การประยุกต์ใช้แนวคิด DISC ในการขับเคลื่อนการบริหารงานภายในสถานศึกษา

Main Article Content

นวรัตน์ ไวชมภู
นิรันดร์ จุลทรัพย์
กิตติพร เนาว์สุวรรณ

บทคัดย่อ

การรู้เท่าทันบุคลิกภาพของผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชานั้นมีความสำคัญยิ่งสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา เนื่องจากผู้บริหารสถานศึกษาเปรียบเสมือนดวงไฟที่ส่องแสงสร้างความสว่างรุ่งเรืองให้กับสถานศึกษา ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาควรรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับบุคลิกภาพของผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนำมาประยุกต์ต่อยอดในการขับเคลื่อนการดำเนินงานภายในสถานศึกษาให้เหมาะสมตามบุคลิกภาพของปัจเจกบุคคล โดยมุ่งเน้นให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ของสถานศึกษา เพราะการรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับบุคลิกภาพของผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นจุดเริ่มต้นของขับเคลื่อนงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด โดยการใช้คนให้เหมาะสมกับงานตามบุคลิกภาพ ซึ่งเครื่องมือในการประเมินบุคลิกภาพนั้นมีอยู่มากมายและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม โดย DISC เป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการประเมินบุคลิกภาพรวมทั้งช่วยให้เข้าใจผู้ร่วมงาน หรือผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งบทความนี้ได้วิเคราะห์และสังเคราะห์แนวทางการประยุกต์ใช้ DISC ซึ่งประกอบด้วย บุคลิกภาพมุ่งมั่น บุคลิกภาพมุ่งเน้นสังคม บุคลิกภาพผู้ฟังที่ดี และบุคลิกภาพเจ้าระเบียบ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการมอบหมายงานและขับเคลื่อนการบริหารงานภายในสถานศึกษา

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Ahmad, N., & Siddique, J. (2017). Personality assessment using twitter tweets. Procedia Computer Science, 112, 1964-1973. doi:10.1016/j.procs.2017.08.067

Akkharungrueng, K. (2013). Human behavior based on disc theory. Retrieved from http://narrativehrd.blogspot.com/2016/12/disc.html [in Thai]

Office of the Civil Service Commission, (n.d.). Extended DISC with the Office of the Civil Service Commission, Honorable Mentions. Retrieved from https://info.muslimthaipost.com/article/10386. [in Thai]

Freeman, V. (2009). Blue & C - personality traits of leaders. International Journal of Educational Leadership Preparation, 4(1), 1-4.

Jirapaisankul, J. (2019). Personality that has an effect job characteristics requirement of generation Y employee (Master’s thesis, Mahidol University, Bangkok, Thailand) Retrieved from https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2937. [in Thai]

Jitbantao, T. (2017). Psychoanalytic theory of personality. Journal of Social Academic, 10(2), 275-285. [in Thai]

Kamchornviput, A., & Thasanasaengsoon, A. (2011). Development of personality evaluation model based on DISC model and career choice theory: a survey of self-choice in career choice theory for example, the Dutch self direct search and employee selection may be an effective person according to habitual thinking. Stephen Covey’s 7 Habits: a case study: Pacific 2000 International Recruitments Co., Ltd. (Master’s thesis). Retrieved from Thammasat University Digital Collections. (120236) [in Thai]

Laohavisut, S. (2015). Personality and relationship of staff as factor to enable organization success. Payap University Journal, 25(1), 1-14. [in Thai]

Ngamkachonkulkit, W. (2019). Understanding and accessing learners in the digital age with DISC Model. In Asst. Prof. Dr. Sirinthorn Sinjindawong (Ed.), Proceeding of Exhibition in Teaching & Learning 2019, (157-173). Sripatum University, Bangkok, Thailand. [in Thai]

Santiko, I., Prasetyo, A., & Sukisno, P. N. (2019). Implementation of psychotest system application selection of KKL STMIK participants in Purwokerto Amikom using DISC (Dominance-Influence-Steadiness-Compliance). Journal of Informatic Pelita Nusantara, 4(1), 14-18.