แนวทางการบริหารกิจการนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5

Main Article Content

ธิดาแก้ว แสงสุทธิ
จิรวัฒน์ วรุณโรจน์

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางในการบริหารกิจการนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารกิจการนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบงานแนะแนวสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 5 จำนวน 329 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารกิจการนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ดัชนีความต้องการจำเป็น ขั้นที่ 2 การศึกษาแนวทางบริหารกิจการนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 3 โรงเรียน รวมทั้งหมด 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์รายบุคคล และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า 


  1. ความต้องการจำเป็นของการบริหารกิจการนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 โดยเรียงตามลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย คือ ด้านงานแนะแนว ด้านงานกิจกรรมนักเรียน ด้านงานปกครอง และด้านงานสวัสดิการนักเรียน

  2. แนวทางการบริหารกิจการนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านงานแนะแนว 2) ด้านกิจกรรมนักเรียน 3) ด้านงานปกครอง 4) ด้านงานสวัสดิการนักเรียน

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560 – 2564. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563 จาก http://tpso4.m-society.go.th/index.php/th/tpso-news/2017-05-16-15-16-07/255-2-2560-2564

พิมพ์ผกา โพธิจันทร์, นิพนธ์ วรรณเวช และ สาโรจน์ เผ่าวงศากุล (2564) เรื่อง การบริหารงานกิจการนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(11): 79-91.

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563 จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th › 2560.

รุจิรา ปั้นงา. (2548). สภาพปัญหาการบริหารงานกิจการนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาที่เป็นของรัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563 จาก http://academic.obec.go.th › images › document

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563 จากhttps://www.pcccr.ac.th/filesAttach/OIT/O3/1.pdf

อภิญญา รู้ธรรม. (2556). การบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

อาทิตยา เวชกรณ์. (2559). แนวทางการบริหารงานกิจการนักเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3 rd ed). Tokyo: Harper.