การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสาระเศรษฐศาสตร์สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสาระเศรษฐศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2)เพื่อเปรียบเทียบความสามารถใน การแก้ปัญหา ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และ (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านม่วง จำนวน 10 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน จำนวน 7 แผน (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ (3) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา จำนวน 32 ข้อ สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า (1) ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.21/80.66 (2) ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อกำหนดเบื้องต้นที่ผู้นิพนธ์(ผู้ส่งบทความ) ควรทราบ
1. ผู้นิพนธ์ที่ประสงค์จะลงตีพิมพ์บทความกับวารสาร ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เป็นต้นไป ให้ใช้รูปแบบใหม่ (Template 2563) โดยสามารถดูตัวอย่างได้ที่เมนู GUIDELINES
2. จะตีพิมพ์และเผยแพร่ได้ ต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)
3. การประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) เป็นแบบ Double Blind
4. การอ้างอิงบทความใช้หลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) คลิก
5. บทความถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ ไม่ผ่านการประเมิน ผู้นิพนธ์ขอยกเลิกเองหรือชำระเงินก่อนได้รับการอนุมัติ ทางวารสารไม่มีนโยบายการคืนเงิน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. องค์การรับส่งสินค้าและ
พัสดุภัณฑ์.
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. (2560). รายงานผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ กลุ่มสาระ
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. โรงเรียนบ้านม่วง.
กฤษณุ ปะทานัง. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม แบบโส
เครติสเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชวัลกร วิทยพานิช. (2560). การศึกษาการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาโดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
วิชาเศรษฐศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6โรงเรียนอุบลวิทยาคมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 [ วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์ ]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ณัฏฐพร คุ้มครอง. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาเศรษฐศาสตร์
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัชนี เกษศิริ. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ที่
ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะอังพึง ประสงค์ ด้านใฝ่เรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศึกษานารี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์ ].มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิริพร จันลา. (2560).การพัฒนาการจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา .(2550). แนวทางการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กลุ่ม
ส่งเสริมนวัตกรรมการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาสำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนา การเรียนรู้.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.(2561).รายงานคะแนนผลการสอบทางการศึกษา
ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) . กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.(2542).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. โรงพิมพ์
คุรุสภา.
สมพร โตนวล. (2550). ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมให้แก่นักเรียนโรงเรียนสาธิต
มหาวิทยาลัยรามคำแหง. คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัย รามคำแหง.
เสงี่ยม โตรัตน์. (2546). การสอนเพื่อสร้างเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร.
(1), 26-37.
เอกกมล บุญยะผลานันท์. (2557).การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Barrows, H.S. & Tamblyn, R.M. 1980. Problem-Based Learning : An Approach to Medical Education. New York :
Springer.