แนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี The Guidelines for the implementation of quality assurance with in educational institutions under Singburi Primary Educational Service Area Office

ผู้แต่ง

  • สยาม สุ่มงาม (Siam Sumngam)

คำสำคัญ:

การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 2) เพื่อสร้างแนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และ 3) เพื่อตรวจสอบแนวทางทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R & D) มีขั้นตอนการวิจัย จำนวน 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี โดยใช้แหล่งข้อมูลบุคคลสำหรับตอบแบบสอบถาม คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการ ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้แทนผู้ปกครองนักเรียน กลุ่มละ 97 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 338 คน

ขั้นตอนที่ 2 สร้างแนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี โดยข้อมูลประกอบด้วย  1) เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา  2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี จากตอนที่ 1

ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบแนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ผู้ร่วมสนทนากลุ่มประกอบด้วย 1) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 1 คน  2) รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 3 คน  3) ศึกษานิเทศก์ จำนวน 3 คน  4) ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 3 คน  และ  5) ครูวิชาการ จำนวน 2 คน รวม 12 คน         

ผลการวิจัยพบว่า

ตอนที่ 1 ผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย

1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่าด้านระดับปฐมวัย เมื่อพิจารณาโดยภาพรวม การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา อยู่ในระดับ มากที่สุดมีค่าเฉลี่ย (µ) เท่ากับ 4.57 และด้านระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อพิจารณาโดยภาพรวม การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (µ) เท่ากับ 4.59

2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามความคิดเห็นของครูวิชาการ พบว่า ด้านระดับปฐมวัย เมื่อพิจารณาโดยภาพรวม การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา อยู่ในระดับ มากที่สุดมีค่าเฉลี่ย (µ) เท่ากับ 4.57 และด้านระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อพิจารณาโดยภาพรวม การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (µ) เท่ากับ 4.59

3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามความคิดเห็นของประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าด้านระดับปฐมวัย เมื่อพิจารณาโดยภาพรวม การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย (µ) เท่ากับ 4.59 และด้านระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อพิจารณาโดยภาพรวม การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (µ) เท่ากับ 4.60

4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามความคิดเห็นของผู้แทนผู้ปกครองนักเรียน พบว่า ด้านระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อพิจารณาโดยภาพรวม การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (µ) เท่ากับ 4.62

ตอนที่ 2 ผลการสร้างแนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี ประกอบด้วย 5 ด้าน ดังนี้

  1. โครงสร้างการบริหารงาน การดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

            แนวทางการดำเนินงานควรประกอบด้วย 2 ระดับ คือ ระดับอำนวยการ และระดับดำเนินงาน แต่ละระดับมีดังนี้

                   1.1 ระดับอำนวยการ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นประธาน รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ เป็นรองประธาน หัวหน้าฝ่ายบุคคล เป็นกรรมการ หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไปเป็นกรรมการ และหัวหน้าฝ่ายวัดและประเมินผล เป็นกรรมการและเลขานุการ

                    1.2 ระดับดำเนินงาน ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ เป็นรองประธาน ครูหัวหน้าฝ่าย/หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นกรรมการ หัวหน้าฝ่ายวัดและประเมินผล เป็นกรรมการและเลขานุการ  

       2. บุคลากรที่ดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ประกอบด้วย

           2.1 ผู้บริหารสถานศึกษา

           2.2 ครูผู้สอน/บุคลากรทางการศึกษา

       3. ภารกิจการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ประกอบด้วย 3.1 การวางแผนการดำเนินงาน3.2 การดำเนินงานตามแผน 3.3 การตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล 3.4 การปรับปรุง พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

       4. การเตรียมความพร้อมด้านอื่นๆ เพื่อดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้านเทคโนโลยีข้อมูลสารสนเทศ อาคารสถานที่ สื่อวัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณ และทรัพยากรต่างๆ

       5. การรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ต่อหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ตอนที่ 3 ผลการตรวจสอบแนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี ผลการวิเคราะห์ข้อมูลภาพรวมทั้ง 4 ด้าน คือ ความถูกต้อง ความเหมาะสมความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (µ) เท่ากับ 4.60

 

 

References

กรวัฒน์ ตันเจริญ. 2555. แนวทางการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ธีระวัฒน์ วรรณนุช. 2561. การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 หน้า 1.

ปียานันต์ บุญธิมา. 2561. การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนวัดห้วยม้าโก้ง ด้วยแนวคิดแบบไคเซ็น. โรงเรียนวัดห้วยม้าโก้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1.

เทวัน เงาะเศษ. 2560. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน มัธยมศึกษาในจังหวัดกระบี่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต13. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2560.

ละมุด รอดขวัญ. 2559. การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภาคใต้ตอนบน. วารสาร 2559 บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ปีที่ 9 ฉบับที่ 20 พฤษภาคม - สิงหาคม 2559.

สมหมาย สร้อยนาคพงษ์. 2555. การจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนระดับประถมศึกษา ของโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี. บทความวารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ฉบับที่ 6 ลำดับที่ 11.

สุพิชญา กลันนุรักษ์. 2559. การดําเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขนาดกลางในกลุ่มเกาะแก้ว สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 .การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุภัค พวงขจร. 2561. การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยวิธีการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences) 2018 : 11 (3).

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1. 2561. ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 ปีการศึกษา 2561.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. 2559. สภาพและแนวทางการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. บทความวิจัยวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559.

อำนวย มีศรี. 2555. องค์ประกอบที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-22