การส่งเสริมความสามารถการคิดเชิงคำนวณโดยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน กับการใช้โครงงานเป็นฐาน รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนผดุงนารี

Main Article Content

กัญญาพัชร ยอดกลาง
ทรงศักดิ์ สองสนิท
วณิชา สาคร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติการส่งเสริมความสามารถการคิดเชิงคำนวณ
โดยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนผดุงนารี 2) เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการคิดเชิงคำนวณของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 41 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้หลักการวิจัยแบบปฏิบัติการ เครื่องมือใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ผสมผสานด้วยแบบโครงงานเป็นฐาน จำนวน 2 แผน (2) แบบวัดความสามารถการคิดเชิงคำนวณ จำนวน 8 ข้อ  (3) แบบวัดความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้ผสมผสานด้วยแบบโครงงานเป็นฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การวิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สรุป และรายงานผลในรูปแบบบรรยาย และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเน้นผู้เรียนจำลองสถานการณ์จริงลงมือทำอย่างเป็นขั้นตอน ค้นคว้าหาคำตอบที่สงสัยด้วยเทคนิคที่หลากหลาย (2) ผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ผสมผสานด้วยแบบโครงงานเป็นฐาน มีความสามารถการคิดเชิงคำนวณอยู่ในระดับดี (  = 26.78, S.D. = 9.46) และ (3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ผสมผสานด้วยแบบโครงงานเป็นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 3.55, S.D. = 0.31)

Article Details

How to Cite
ยอดกลาง ก. ., สองสนิท ท., & สาคร ว. (2022). การส่งเสริมความสามารถการคิดเชิงคำนวณโดยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน กับการใช้โครงงานเป็นฐาน รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนผดุงนารี. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 19(2), 42–51. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edu-rmu/article/view/258600
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กระทรวงศึกษาธิการ ชีวิน ตินนังวัฒนะ. (2555). ผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) เรื่อง อาหารและสา ราหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์.วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(2), 89-96. ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน และเฉลิมขวัญ สิงห์หวี. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ด้วยการนำตนเอง. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, 46(1), 218-253. ธีรวดี ถังคบุตร. (2561).การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนผสมผสานด้วยการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานเพื่อ เพิ่มพูนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนิสิตปริญญาบัณฑิต. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(1), 62-69. ลัดดา ภู่เกียรติ. (2544). โครงงานเพื่อการเรียนรู้หลักการและแนวทางการจัดกิจกรรม .คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. วรรนิสา หนูช่วย. (2561). รูปแบบการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการรู้ สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. The Chulalongkorn

University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61406.

เศณวี ฤกษ์มงคล. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยี การศึกษา. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราซมงคลครั้งที่ 9 และการประชุมวิซาการนานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลครั้งที่ 8. สาขามนุษยศาสตร์ สังคมวิทยาและการศึกษา, (น. 838 – 853). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. แพง ชินพงศ์. (2557, 19 กุมพาพันธ์). 7 ทักษะที่เด็กนักเรียนยุคไอทีขาดหายไป. Mgronline.

https://mgronline.com/qol/detail/9570000019590.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง

ประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 (1 ed.). บริษัท พริกหวานกราฟิค จำกัด. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย จำกัด. สุวัฒน์ นิยมไทย. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาชีพแบบผสมผสาน โดยใช้โครงงานเป็นฐานใน สถานประกอบการเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานและการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ช่างอุตสาหกรรม [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21341.

Bender, W. N. (2012). Project-Based Learning: Differentiating Instruction for the 21st Century. California: Corwin a Sage Company.