สภาพการขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะที่มีต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 The condition of requesting to have or to promote academic standing Towards the performance of teacher civil servants Secondary Education Service Area Office District 42

ผู้แต่ง

  • อภิเชษฐ์ ฉิมพลีสวรรค์ (Apichate Chimpaleesawan)

คำสำคัญ:

วิทยฐานะ/ การปฏิบัติงานของข้าราชการครู

บทคัดย่อ

      การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะที่มีต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และใช้รูปแบบการสำรวจ (Survey Research) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ข้าราชการครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 2,483 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ข้าราชการครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการเปิดตารางของเครซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 333 คน ในการศึกษาที่ความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ และใช้การสุ่มอย่างง่าย เพื่อให้ได้จำนวนตามขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการไม่น้อยกว่าตามที่ตารางของเครซี่และมอร์แกนกำหนดไว้ที่ความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ การศึกษาในครั้งนี้มีบุคลากรข้าราชการครูของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 เป็นกลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษา จำนวน 637 คน ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น คำนวณโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.9237 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์สภาพการขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะที่มีต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 วิเคราะห์โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแปลความหมายของกลุ่มของค่าเฉลี่ยผลการศึกษา พบว่า ข้าราชการครูมีความต้องการอบรมเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจหลักเกณฑ์ และวิธีการพัฒนาให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะที่สูงขึ้น ในภาพรวม อยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ข้อ 3 ตัวชี้วัดและเกณฑ์การตัดสิน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ข้อ 7 แนวปฏิบัติการขอมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภา.

ชนาธิป ทุ้ยแป. (2551). การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานสำหรับครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การประยุกต์ใช้การประเมินผลที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ตามระดับความ เชี่ยวชาญ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษาภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐพล อินต๊ะเสนา. (2552). การวิจัยแบบผสมผสานเพื่อศึกษาผลกระทบของการเลื่อนวิทยฐานะที่มีต่อการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด.(2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 (2563). แผนปฏิบัติการประจำปี 2563. นครสวรรค์ : กลุ่มงานแผนและนโยบาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (2552). หลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ออนไลน์). แหล่งที่มา khttp://www.otepc.net/ webtcs/ (17 มีนาคม 2563)

อรรณพ จีนะวัฒน์. (2559, พฤษภาคม - สิงหาคม). การพัฒนาตนของผู้ประกอบวิชาชีพครู. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal.ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 9 (2) : 1382.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-22