Empowered Educators: How High-Performing Systems Shape Teaching

Main Article Content

Kritkanok Duangchatom

Abstract

บทที่ 1 ผลจากการสรุปการถอดบทเรียนสะท้อนลักษณะร่วมระหว่างระบบการศึกษาหลายประการดังต่อไปนี้ การยกระดับวิชาชีพทางการศึกษา การสรรหาบุคคลเข้าสู่วิชาชีพ การอุดหนุนงบประมาณเพื่อการฝึกหัดครูและการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มาตรฐานวิชาชีพ ทิศทางการฝึกและแนะแนวครูที่ยึดโยงกับหลักสูตรการศึกษา การจัดการเรียนรู้โดยยึดโยงกับงานวิจัยและการดำเนินการวิจัยอย่างต่อเนื่อง การร่วมมือวิชาชีพทางการศึกษา การพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง โอกาสการเป็นผู้นำทางการศึกษาและความเสมอภาคทางการศึกษา
บทที่ 2 เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์แนวทางการจัดการและการส่งเสริมการศึกษาในห้าประเทศที่เราได้ศึกษา โดยกล่าวถึงบริบทที่แวดล้อมนโยบายด้านการศึกษาเหล่านี้ ตลอดจนอธิบายการจัดสรรงบประมาณและโครงสร้างการบริหารจัดการในแต่ละประเทศ นอกจากนี้เรายังอธิปรายถึงการออกแบบหลักสูตรการศึกษา รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และการประเมินผลการศึกษาที่เน้นความร่วมมือในแต่ละประเทศ อันจะกำหนดเค้าโครงระบบการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้อีกทอดหนึ่งบทนี้ยังกล่าวถึงเงื่อนไขของการกำหนดนโยบาย ปัญหาทางการศึกษาและข้อถกเถียงในระบบการศึกษานั้นๆ ด้วย
บทที่ 3 กล่าวถึงการเข้าสู่วิชาชีพในแต่ละระบบการศึกษา วิเคราะห์กระบวนการสรรหา ฝึกหัด และแนะแนวครู รวมถึงอภิปรายว่า ระบบการศึกษาต่าง ๆ มีวิธีดึงดูดบุคคลากรที่มีคุณภาพให้ประกอบอาชีพครูนำครูไปสู่โรงเรียนต่าง ๆ อย่างเสมอภาค ตลอดจนระบุพื้นที่ขาดแคลนครูได้อย่างไร จากนั้นเราจะพิจารณาหลักสูตรครูและอิทธิพลของมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาต่อหลักสูตรดังกล่าว รวมถึงแนวทางในการแนะแนวครูเมื่อเริ่มต้นอาชีพ และระบบพี่เลี้ยงที่เสริมสร้างและเป็นเครื่องมือนำทางการเรียนรู้ของครูใหม่
บทที่ 4 มุ่งความสนใจไปที่แนวทางจัดการเรียนรู้ทางวิชาชีพและการพัฒนาองค์ความรู้ของครู การเรียนรู้ทางวิชาชีพเหล้านี้มักยึดโยงกับมาตรฐานการจัดการเรียนรู้ในรัฐหรือประเทศนั้น เช่นเดียวกับการเรียนรู้ของนักเรียนและการพัฒนาโรงเรียน โดยเราได้อภิปรายถึงแนวทางสนับสนุนการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่หลากหลาย อันประกอบด้วยการจัดสรรเวลาเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างครู การอบรม การให้คำแนะนำกันและกัน รวมถึงบทบาทของรัฐในการสร้างและสนับสนุนการเรียนรู้ดังกล่าว ตลอดจนแนวทางวิจารณ์และประเมินผลการปฏิบัติงานของครูที่สอดคล้องกับการพัฒนาทางวิชาชีพ
บทที่ 5 กล่าวถึงการออกแบบโครงสร้างการเติบโตในอาชีพครูการพัฒนาภาวะผู้นำทางการศึกษาและการบริหารจัดการ รวมถึงการสนับสนุนที่เหมาะสมแก่การพัฒนาภาวะผู้นำ และสถานะทุนมนุษย์ในระบบการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ของผู้นำเหล่านี้
บทที่ 6 วิเคราะห์การสร้างสรรค์วัตกรรมเพื่อพัฒนาการศึกษาระดับมหาภาค การออกแบบกลไกที่เสริมสร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
บทที่ 7 เราจะถอยกลับมาพิจารณาภาพรวมเพื่อวิเคราะห์การพัฒนานโยบายด้านการศึกษาในระดับนานาประเทศ โดยวิเคราะห์ว่าประเทศต่าง ๆ เริ่มพัฒนาและการเรียนรู้จากกรณีศึกษาต่าง ๆ ในโลกอย่างไรประเทศและรัฐเหล้านี้เห็นข้อบกพร่องของตนเมื่อใด วาดฝันและเดินทางสู่ความฝันนั้นจากจุดที่ตนยืนอย่างไร และเราได้สรุปเนื้อหาด้วยการรวบรวมบทเรียนที่ได้จากงานวิจัยนี้ เพื่อหาคำตอบว่าปัจจัยใดบ้างที่สำคัญและนำมาซึ่งการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และลักษณะร่วมใดบ้างอันเกิดจากระบบนโยบายเหล่านี้ที่นำไปสู่การจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ


 

Article Details

How to Cite
Duangchatom, K. (2021). Empowered Educators: How High-Performing Systems Shape Teaching . Journal of Education Rajabhat Maha Sarakham University, 18(2), 231–232. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edu-rmu/article/view/252573
Section
Book Review