การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะครูด้านการสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 Research and development of teacher competency development programs in creating electronic lessons Junior high school level in educational opportunity expansion schools under the office of Nongbaulamphu Primary Educational Service Area 2

ผู้แต่ง

  • อดิศร โครตนรินทร์, เจียมพล บุญประคม (Adisorn Khotnarin), (Jiampol Boonprakom)

คำสำคัญ:

โปรแกรมพัฒนา/ สมรรถนะครู/ บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะของครูด้านการสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพอันพึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ 3) เพื่อพัฒนาโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะครูด้านการสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ 4) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการนำโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะครูด้านการสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 66 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 1) เครื่องมือที่เป็นนวัตกรรม ได้แก่ โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะครูด้านการสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ และ 2) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบประเมิน แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพ อันพึงประสงค์ของคุณลักษณะและตัวบ่งชี้สมรรถนะครูด้านการสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ แบบประเมินความเหมาะสมคุณลักษณะและตัวบ่งชี้ของสมรรถนะครูด้านการสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะครูด้านการสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

 ผลการวิจัยพบว่า

      1) ครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส มีสมรรถนะ 3 ด้าน 30 ตัวบ่งชี้ คือ ด้านความรู้มี 10 ตัวบ่งชี้ ด้านการแสดงออกมี 10 ตัวบ่งชี้ และด้านความสามารถมี 10 ตัวบ่งชี้

    2) ครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาส มีสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับสมรรถนะครูด้านการสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ด้านความรู้ ด้านการแสดงออก และด้านความสามารถ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีสภาพที่พึงประสงค์เกี่ยวกับสมรรถนะครูด้านการสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ด้านความรู้ ด้านการแสดงออกและด้านความสามารถ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความสามารถด้านความรู้ และด้านการแสดงออก

   3) โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะครูด้านการสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย ความเป็นมาของโปรแกรม หลักการของโปรแกรม จุดหมายของโปรแกรม สาระที่ใช้ในการพัฒนา

   4) ผลของการนำโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะครูด้านการสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ไปใช้พบว่าครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาส มีคะแนนก่อนพัฒนา ได้คะแนนเฉลี่ย 23.36 จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 58.41 และมีคะแนนหลังการพัฒนาได้คะแนนเฉลี่ย 33.83 จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 84.58 แสดงว่าครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาส มีคะแนนหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา ผลการประเมินทักษะการสอนหลังการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสโดยรวมอยู่ในระดับมากและผลการวัดเจตคติของครูต่อโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะครู ด้านการสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

ทองไส เทียบดอกไม้. (2556). โปรแกรมพัฒนาครูด้วยการบรูณาการ ICT เพื่อการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นริศรา เหล่าสาย. (2556). การพัฒนาโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปรารถนา เพชรฤทธิ์. (2559). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2553). เทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ : ทฤษฎี วิธีวิจัย และการนําไปใช้. กรุงเทพฯ : วิตตี้กรุ๊ป.

พิมพ์พร พิมพ์เกาะ. (2557). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เมธี คชาไพร. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างความรู้และสมรรถนะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา สำหรับนิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (สาขาเทคโนโลยีการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ยอดอนงค์ จอมหงษ์พิพัฒน์. (2553). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูผู้นำการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ยุวลี โพยนอก. (2559). การพัฒนาโปแกรมพัฒนาครูผู้ช่วยด้านการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วราภรณ์ บุญเจียม. (2559). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูระดับประถมศึกษาด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ.วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-22