ผลของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติต่อการพัฒนาทักษะการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาปริญญาตรีสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนแบบฝึกปฏิบัติให้เกิดทักษะการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษา โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาที่เรียนรายวิชาจุลินทรีย์สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 22 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 10 คน และปีการศึกษา 2563 จำนวน 10 คน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการฝึกปฏิบัติเพื่อเพิ่มทักษะการใช้เครื่องมือเป็นระยะเวลา 2 เดือน หลังจากการประเมินตนเองของนักศึกษาโดยใช้แบบสอบถามเพื่อการประเมินตนเอง พบว่าก่อนเรียนนักศึกษาประเมินตนเองว่ามีความรู้ทางจุลชีววิทยาพื้นฐาน และหลังเรียนนักศึกษาประเมินตนเองว่ามีการพัฒนาทักษะการใช้เครื่องมือและความเข้าใจในเนื้อหาเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับปานกลางจนถึงมากที่สุด ซึ่งนำไปสู่การจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาในรูปแบบกิจกรรมอื่น ๆ ในระยะเวลาอีก 2 เดือนของภาคการศึกษา เช่น การไปเยี่ยมชมดูงานหน่วยงานทางจุลชีววิทยา การเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีการศึกษาต่าง ๆ การทดสอบทักษะการใช้เครื่องมือและความเข้าใจในเนื้อหาของนักศึกษาเป็นรายบุคคล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียน ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ และไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกบทความเพื่อใช้ประโยชน์ทางวิชาการ แต่ให้อ้างอิงข้อมูลแสดงที่มาของบทความทุกครั้งที่นำไปใช้ประโยชน์
References
Dowloh, L. (2016). Effect of project-based learning on biology achievement, scientific process skills and attitude towards science of grade 11 students (Master’s thesis, Prince of Songkla University, Songkla, Thailand). Retrieved from https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/11789/1/TC1457.pdf [in Thai]
Kittiwarakul, S. (2008). Feature writing skill-development by participatory action research in learning process for under graduated students. Journal of Rangsit University: Teaching & Learning, 2(1), 63-81. [in Thai]
Pornputtichai, S. (2008). Effects of science project subject teaching using simplex technique on science learning achievement, science process skills, attitude toward science and creative thinking of primary school students (Doctoral dissertation, Chulalongkorn University, Thailand). Retrieved from http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32451 [in Thai]
Rapeepisarn, K. (2019). The development of teaching model by game-problem-project based learning-GPP on ITE495: seminar in information technology for the 4th year students, department of information technology, college of information communication technology, Rangsit University. Journal of Rangsit University: Teaching & Learning, 13(2), 15-30. [in Thai]
Thamrongsinthaworn, S. (2015) Classroom action research: student’s learning intention in classroom and global marketing comprehension in classroom by employing case studies in global marketing class for marketing students, Burapha University. Burapha journal of Business Management, 4(2), 69-81. [in Thai]
Wittanalai, S. (2013). A study of the relationship between score accumulation sheets and academic achievement of students in food microbiology (Research report). Uttaradit: Uttaradit Rajabhat University. [in Thai]