ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบสมอไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบสมอไทย และแยกองค์ประกอบของสารสกัดหยาบสมอไทย โดยนำเนื้อสมอไทยสกัดด้วยเอทานอลด้วยวิธีการแช่ยุ่ย จากนั้นนำสารสกัดหยาบสมอไทยมาวิเคราะห์หาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด แทนนินทั้งหมด โดยศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบด้วยวิธี DPPH Radical Scavenging ด้วยเครื่อง UV-VIS Spectrophotometer และนำสารสกัดหยาบสมอไทยที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์โลชั่น ผลการวิจัยพบว่า สารสกัดหยาบสมอไทยมีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด เท่ากับ 85.22 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิคต่อ 100 กรัมน้ำหนักแห้ง ปริมาณแทนนินทั้งหมด เท่ากับ 365.77 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 13.24 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ขณะที่ BHA และ BHT มีค่า IC50 เท่ากับ 12.06 และ 11.92 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ แยกสารสกัดหยาบสมอไทยเป็น 5 กลุ่ม (F1, F2, F3, F4 และ F5) และ พบว่าสารกลุ่ม F2 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 12.53 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ผลิตภัณฑ์โลชั่นที่ได้ มีสีขาว ไม่มีกลิ่น เนื้อโลชั่นไม่แยกชั้น และมีความเป็นกรด–ด่าง เท่ากับ 6.7
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ณพัฐอร บัวฉุน. (2558). การพัฒนาโลชั่นจากสารสกัดหยาบชะเอมไทยที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10(2), 97-106.
ปฏิมา บุญมาลี และ ปัทมา เทียนวรรณ. (2556). ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและเอนไซม์ไทโรซิเนสของครีมตรีผลา. ปริญญาเภสัชศาสตร์ บัณฑิตคณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.
พิชยา ประเสริฐแสง และ วรินทร ชวศิริ. (2545). องค์ประกอบทางเคมีของผลพิลังกาสา (Ardisia colorata Roxb.) และฤทธิ์ทางชีวภาพ. ปริญญานิพนธ์วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. วิทยาศาสตร์ (เคมี). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัตนา อินทรานุปกรณ์. (2547). การตรวจสอบและการสกัดแยกสารสำคัญจากสมุนไพร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนสิชา ขวัญเอกพันธ์ และคณะ. (2555). ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดจากส่วนเถาชะเอมไทย. เชียงราย : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
สุธาทิพย์ อินทรกำธรชัย และคณะ. (2555) การพัฒนาครีมชะลอวัยผสมสารสกัดดอกมะลิลา เชียงราย: มหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง.
Leite, L., &Dourado, L. (2013). Laboratory activities, science education and problem-solving skills. Procedia-Social and Behavioral Sciences. 106, 1677-1686.
Lingkard, K., Singlaton, V.L.(1977). Totalphenal analysis Automation and comparison with manual method. Am J EnolVitic. 28, 49-55.