สอนนาค-สอนฑิต : ชีวิตพระ-ชีวิตชาวพุทธ

Authors

  • Pharsamu Saiyan Visarado Mahachulalongkornrajavidyalaya University Khonkaen Campus, Thailand
  • Phramaha Mit Thitapanyo Mahachulalongkornrajavidyalaya University Khonkaen Campus, Thailand

Abstract

     หนังสือ เรื่อง “สอนนาค-สอนฑิต : ชีวิตพระ-ชีวิตชาวพุทธ” พระพรหมคุณาภรณ์ นามเดิม ประยุทธ์ อารยางกูร ฉายา ปยุตฺโต หรือ ที่รู้จักกันดีทั่วไปในนามปากกา “ป. อ. ปยุตฺโต” ขณะที่แต่งหนังสือ เรื่อง “สอนนาค-สอนฑิต : ชีวิตพระ-ชีวิตชาวพุทธ” ท่านได้อธิบายถึงเป้าหมายการอุปสมบทที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์ เพื่อเข้าสู่ความหลุดพ้น จึงเป็นการอุปสมบทที่บริสุทธิ์ ต่อมาเมื่อมีคนเข้ามาอุปสมบทมากขึ้น และพระพุทธศาสนาได้แผ่ขยายไปอย่างกว้างขวาง พระองค์ก็ทรงมอบให้พระสงฆ์ที่มีวัตรปฏิบัติงดงามสามารถเป็นพระอุปัชฌาย์แทนพระองค์ได้ แต่เป้าหมายของการอุปสมบทก็ยังอยู่ที่การปฏิบัติพัฒนาจิตเพื่อยกระดับให้พ้นจากกิเลสตัณหา เข้าสู่พระนิพพาน เป็นการขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์การอุปสมบทได้สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคม ด้านความเป็นอยู่ ค่านิยมแบบแผนทางวัฒนธรรมและชีวิตของสังคมในสมัยพุทธกาล
     สำหรับหนังสือเล่มนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะชี้ให้พุทธบริษัทและบุคคลทั่วไปได้เข้าใจความสำคัญของการอุปสมบทดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความประสงค์ที่จะศึกษาวิธีการและองค์ประกอบของการอุปสมบทที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ในพระไตรปิฎกซึ่งเป็นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาน่าเชื่อถือมากที่สุดเพื่อนามาศึกษาการอุปสมบทในปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับค่านิยมและวัฒนธรรมของสังคมไทย โดยจะศึกษากรณีการอุปสมบทของสาธุชนคนทั่วไป ที่ยังไม่เข้าใจเพราะจากปรากฏการณ์ของสังคมในเรื่องของการอุปสมบท ซึ่งพุทธศาสนิกชนทั้งหลายยังปฏิบัติตนไม่ถูกต้องตามพุทธประสงค์หลายประการ เช่น การอุปสมบทเข้ามาแล้วปฏิบัติตนไม่เหมาะสมกับสารูปกับการเป็นพระ ไม่ปฏิบัติตามหลักวินัยของสงฆ์ จึงเป็นอันตรายต่อพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่งและยังมีองค์ประกอบมากมายเพื่อศึกษาสาเหตุที่เป็นอันตรายต่อการอุปสมบทในพระไตรปิฎกแล้วนำความรู้ที่ได้มาเผยแผ่แก่สังคมปัจจุบันเพื่อให้ปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามพุทธพจน์และได้รับอานิสงส์ตามแนวทางพระพุทธศาสนาและบุคคลทั่วไปจะได้รับรู้ในการอุปสมบทตามหลักของพระพุทธศาสนาสืบต่อไป

References

ประพัฒน์ ตรีณรงค์. (2513). พิธีต่างๆ และพุทธาภิเษก. กรุงเทพฯ: เอเชียการพิมพ์.

พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต). (2553). สอนนาค สอนทิต ชีวิตพระ ชีวิตชาวพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวยจำกัด.

พระโสภณคณาภรณ์ (เจริญ สุวฑฺฒโน ป. 9). การบวช. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

พุทธทาสภิกขุ. (2537). คำสอนผู้บวช ภาค 1. กรุงเทพฯ: สมชายการพิมพ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาวโรรส. (2542). การบวชในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหามกุฏราชวิทยาลัย.

Bunnag, Jane.(1970). Monk-Layman Interaction in Central Thai Society. From in Memoriam Phya Anuman Rajadhon. The Siam Society.

Downloads

Published

2020-12-30

How to Cite

Visarado, P. S. ., & Thitapanyo, P. M. . (2020). สอนนาค-สอนฑิต : ชีวิตพระ-ชีวิตชาวพุทธ. Journal of Buddhist Education and Research (Online), 6(2), 407–415. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/245795

Issue

Section

Review Article