การเปลี่ยนผ่านด้วยดิจิทัล: แพลตฟอร์มการเรียนรู้ดิจิทัลแห่งชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
เทคโนโลยีที่สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิงและรวดเร็ว (Disruptive Technology) ส่งผล กระทบครอบคลุมทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และวิถีชีวิตของประชากรทั่วโลก ประจวบกับสถานการณ์โรคระบาดได้เร่งกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันและสิ้นเชิง เทคโนโลยีที่สร้างความผันแปรอย่างมากในโลกการศึกษาการเรียนรู้ ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร WiFi 5G การสื่อสารในมิติเสมือนจริง เทคโนโลยีเสริมความเป็นจริง ตลอดไปจนถึงการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) การเรียนรู้ของเครื่องจักรกล (Machine Learning) และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านี้เปิดโอกาสให้บุคคลเรียนรู้ ได้ตลอดเวลา และสามารถสื่อสารเผยแพร่ความรู้ ความชำนาญของตนได้อย่างกว้างขวางจากทุกมุมของโลก ทำให้เกิดเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และเมื่อมีการเก็บ คำนวณวิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอด้วยปัญญาประดิษฐ์ ยิ่งทำให้การเลือกใช้เลือกรับความรู้ตรงกับความต้องการ ณ สถานที่ และในเวลาที่ประสงค์อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ การสื่อสารของบุคคลที่ข้ามเวลาและข้ามการจำกัดของสภาพพื้นที่ทางกายภาพจากทั่วโลกก่อเกิดจำลองเป็นสังคมเสมือน และด้วยศักยภาพจากเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมที่เป็นดิจิทัลเช่นนี้ สร้างโอกาสทางการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้บุคคลสามารถต่อยอดสร้างสรรค์ความรู้และนวัตกรรมอย่างไม่เคยมีมาก่อน นโยบายการศึกษาของประเทศไทยจึงมุ่งเป้าหมายการพัฒนาประชากรของประเทศด้วยกลไกการศึกษาตลอดชีวิตอย่างเท่าเทียมอันส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียน ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ และไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกบทความเพื่อใช้ประโยชน์ทางวิชาการ แต่ให้อ้างอิงข้อมูลแสดงที่มาของบทความทุกครั้งที่นำไปใช้ประโยชน์
References
Anderson, L.W. & Krathwohl, D.R. (2001). A taxonomy for teaching, learning, and assessing: A revision of Bloom’s taxonomy of educational objectives. New York, NY: Longman.
Chatti, M.A., Dyckhoff, A.L., Schroeder, U. & Thüs, H. (2012). A reference model for learning analytics. International Journal of Technology Enhanced Learning 4(5-6), 318-331.
DQ Institute (2017, August). Digital Intelligence (DQ): A Conceptual Framework & Methodology for Teaching and Measuring Digital Citizenship. DQ Institute. Retrieved from https://www.dqinstitute.org/wp-content/uploads/2017/08/DQ-Framework-White-Paper-Ver1-31Aug17.pdf
Independent Committee for Education Reform, Office of the Education Council. (2020, 28 February). A Commission Report on Thailand Education Reform. Retrieved from http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1734-file.pdf [in Thai]
Katharine, R., & Jo, P. (2018). Digital literacy unpacked. Digital literacy unpacked. London: Facet Publishing.
Kurt, S. (2019). TPACK: Technological Pedagogical Content Knowledge Framework. Retrieved from https://educationaltechnology.net/technological-pedagogical-content-knowledge-tpack-framework/
Na-Songkhla, J., & Sujiva, S. (2018, 29 January). National Digital Education Platform: Transforming Digital Learning. The National Assembly Radio and Television Broadcasting Station. [in Thai]
Office of the Education Council, Ministry of Education. (2017). Thailand Education Scheme (2017-2036). Bangkok: Prigwhan Graphic. [in Thai]
Puentedura, R. R. (2013, May 29). SAMR: Moving from enhancement to transformation [Web log message]. Retrieved from http://www.hippasus.com/rrpweblog/archives/000095.html