การวิจัยและพัฒนาการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 Research and development of learning experience management using STEM education Model to develop critical thinking skills for Pre-school children in Schools under Nongbualamphu Primary Educational Service Area Office 2
คำสำคัญ:
การจัดประสบการณ์เรียนรู้/ สะเต็มศึกษา/ ทักษะการคิดวิเคราะห์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา 4) เพื่อศึกษาผลการใช้การจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษาปฐมวัย จำนวน 10 คน ครูปฐมวัย จำนวน 80 คน และเด็กปฐมวัย ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 จำนวน 1,400 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา แบบวัดเจตคติของครู แบบประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิและ ครูปฐมวัยมีความต้องการการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากความเหมาะสมของการจัดประสบการณ์เรียนรู้ แบบสะเต็มศึกษา ซึ่งประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าเฉลี่ยรวมความเหมาะสมของการจัดประสบการณ์เรียนรู้ แบบสะเต็มศึกษา 3.87 ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของเด็กก่อนการทดลองทั้ง 5 ทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กิตติศักดิ์ เกตุนุติ. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (การศึกษาปฐมวัย) กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เกตุมณี เหมรา. (2558). การจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาเรื่องของดีเมืองร้อยเอ็ดเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2545). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2545 – 2559). กรุงเทพมหานคร : สกศ.
จิตรา พลสุธรรม. (2559). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อความหมายของเด็กปฐมวัย. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ปฐมวัยศึกษา) กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เบญจกาญจน์ ใส่ละม้าย. (2558). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่องอาชีพในท้องถิ่น จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เยาวพา เดชะคุปต์. (2548). วารสารการศึกษาปฐมวัย. 9(4) : 36 – 38.
วิจิตตรา จันทร์ศิริ. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
สิรินทร์ ลัดดากลม บุญเชิดชู. (2557). การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SSAPA เพื่อพัฒนาการกำกับตนเองของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุธิษณา โตธนายานนท์. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PRISA เพื่อส่งเสริมความซื่อสัตย์ของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
หอมสิน อุปแสน. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ HOMSIN Model เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ สำหรับเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อรสา สาคร. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ คม. (วิจัยและประเมินผลการศึกษา). นครสวรรค์ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.