กระบวนการบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กเพื่อรับรางวัลพระราชทาน The Administration and Management Processes of Small Education Schools to Receive the Royal Award
คำสำคัญ:
รางวัลพระราชทาน/ การบริหารจัดการ/ สถานศึกษาขนาดเล็กบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาความเข้าใจและการให้ความหมายของการบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กเพื่อรับรางวัลพระราชทาน 2) ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กเพื่อรับรางวัลพระราชทาน โดยผู้วิจัยได้เน้นศึกษาจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาในสถานศึกษาระดับประถมศึกษาขนาดเล็กที่เคยได้รับรางวัลพระราชทาน จำนวน 3 คน และ 2) ผู้ให้ข้อมูลรองจำนวน 31 คน ซึ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับสถานศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย 4 วิธีการหลัก ได้แก่ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสังเกตและการจดบันทึก โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวทางของไมลส์และฮูเบอร์แมน
ผลการวิจัย พบว่า การบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กเพื่อรับรางวัลพระราชทานเป็นวิธีการที่ทำให้บุคลากรเกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงาน และนำไปสู่ความสำเร็จในการยกระดับคุณภาพของสถานศึกษา อันประกอบไปด้วย 1) การมีวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ภายใต้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร 2) การมีระบบพัฒนาองค์กรให้เกิดประสิทธิผลสู่ความเป็นเลิศ 3) การจัดหาและพัฒนาสื่อเทคโนโลยีและการสื่อสาร 4) การขับเคลื่อนระบบการประกันคุณภาพภายในสู่การปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง และ 5) การจัดระบบข้อมูลและสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีแนวปฏิบัติที่ดี คือ การบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กเพื่อรับรางวัลพระราชทานควรเริ่มจากการมุ่งเน้นพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยการเสริมสร้าง ฝึกอบรม ประชุม สัมมนาถ่ายทอดประสบการณ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพเพิ่มขึ้น สามารถนำผลที่ได้จากการพัฒนาไปใช้ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการประเมิน สถานศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทานให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องยาวนานและประสบความสำเร็จจนเป็นแบบอย่างให้แก่สถานศึกษาอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี อันเป็นการสร้างคุณค่าและรักษาความดีให้สมศักดิ์ศรีรางวัลพระราชทานสืบไป
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.
________. (2563). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2563. จาก http://www.psdg.moe.go.th/ psdg61/images/2562/Sep/mail/1351.pdf
ขจรศักดิ์ เขียวน้อย; และคนอื่น ๆ. (2557, มกราคม). “กระบวนการถ่ายทอดทางสังคมเชิงอาชีพเสรีในกลุ่มอาเซียน: กรณีศึกษาวิชาชีพสถาปนิก,” วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. 6(1): 87-101.
งามตา วนินทานนท์. (2545). เอกสารคำสอนวิชา วป581 การถ่ายทอดทางสังคมกับพัฒนาการของมนุษย์. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นุชลี อุปภัย. (2556). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2554). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). คู่มือการประเมินสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทาน ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
________. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Erikson, E. H. (1964). Insight and responsibility. New York: Norton.
Litwin, G. H.; & Stringer, R. A. (1968). Motivation and Organization Climate. Boston: Harvard University.
Miles, M. B.; & Huberman, A. M. (1994). Qualitative Data Analysis. (2nd ed). Thousand Oaks,CA: Sage Publications.