การพัฒนารูปแบบการบริหารงานคุณภาพแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือ PRA (PDCA) 3 Model : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดหนองกลางด่าน (สมบุญประชานุเคราะห์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2

The Development Of Community - Based Participatory Quality Management Model Under The Philosophy Of Sufficiency Economy (PRA(PDCA) 3 Model) : Case Study At Watnongklangdan (Somboonprachanuhroh) School, Ratchaburi Primary Education Service Area Office 2

ผู้แต่ง

  • ประสันตา โสมอินทร์ (Prasanta Somintara) -

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหารงานคุณภาพ; การมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน; หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานคุณภาพแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารงานคุณภาพแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโรงเรียน จำนวน 95 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ใช้ประเมินคุณภาพ จำนวน 45 คน และกลุ่มที่ใช้ประเมินประสิทธิผล จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินด้านบริบททั่วไป แบบประเมินด้านปัจจัยนำเข้า แบบประเมินด้านกระบวนการ แบบประเมินด้านผลิตผล และแบบประเมินด้านความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)                                                                                                                                                                                  ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการบริหารงานคุณภาพแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีคุณภาพความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.94, S.D = .24) และ 2) รูปแบบการบริหารงานคุณภาพแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีประสิทธิผลอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.95, S.D = .22) และมีประสิทธิผลรายด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านกระบวนการ ( gif.latex?\bar{x} = 4.97, S.D. =.17) ด้านผลิตผล ( gif.latex?\bar{x} = 4.96, S.D. =.20) ด้านความพึงพอใจ ( gif.latex?\bar{x} = 4.95, S.D. =.22) ด้านปัจจัยนำเข้า ( gif.latex?\bar{x} = 4.94, S.D. = .24) และด้านบริบททั่วไป (gif.latex?\bar{x} = 4.93, S.D. =.25)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). นโยบายและวาระเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการปีงบประมาณ พ.ศ.2565. http:// www.moe360.blog/2021/03/29/29-3-2564/สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565.

ธนันภร อิ่มอยู่. (2019). การบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้กลยุทธ์แบบ "บวร" ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 5(2), 297-313.

ธีรกุล พงษ์จงมิตร. (2563). การพัฒนาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ (Journal of MCU Nakhondhat), 7(6), 229-243.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). วิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพ ฯ : สุวีรยาสาสน์.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2559). วิธีทางการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: มีนเซอร์วิส ซัพพลาย.

พรนภา ประยศ. (2022). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้สถานศึกษา ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นฐานเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนแม่หลวงอุปถัมภ์ไทยคีรีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธวัดวังตะวันตก

(Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 7(5), 212-229.

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก.

ราชกิจจานุเบกษา. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580). เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก.

ราชกิจจานุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). รูปแบบการประเมิน CIPP และ CIPPIEST มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและถูกต้องในการใช้, วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(2): 2-9.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 258 ง.

สำนักงานเลขาสภาผู้แทนราษฎร. (2559). รายงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาปี พ.ศ.2559 เรื่อง ข้อเสนอแนะเพื่อการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 31 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. ที่ สผ (สปท) 0014/3256.

สุรีย์พร พิณพาทย์. (2022). การพัฒนารูปแบบการบริหารการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา

โรงเรียนบ้านหนองปากดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. Journal of Yanasangvorn Research Institute, 13(2), 2022, 93-107.

Saylor, J. G., W. Alexander and A. J. Lewis. 1982. Curriculum Planning for Better Teaching and Learning. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Stufflebeam D. L. 1971. The Relevance of the CIPP Evaluation Model for Educational Accountability. The Ohio State University. Paper read at the Annual Meeting of the American Association of School Administrators Atlantic City, New Jersey.

https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED062385.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27