STRATEGIC LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS AFFECTING THE EFFECTIVENESS OF SCHOOLS UNDER UDON THANI SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE

Authors

  • Suchawalee Thongpoyai North Eastern University, Thailand
  • Niyada Piampuchana North Eastern University, Thailand

Keywords:

ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์, ประสิทธิผลของสถานศึกษา

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา 4) เพื่อศึกษาตัวแปรทำนายภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 356 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง 0.94 สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการกำหนดทิศทางกลยุทธ์มีการปฏิบัติสูงสุด รองลงมาคือ การกำหนดทิศทางขององค์การ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และการควบคุมและประเมินกลยุทธ์ตามลำดับ
  2. ประสิทธิผลของสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านความสามารถในการแก้ปัญหาภายในโรงเรียนมีการปฏิบัติสูงสุด รองลงมาคือ ความสามารถในการพัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติทางบวกการผลิตนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง และความสามารถในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาสถานศึกษาตามลำดับ
  3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับประสิทธิผลของสถานศึกษา ทุกด้านมีความสัมพันธ์กันในทางบวก การควบคุมและประเมินกลยุทธ์ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ การกำหนดทิศทางขององค์การ มีความสัมพันธ์ในระดับสูง
  4. ตัวแปรทำนายศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา คือ ด้านการควบคุมและประเมินกลยุทธ์ ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.972 มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ร้อยละ 94.50

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คชาภรณ์ เสริมศรี. (2557). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธนาภรณ์ อรรคฮาต. (2562). รายงานประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี. อุดรธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี.

นันท์นภัส สุทธิการ. (2562). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

มัทนิตา คงช่วย. (2563). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2563). รายงานประจำปี 2563. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานยุทธศาสตร์และทรัพยากรบุคคล.

Hoy, A. W. and Miskel, C. G. (2008). Educational Administration: Theory Research and Practice. New York: McGraw -Hill.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (Third edition). New York: Harper and Row Publication.

Downloads

Published

2023-03-31

How to Cite

Thongpoyai, S. ., & Piampuchana, N. . (2023). STRATEGIC LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS AFFECTING THE EFFECTIVENESS OF SCHOOLS UNDER UDON THANI SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE. Journal of Buddhist Education and Research (JBER), 9(1), 1–14. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/263398

Issue

Section

Research Article