ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลโลกของนักเรียนโรงเรียนโพนทองพัฒนาวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด Factors Affecting Global Citizenship of Student in Phontongpattanawittaya School The Secondary Education Service Area Office Roi Et

ผู้แต่ง

  • วิไลภรณ์ เตชะ (Wilaiporn Techa)

คำสำคัญ:

ปัจจัย / ความเป็นพลโลก/ นักเรียน

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. ศึกษาระดับปัจจัยและระดับความเป็นพลโลกของนักเรียนโรงเรียนโพนทองพัฒนาวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด และ 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับความเป็นพลโลกของนักเรียนโรงเรียนโพนทองพัฒนาวิทยา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด และ 3. สร้างสมการพยากรณ์ความเป็นพลเมืองโลกของนักเรียนโรงเรียนโพนทองพัฒนาวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด  ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนโพนทองพัฒนาวิทยา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำนวน 2,744 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 396 คน โดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่างและเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักการทางสถิติ (Statistical Sampling Methods) ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling)  จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 3 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check List)  ตอนที่ 2 แบบสอบถามวัดระดับความเป็นพลโลกเป็นแบบมาตรวัดประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และ ตอนที่ 3 แบบสอบถามวัดปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลโลกตามการรับรู้ของตนเอง ลักษณะเครื่องมือเป็นแบบมาตรวัดประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับค่าความเชื่อมั่นโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์ของคอนบาร์ค มีค่าเท่ากับ 0.97 และค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยหาค่า  IOC  มีค่าเท่ากับ 1.00  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป  ในการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างของปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลโลกของนักเรียนโรงเรียนโพนทองพัฒนาวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด โดยใช้วิธี Multiple Regression 

ผลการวิจัย พบว่า

1. ระดับความเป็นพลโลกของโรงเรียนโพนทองพัฒนาวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด อยู่ในระดับปานกลาง (  เท่ากับ 2.88) และ ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลโลกของนักเรียนโรงเรียนโพนทองพัฒนาวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด ได้แก่ ความรู้เชิงลึกอยู่ในระดับมาก (เท่ากับ 3.62) ประชาธิปไตย อยู่ในระดับมาก (เท่ากับ 3.52) สิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาก (เท่ากับ 3.51) ความยุติธรรม  อยู่ในระดับปานกลาง ( เท่ากับ 3.13)  ความรับผิดชอบต่อสังคม อยู่ในระดับมาก (เท่ากับ 3.61)  

2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างของปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลโลกของนักเรียนโรงเรียนโพนทองพัฒนาวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด พบว่าตัวแปรทุกตัวมีความสัมพันธ์ทางบวก โดยมีค่าอยู่ระหว่าง .608 ถึง .717 คู่ที่มีค่าความสัมพันธ์สูงสุด ได้แก่ ความรู้เชิงลึกกับสิ่งแวดล้อม มีค่าเท่ากับ .717 รองลงมาคือ ความรู้เชิงลึกกับประชาธิปไตย ส่วนคู่ที่มีค่าความสัมพันธ์ต่ำสุด ได้แก่ ความรู้เชิงลึกกับความเป็นพลโลก  มีค่าเท่ากับ .608  โดยพบปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองโลก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 ได้แก่  สิ่งแวดล้อม (beta เท่ากับ .289) ประชาธิปไตย (beta  เท่ากับ .284) และความรู้เชิงลึก  (beta  เท่ากับ .203) โดยที่ค่าประสิทธิภาพของการทำนาย R2 เท่ากับ .479  

3. ปัจจัยที่พยากรณ์เชิงบวกความเป็นพลเมืองโลกของนักเรียนโรงเรียนโพนทองพัฒนาวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด คือ สิ่งแวดล้อม ประชาธิปไตย และความรู้เชิงลึก และสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้

สมการพยากรณ์ได้ในรูปแบบคะแนนดิบ

Y=.594 + .238 (X1)+ .256  (x2)  +.172 (x3)   

สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน

Z=.289 (Z1) + .284 (Z2) + .203 (Z3)   

References

จตุภูมิ เขตจัตุรัส . (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนในศตวรรษที่ 21. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จินตนา ศรีนุกุล. (2557). ศูนย์เรียนรู้การเมืองและการเลือกตั้ง อาเซียน: แนวทางการให้การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. รายงานการศึกษาส่วนบุคคล (Individual Study) หลักสูตรนักบริหารการทูต รุ่นที่ 6 ปี 2557 สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการกระทรวงการต่างประเทศ.

ทิพย์พาพร ตันติสุนทร. (2554). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง. กรุงเทพฯ : สถาบันนโยบายศึกษา.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.

ปาจรีย์ รัตนานุสนธิ์. (2556). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นพลโลกของนักเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2553). การจัดการความรับผิดชอบ ต่อสังคมขององค์กร การสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน. นนทบุรี : ธิงค์ บียอนด์ บุ๊กส์.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี สฤษดิวงศ์.

ศิริชัย กาญจนวาสี และคณะ. (2547). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : บุญศิริการพิมพ์.

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. (2550). รายงานประจำปี 2550. กรุงเทพฯ: สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย.

สมคิด สกุลสถาปัตย์. (2552). รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลต่อการปฏิรูปการศึกษาอย่างยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ ปร.ด (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สิริวรรณ ศรีพหล. (2551). โครงการการพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกล เรื่องการจัดการเรียน การสอนเพื่อพัฒนาลักษณะความเป็นพลโลกของนักเรียนสำหรับครูสังคมศึกษา. นนทบุรี : หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุวิมล ติรกานันท์. (2542). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ . (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. กรุงเทพฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2559 : 187) สภาวการณ์การศึกษาไทย กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชลิกา ผิวเพชร. (2555). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.(การวิจัยการศึกษา) . มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Cogan, J. J. and Derricott, R. (2000). Citizenship for the 21th Century: an international perspective on education. London : Kogan page.

Hargreaves, A. (2004). Sustainable Leadership. San Francisco: Jersey–Bass.

UNESCO (2015). Global citizenship education: topics and learning objectives. Available at : http://unesdoc.unesco.org/images/0023/002329/232993e.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-22