กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
THE LEARNING PROCESS IS STUDENT-CENTERED
Keywords:
กระบวนการ; การเรียนรู้; เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญAbstract
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การจัดการศึกษาที่ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด เป็นกระบวนการจัดการศึกษาที่ต้องเน้นผู้เรียนให้แสวงหาความรู้ และพัฒนาความรู้ได้ด้วยตนเองหรือรวมทั้งมีการฝึกและปฏิบัติในสภาพจริงของการทำงานมีการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับสังคมและการประยุกต์ใช้ มีการจัดกิจกรรมและกระบวนการให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมิน และสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ซึ่งผู้เขียนได้นำเสนอในประเด็นดังนี้ ความจำเป็นในการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แนวคิดและหลักการการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แนวทางในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ขั้นตอนกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ประโยชน์การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กลยุทธ์ในการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งการสอนโดยเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญจะช่วยพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ทั้งด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติ (ลักษณะนิสัย) และทั้งด้าน IQ (Intelligence Quotient) และด้าน EQ (Emotional Quotient) ซึ่งจะนำไปสู่ความเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุขตามเป้าหมายการจัดการศึกษาในปัจจุบัน
This academic article aims to present Learner-centered learning process The learner-centered learning process means the education management that considers the learners the most important. It is an educational management process that must focus on learners to seek knowledge. and develop knowledge by oneself or including training and practice in real working situations, linking what is learned to society and its application There are activities and processes for learners to think, analyze, synthesize, evaluate and create things. which the author has presented in the following issues The need for student-centered learning management concepts and principles of student-centered learning management Guidelines for creating a student-centered learning management plan Learner-centered learning management process steps Benefits of learning management by focusing on students Strategies for student-centered learning management and a learning management style that emphasizes student focus The teaching that focuses on the students is important to help develop the students in all aspects. both physically, emotionally, socially, intellectually, both in terms of knowledge, skills and attitudes (characteristics) and in both IQ (Intelligence Quotient) and EQ (Emotional Quotient) aspects, which will lead to being smart, good and happy according to the goals current education
References
กมล ภู่ประเสริฐ. (2544). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : ทิปส์พับบลิเคชั่น.
กรมวิชาการ. (2544).กลวิธีจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับวิธีการเรียน (Learning style). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพราว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). คู่มือการพัฒนาโรงเรียนเข้าสู่มาตรฐานการศึกษา การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
_______. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
_______. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด,
ทิศนา แขมมณี. (2542). “การจัดการเรียนการสอนโดยยึดครูเป็นศูนย์กลาง: โมเดลซิปปา (CIPPA Model).” วารสารวิชาการ, 3(5) : 25
ประเวศ วะสี. (2549). ทฤษฏีกระบวนการทางปัญญา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
พิมพ์พันธ์ เตชะคุปค์. (2544). กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.
ลักฃณา สรีวัฒน์. (2554). จิตวิทยาในขั้นเรียน (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 3. มหาสารคาม : ธนภรณ์การพิมพ์.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2545). เทคนิคและกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิก.
วิระเดช เชื้อนาม. (2545). “การจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางคืออะไร.” วารสารวิชาการ. 5(2) : 2-4.
สุภรณ์ สภาพงค์. (2545). “การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด.” วารสารวิชาการ. 5(3): 31-32.
สุวิทย์ มูลคำ. (2544). เรียนรู้สู่ครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : ที. พี. พริ้น.