The Development of learning management model in music on reading, writing, singing Thai and Western music notes Based on Dalcroze’s concept with active learning approach for Grade 9 students at Prasatwittayakarn High School.
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีเรื่องการอ่าน เขียน ร้องโน้ตไทย และโน้ตสากล ตามแนวคิดของดาลโครซร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนประสาทวิทยาคาร 2) ศึกษาผลการใช้การจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีเรื่องการอ่าน เขียน ร้องโน้ตไทยและโน้ตสากล ตามแนวคิดของดาลโครซร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนประสาทวิทยาคาร กลุ่มทดลองใช้การเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 60 คนแบ่งเป็น 2 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการอ่าน เขียน ร้องโน้ตไทย และโน้ตสากล ตามแนวคิดของดาลโครซร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก 2) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนเรื่องการอ่าน เขียน ร้องโน้ตไทยและโน้ตสากล 3) แบบวัดทักษะการปฏิบัติการอ่าน ร้องโน้ตไทยและโน้ตสากล นำข้อมูลมาวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้ความเข้าใจวิชาดนตรีเรื่องการอ่าน เขียน ร้องโน้ตไทย และโน้ตสากลของผู้เรียน หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ฯ มากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2) ทักษะการปฏิบัติดนตรี เรื่องการอ่าน ร้องโน้ตไทยและโน้ตสากลของผู้เรียน หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ฯ มากกว่าระหว่างเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีเรื่องการอ่าน เขียน ร้องโน้ตไทยและโน้ตสากล ตามแนวคิดของดาลโครซร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก สามารถทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในเรื่องการอ่าน เขียน ร้องโน้ตไทยและโน้ตสากลของผู้เรียนเพิ่มสูงขึ้น มีความรู้ความเข้าใจ รวมทั้งสามารถปฏิบัติทักษะทางดนตรีในการอ่าน ร้องโน้ตได้ดีขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อกำหนดเบื้องต้นที่ผู้นิพนธ์(ผู้ส่งบทความ) ควรทราบ
1. ผู้นิพนธ์ที่ประสงค์จะลงตีพิมพ์บทความกับวารสาร ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เป็นต้นไป ให้ใช้รูปแบบใหม่ (Template 2563) โดยสามารถดูตัวอย่างได้ที่เมนู GUIDELINES
2. จะตีพิมพ์และเผยแพร่ได้ ต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)
3. การประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) เป็นแบบ Double Blind
4. การอ้างอิงบทความใช้หลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) คลิก
5. บทความถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ ไม่ผ่านการประเมิน ผู้นิพนธ์ขอยกเลิกเองหรือชำระเงินก่อนได้รับการอนุมัติ ทางวารสารไม่มีนโยบายการคืนเงิน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:
กระทรวงศึกษาธิการ
กลัญญู เพชราภรณ์. (2561). เอกสารประกอบการสอน บทที่ 5 ทฤษฎีการเรียนรู้.
http://www.eledu.ssru.ac.th/kalanyoo_pe/mod/resource/ view.php?id=122
จันทรา แซ่ลิ่ว. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (ACTIVE LEARNING) ในรายวิชาการพัฒนาทักษะการคิดสาหรับ
เด็กปฐมวัย. ทุนสนับสนุนการวิจัยจากกองทุนคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ชยุติ ทัศนวงศ์วรา และธนรัฐ อยู่สุขเจริญ. (2563). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานดนตรี1. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์เอมพันธ์.
ชยุติ ทัศนวงศ์วรา, ธนรัฐ อยู่สุขเจริญ, สุรศักดิ์ จำนงค์สาร, และจตุพร สีม่วง. (บรรณาธิการ). (2562). ดนตรี 1.
พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เอมพันธ์
ณัฐวดี ธาตุดี. (2561). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning). [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต].
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธิติ ปัญญาอินทร์. (2553). การจัดการเรียนการสอนวิชาทฤษฎีดนตรีสากลของครูผู้สอนดนตรี ในโรงเรียนมัธยม
จังหวัดบุรีรัมย์. ทุนวิจัยอิสระจากสถาบันวิจัยและพัฒนา สาขาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏบุรีรัมย์.
