การเมืองใหม่ วิถีพุทธ
Main Article Content
Abstract
หนังสือ การเมืองใหม่ วิถีพุทธ เขียนโดย พระครูภาวนาโพธิคุณ (พระสมชาย
กนฺตสีโล, ดร.) ตีพิมพ์ครั้งแรกในปีใดไม่ปรากฏในสารระบบออนไลน์ หากแต่
มีการตีพิมพ์ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนเมษายน ปี พ.ศ.2554 ในหน้ารองของการเมือง
ใหม่ วิถีพุทธ ได้โปรยคำอธิบายที่ดูเหมือนจะเป็นคำถามกลาย ๆ ว่า “เพื่อเป็นสันติภาพที่แท้ ความเป็นสากล 3
ประการ ทำได้หรือไม่” ได้แก่ 1) ความเป็นมนุษย์ที่สากล กล่าวคือ การมองมนุษย์ที่ไหนในโลกก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน
ทั้งนั้น ทุกคนรักชีวิต รักสุข เกลียดทุกข์ กลัวต่อความตาย มนุษย์ทุกคนล้วนเป็นเพื่อเกิดแก่เจ็บตาย อยู่ในกฏของ
ธรรมชาติอย่างเดียวกัน 2) ความจริงที่เป็นนสากล ทำเหตุปัจจัยอย่างไร ผลก็เกิดตามนั้น เมื่อทำเหตุดี ผลก็เกิดดี
ไม่ว่าจะทำดีที่ไหนก็ไม่แตกต่างกัน นี่คือความเป็นสากล เป็นไปตามกฏธรรมชาติ ธรรมะก็เป็นความจริงตามธรรมชาติ
เฉกเช่นกัน 3) ความเมตตาที่เป็นสากล ความรักที่กว้างขวาง ไม่มีพรมแดน เมตตาจึงเป็นสากลไม่เลือกกลุ่มเหล่า
หากทำสามสิ่งนี้ให้เป็นสากลไม่ได้ สันติภาพที่แท้ไม่มีทางมาถึง (พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต))
เนื้อหาด้านการเมืองใหม่ วิถีพุทธ จากมุมมองของ ฆารวาสโดย พระครูภาวนาโพธิคุณ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์
ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ซึ่งมุมมองภาพรวม
มีความน่าสนใจ จากมุมมองการเมืองใหม่ในประเทศไทยในมิติเชิงพุทธศาสนา ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าพระพุทธศาสนา
ในบ้านเรามีการปลูกฝังให้กับสังคมมานมนานและได้รับการหล่อหลอมจากหลักธรรม คำสอนในพระพุทธศาสนา
มายาวนาน วิถีชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่ตั้งแต่กำเนิดจนถึงตาย จึงเกี่ยวโยงสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ
พระพุทธศาสนา แต่เมื่อสังคมโลกเปิดกว้างขึ้นทั้งในด้านสื่อสารมวลชน เศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม จึงเป็น
เหตุผลสำคัญที่นำพาให้สังคมไทยก้าวเข้าไปสู่กระแสแห่งยุคโลกาภิวัฒน์ ส่งผลให้สังคมไทยต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติ
ในหลาย ๆ ด้าน
Article Details
ข้อกำหนดเบื้องต้นที่ผู้นิพนธ์(ผู้ส่งบทความ) ควรทราบ
1. ผู้นิพนธ์ที่ประสงค์จะลงตีพิมพ์บทความกับวารสาร ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เป็นต้นไป ให้ใช้รูปแบบใหม่ (Template 2563) โดยสามารถดูตัวอย่างได้ที่เมนู GUIDELINES
2. จะตีพิมพ์และเผยแพร่ได้ ต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)
3. การประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) เป็นแบบ Double Blind
4. การอ้างอิงบทความใช้หลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) คลิก
5. บทความถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ ไม่ผ่านการประเมิน ผู้นิพนธ์ขอยกเลิกเองหรือชำระเงินก่อนได้รับการอนุมัติ ทางวารสารไม่มีนโยบายการคืนเงิน