ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในสถานศึกษาเอกชนสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

อมรินทร์ ใจเปรียว
จิรวัฒน์ วรุณโรจน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวัฒนธรรมองค์การในสถานศึกษาเอกชน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น 2) ศึกษาการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษาเอกชน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 217 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตรฐานประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายโดยใช้วิธีของเพียร์สัน (Peason’s Simple Correlation)


ผลการวิจัย พบว่า


1.วัฒนธรรมองค์การในสถานศึกษาเอกชน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุดคือ ด้านความมีคุณภาพ รองลงมาคือ ด้านความซื่อสัตย์และสุจริต ส่วนด้านที่มีระดับต่ำสุดคือ ด้านความเป็นส่วนหนึ่งของสถานศึกษา


2.การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาเอกชน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุดคือ ด้านชุมชนกัลยาณมิตร รองลงมาคือ ด้านการมีภาวะผู้นำ ส่วนด้านที่มีระดับการปฏิบัติต่ำสุดคือ ด้านการเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจ


3.ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษาเอกชน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในทิศทางบวก และมีความสัมพันธ์กันระดับน้อย         


 

Article Details

บท
Research Article

References

กิตติ กสิณธารา. (2560). การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2562. จาก https://www.gotoknow.org/posts/posts/643914.

เจษฎาภรณ์ สีสุริยา. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 9(2): 484-494

ชุลีพร เกลี้ยงส่ง. (2558). กลยุทธ์การพัฒนาวัฒนธรรมองค์การเพื่อส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 5(1): 86-98.

นพรัตน์ แบบกัน. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนบางบ่อวิทยาคม : สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. งานนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญญาพร มหาฤทธิ์ และ จิรวัฒน์ วรุณโรจน์. (2562). ความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและระดับนานาชาติ ครั้งที่ 7. The 7th National and International Conference 2019 (CASNIC 2019). วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย.

ปวีณา เจริญภูมิ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วนิษา สายหยุด. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับองค์กรแห่งการเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยาเขต 1. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพะเยา.

สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. (2563). ศึกษาข้อมูลเพื่อเป็นศูนย์รวมวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนด้านการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประสานงาน กับกระทรวงศึกษาธิการและการพัฒนาวิทยาลัยอาชีศึกษาเอกชนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2562. จาก http://www.pvet.or.th/data.php?mtype_id1and_id=3.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2563). แนวทางการขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC). สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2562. จากhttp://www.kiec.ac.th/th/manage/upload_file/KQ14FwTOYIQ20180525125450.pdf

สุรีวัลย์ แก้วไชยะ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา : สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเลย. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

Davis Hiflich.(1998).Organization Culture and the Classroom Integration of Computer – Mediated. Paper Presented at the Annual Meeting about Society for Information Technology & Teacher Education International Conference.

Ritthirong, S. (2014). Organization Culture of Schools in Patum Primary Educational Service Area. A Thesis for the Degree of Master of Education Program. Graduate Schools : Songkhla Rajabhat University.

Senge, P. (1990). The Fifth Discipline: The art & Practice of the learning organization. London: Century Business.

Van Maanen, J. and Schein, E.H. (1979). Toward of Theory of Organizational Socialization. Research in Organizational Behavior, 1: 209-264.