นรรัชต์ ฝันเชียร. (2562). อะไรคือการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning : PBL).
https://www.trueplookpanya.com/blog/content/77414/-teaartedu-teaart-teamet-#:~:textธ.ค.2062การ
จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน%20(Problem,ความรู้เป็นตัวนำ %20คือ
ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์. (2547). ความสำคัญของการฝึกโสตประสาททางดนตรี. วารสารศิลปกรรมศาสตร์
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(2), 45-51.
ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์. (2557). การศึกษาเพื่อสร้างชุดการสอนคีย์บอร์ดเบื้องต้นโดยใช้วิธีการของโคดาย.
วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 16(1), 68-79.
ฟาตีฮะห์ อุตส่าห์ราชการ. (2558). รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพื่อพัฒนาแนวคิดเชิง
วิทยาศาสตร์ เรื่อง คลื่นไหวสะเทือน. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2553). คู่มือระบบการจัดการเรียนการสอนที่ยืดผู้เรียน
เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์เทียนวัฒนาพริ้นท์ติ้ง.
http://acad.vru.ac.th/pdf-handbook/Hand_Teacher.pdf
เมธาวี นิยมสุข. (2562). การจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีสากลตามแนวคิดของดาลโครซเพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติทาง
ดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
วราภรณ์ ศรีวิโรจน์. (2559). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 1022230 หลักการจัดการเรียนรู้.
http://edu.pbru.ac.th/e-media/08.pdf
วาสนา สาระจันทร์. (2561). การจัดการเรียนรู้วิชาดนตรี ตามแนวคิดของคาร์ออร์ฟร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหา
เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติทางดนตรีและทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วีรยุทธ พลายเล็ก. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด Active Learning เพื่อเสริมสร้างทักษะ
และกระบวนการและจิตคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สราวุฒิ สุจิตจร. (2545). การวิเคราะห์เสียงดนตรีไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครราชสีมา: โรงพิมพ์เลิศศิลป์.
สิชฌน์เศก ย่านเดิม. (2558). แนวคิดทฤษฎีการสอนดนตรี. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
, 19(2), 21-31.
สิทธิพร ชุลีธรรม, ณัฐวุฒิ ช่วยเอื้อ และดวงตา อินทรนาค. (2563). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการจัดการเรียน
การสอนระหว่างการใช้การเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้นวัตกรรมการสอน Google Classroom
กับการเรียนการสอนแบบปกติ (Passive Learning) กรณีศึกษาการจัดการเรียนการสอนรายวิชา
ประวัติศาสตร์ไทย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ คณะสังคมศาสตร์และ
มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 7(2), 203-220.
สุมิตตา พูลสุขเสริม. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบ
เชิงรุก (Active Learning) ของผู้เรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 3 สาขาวิชาการตลาด วิทยาลัย
อาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ฯ. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระ
อุปถัมภ์ฯ.
อรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ และชนันญา น้อยสันเทียะ. (2564). ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ หรือ Experiential
Learning Theory (ELT). https://www.lifeeducation.in.th/positive-education/
Akinoğlu, O., & Tandoğan, R. Ö. (2007). The Effects of Problem-Based Active Learning in Science
Education on Student’s Academic Achievement, Attitude and Concept Learning. Eurasia Journal of
/mathematic, Science & Technology Education, 3(1), 71-81.
Azu Farhana and Md Jais. (2021). Infusing dalcroze eurhythmics in improving singing skills among primary
school students. QUANTUM JOURNAL OF SOCIAL SCIENCES AND HUMANITIES, 2(1), 24-38.
Cat E. Bolido. (2017). Life Learning is Forever. https://eds103site.wordpress.com/2017/06/29/module-1-theories-
of-learning/
Christou, C., et al. (2007). Developing an Active Learning Environment for the Learning of stereometry.
International Conference on technology and Mathematics Teaching (ICTMT8), Hradec kralove.
Connie Malamed. (2016). 10 Definitions of Learning. http://theelearningcoach.com/learning/10-definitions-
learning/
Dennis Ping-Cheng Wang. (2008). The quantifying analysis of effectiveness of music learning through the
Dalcroze musical method. US-China Education Review, 5(9), 32-41.
Pille Kährik, Äli Leijena andTuulike Kivestu, (2012). Developing music listening skills using active learning
methods in secondary education. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 45, 206-215.
Sue Johnston-Wilder, Clare Lee and David Pimm. (2017). Learning to teach mathematics in the secondary
school. 4th Edition. New York: British Library Cataloguing in Publication Data