกกำลังกายบนบกหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมระยะแรกในผู้ป่วยหญิงสูงอายุ
จังหวัดมหาสารคาม และ 3. เพื่อเปรียบเทียบผลการเปลี่ยนแปลงหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมระยะแรกในผู้ป่วยหญิง
สูงอายุ จังหวัดมหาสารคาม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยหญิงสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
ระยะแรก โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม อายุ 60 ปีขึ้นไป สุขภาพดีไม่มีโรคประจำตัวสามารถลงนํ้าได้
กลุ่มตัวอย่างไดม้ าจากการสมัครใจ จำนวน 20 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ออกกำลังกายในน้ำ
และตามด้วยการออกกำลังกายด้วยเครื่อง CPM จำนวน 10 คน และกลุ่มที่ออกกำลังกายบนบกและตามด้วย
การออกกำลังกายด้วยเครื่อง CPM จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการออกกำลังกายในน้ำ
กับการออกกำลังกายบนบก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซํ้า
ผลการวิจัยพบว่า 1) เปรียบเทียบภายในกลุ่มออกกำลังกายในนํ้ากับกลุ่มออกกำลังกายบนบกในผู้ป่วยหญิง
หลังผ่าตัดระยะแรก พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ผลการเปรียบเทียบ
ร้อยละการเปลี่ยนแปลงด้วยเครื่อง CPM พบว่า มีร้อยละการเปลี่ยนแปลงของค่าเฉลี่ยโดยรวมแตกตา่ งกันอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีร้อยละการเปลี่ยนแปลงของค่าเฉลี่ยหลังการผ่าตัดโดยรวมแตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ศรีเมือง ธ. (2020). ผลของการออกกำลังกายในนํ้าที่มีต่อช่วงการเคลื่อนไหวของข้อเข่าหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมระยะแรกในผู้ป่วยหญิงสูงอายุ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 17(1), 181–196. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edu-rmu/article/view/252017
บท
บทความวิจัย

References

กันยา ปาละวิวัธน์. (2554). การรักษาด้วยเครื่องไฟฟ้าทางกายภาพบำบัด. กรุงเทพมหานคร: เดอะบุคส์.
ธนบดี ชุ่มกลาง และรุจิรา ดวงสงค์. (2555). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการออกกำลังกายโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการบรรเทาความปวดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมอำเภอวังนํ้าเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 46-56.
ธนวรรณพร ศรีเมือง. (2560). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการเดินแบบภูมิปัญญาไทยต่อสมรรถภาพทางกาย ความสามารถในการดูแลตนเองและการรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดมหาสารคาม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
นัฐรัมภาพร ธนปิยวัฒน์. (2560). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน.การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 2. คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.พัชรพล อุดมเกียรติ. Stiffness after total knee replacement. ใน กีรติ เจริญชลวานิช (บ.ก.).Recent Advance of Knee Surgery (น. 183-188). กรุงเทพมหานคร: หจก มีเดีย เพรส พ.ศ.2550,ประเทศไทย.
ภัทราวุธ อินทรกำแหง และสุมาลี ซื่อธนาพรกุล. (2539). การฟื้นฟูหลังการผ่าตัดทางออร์โธปิดิคส์ที่สำคัญ.ใน เสก อักษรานุเคราะห์ (บ.ก.). ตำราเวชศาสตร์ฟื้นฟู (พิมพ์ครั้งที่ 3) (น. 731-800). กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์เทคนิค 19, ประเทศไทย.
ยงยุทธ วัชรดุล. (2553). โรคกระดูกและข้อที่พบบ่อยในประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร:มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
เยี่ยมมโนภพ บุนนาค. (2539). การออกกำลังกายเพื่อการบำบัดรักษา (Therapeutic exercise).ตำราเวชศาสตร์ฟื้นฟู. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เทคนิค 19.
รัชวรรณ สุขเสถียร. (2551). เอกสารประกอบการสอนนักศึกษาแพทย์การออกกำลังกายเพื่อการบำบัดรักษา(Therapeutic Exercise). นครราชสีมา: ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา.
รัตนาวลี ภักดีสมัย และพนิษฐา พานิชาชีวะกุล. (2555) การพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาปวดข้อเข่าของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านบาก อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด.วารสารบัณฑิตวิทยาลัยขอนแก่น, 34(4), 46-55.
ราตรี เรืองไทย. (2548). การออกกำลังกายในนํ้า. เอกสารประกอบการฝึกอบรมกึ่งปฏิบัติการผลิตผู้นำการออกกำลังกายในนํ้า. กรุงเทพมหานคร: กรมแพทย์ทหารเรือ.