การพัฒนาสมรรถนะครูคอมพิวเตอร์ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ AIPDDONE The development of computer teacher competency in the use of information technology and communication in constructivist learning management with AIPDDONE supervision process

ผู้แต่ง

  • ปาริชาติ เภสัชชา (Parichat Pasetcha)

คำสำคัญ:

สมรรถนะครู/ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร/ การจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์/ กระบวนการนิเทศ

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูคอมพิวเตอร์ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ AIPDDONE กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง จากของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 20 คน ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 สร้างและพัฒนากระบวนการนิเทศ ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาสมรรถนะครูคอมพิวเตอร์ และขั้นตอนที่ 3 เพื่อศึกษาผลกระทบจากการพัฒนาสมรรถนะครูคอมพิวเตอร์ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ AIPDDONE มุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะครูคอมพิวเตอร์ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ (ICT Competency) 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสารสนเทศ (Information) ด้านไอซีที (ICT) และด้านเทคโนโลยี (Technology) เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในครั้งนี้ มี 2 ประเภท ได้แก่ 1) เครื่องมือที่เป็นนวัตกรรม ได้แก่ แนวทางการพัฒนาสมรรถนะ ชุดฝึกอบรมและชุดนิเทศ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะ แบบสังเกตการสอน แนวทางการสนทนากลุ่มครู แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัย พบว่า

1. กระบวนการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะครูคอมพิวเตอร์ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ คือกระบวนการนิเทศแบบ AIPDDONE ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การประเมินสมรรถนะ (Assessing : A) ขั้นที่ 2 การให้ความรู้ (Information : I) ขั้นที่ 3 การวางแผนการนิเทศการสอน (Planning : P) ขั้นที่ 4 การปฏิบัติการนิเทศการสอน (Doing : D) แบ่งวิธีการนิเทศออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 วิธีการนิเทศแบบชี้นำให้คำปรึกษา (Directive consulting approach : D) ใช้สำหรับครูคอมพิวเตอร์ที่มีผลการประเมินสมรรถนะในระดับน้อยและน้อยที่สุด กลุ่มที่ 2วิธีการนิเทศแบบร่วมมือ (Operation collaborative approach : O) ใช้สำหรับครูคอมพิวเตอร์ที่มีผลการประเมินสมรรถนะในระดับปานกลาง กลุ่มที่ 3 วิธีการนิเทศแบบชี้นำตนเอง (Non-directive and self-directed approach : N) ใช้สำหรับครูคอมพิวเตอร์ ที่มีผลการประเมินสมรรถนะในระดับมากและมากที่สุดและขั้นที่ 5 การประเมินผล (Evaluation : E)

2. ครูคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.61 เมื่อพิจารณาแตกต่างของค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการพัฒนาตามวิธีการนิเทศ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า วิธีการนิเทศแบบชี้นำ ให้คำปรึกษา ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการฝึกอบรมเท่ากับ 0.95 วิธีการนิเทศแบบร่วมมือ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการฝึกอบรมเท่ากับ 0.61 และวิธีการนิเทศแบบชี้นำตนเอง ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการฝึกอบรมเท่ากับ 0.27 และผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า ครูทุกคนสามารถนำความรู้ไปผลิตสื่อ แผนการจัดการเรียนรู้ สร้างชุมชนการเรียนรู้ร่วมกัน และมีสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์
ทั้ง 3 ด้าน

3. ผลกระทบทางบวกที่เกิดติดตามมาจากครูคอมพิวเตอร์ ได้แก่ การพัฒนาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน ความพึงพอใจในงาน การเป็นตัวแบบนวัตกรรม และการยอมรับจากภายนอก โดยมีเงื่อนไขความสำเร็จจากครู และจากผู้บริหารสถานศึกษา

4. ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูคอมพิวเตอร์ ที่มีต่อการพัฒนาสมรรถนะจากการเผยแพร่นวัตกรรมการนิเทศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้บริหารสถานศึกษาได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 ครูคอมพิวเตอร์ ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69

 

References

วัชรา เล่าเรียนดี. (2550). การนิเทศการสอน สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2555). การประยุกต์ใช้แนวคิด Teach Less, Learn More (TLLM) สู่การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนคณิตศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ 23(1). 1-11.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2. (2555). รายงานผลการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2.

________. (2556). รายงานผลการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2.

________. (2557). รายงานผลการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). การเรียนรู้บูรณาการ : ยุทธศาสตร์ครูปฏิรูป.กรุงเทพฯ : อุษาการพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง 2552 – 2561.กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2549). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency Based Learning. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้น.

Glickman, C. D.; Gordon, S.P. & Ross-Gordon, J.M. (2004). Supervision and Instructional Leadership A

Developmental Approach. The United States of America. Allyn and Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-22