การศึกษาสมบัติทางเคมีและกายภาพของภาชนะย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากเปลือกกล้วยน้ำว้าเสริมกาบกล้วย

Main Article Content

โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล
อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการอัดขึ้นรูปภาชนะจากเปลือกกล้วยเสริมกาบกล้วย โดยใช้อัตราส่วนของกาบกล้วยในการขึ้นรูปภาชนะเท่ากับ ร้อยละ 20, 30 และ 40 ด้วยวิธีการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จากนั้นศึกษาคุณสมบัติของภาชนะที่เตรียมได้ ได้แก่ ค่าความหนา ค่าการดูดซึมน้ำ ค่าความต้านทานแรงดึง แรงกดทะลุ ค่าการทนความร้อน และวิเคราะห์พื้นผิวด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดแล้วคัดเลือกภาชนะที่มีคุณสมบัติดีที่สุด เพื่อศึกษาปริมาณจุลินทรีย์ การย่อยสลายทางชีวภาพ และสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภค ผลการวิจัยพบว่า ภาชนะย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากเปลือกกล้วยเสริมกาบกล้วยร้อยละ 30 มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งภาชนะที่ได้มีสีน้ำตาล ขอบและก้นภาชนะมีความหนา 1.83 มิลลิเมตร และ 2.03 มิลลิเมตร ตามลำดับ มีค่าการดูดซึมน้ำเท่ากับ 432.87 นาที/มิลลิลิตร มีค่าความต้านทานแรงดึงขาด 32.54 นิวตัน ค่าความต้านทานแรงกดทะลุเท่ากับ 11.28 นิวตัน จากการทดสอบการทนความร้อนของวัสดุ พบว่า วัสดุมีอุณหภูมิเริ่มต้นการสลายตัวที่ 266.40 องศาเซลเซียส มีปริมาณสารที่เปลี่ยนแปลงไปร้อยละ 86.62 จากการวิเคราะห์พื้นผิวภาชนะด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ตามโครงสร้างตัดขวาง พบว่า เส้นใยมีการจับตัวกันเป็นกลุ่มก้อน มีช่องว่างระหว่างชั้นน้อย ภาชนะมีปริมาณจุลินทรีย์เท่ากับ 1.1x102 CFU/ชิ้น สามารถย่อยสลายได้ภายใน 45 วัน และผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหาร มีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์โดยรวมเท่ากับ 4.73 + 0.45 และ 4.40 + 0.55 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีความเหมาะสมสำหรับนำไปใช้บรรจุอาหารทดแทนการใช้กล่องโฟมที่ไม่สามารถย่อยสลายได้เองในธรรมชาติ และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกกานต์ วีระกุล, จิราภรณ์ สอดจิตร์, และเหรียญทอง สิงห์จานุสงค์. (2558). การสกัดใยอาหารจากเปลือกกล้วยน้ำว้าโดยใช้เอมไซม์และการนำไปประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์โยเกิร์ต. วารสารวิจัย มสด สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 8(3), 61-80.

ณรงค์ ฤทธิ์เทพ, วรุณยุพา วิยาภรณ์, และสุภาภรณ์ สงห์เดช. (2547). การผลิตถ่านแท่งจากเปลือกกล้วย และงวงเครือกล้วยน้ำว้าดิบ. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. กระทรวงพลังงาน. กรุงเทพมหานคร. 74 น.

ทินกร อัญชลีวิทยากุล. (2546). การผลิตกระดาษจากต้นกล้วยและการใช้ประโยชน์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนาชุมชน คณะคหกรรม, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นพดล จันทรลักษณ์, และสมนึก วัฒนศรียกุล. (2555). การออกแบบและสร้างเครื่องขึ้นรูปภาชนะที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2555 (1770-1775), จังหวัดเพชรบุรี: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

นันทิยา ลาภสาธิต. (ม.ป.ป.). บรรจุภัณฑ์ชานอ้อยเพื่อสิ่งแวดล้อม. สืบค้นจาก https://www.npc-se.co.th/detailknowledgebase-7-.

ปราณี ชุมสำโรง. (2547). การศึกษาสมบัติเชิงกลของพลาสติกเสริมแรงด้วยเส้นใยธรรมชาติที่มีในประเทศไทย. รายงานการวิจัย สาขาวิชาวิศวกรรมพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ผู้จัดการออนไลน์. (2565). วว. โชว์ “ภาชนะจากวัสดุธรรมชาติ” เพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ทดแทนการใช้พลาสติก. สืบค้นจาก https://mgronline.com/science/detail/9650000046919?fbclid=IwAR320lEUCQzOriXox_NnBAhxldOs4sRqe5mcR-MrqjmqzqunhCG4kakAgmQ.

พูลสุข บุณยเนตร. (2553). การเพิ่มความคงทนของสีในเส้นด้ายฝ้ายย้อมสีธรรมชาติด้วยไอน้ำ. วารสารคหเศรษฐศาสตร์, 53(1), 18-24.

มลสุดา ลิวไธสง. (2556). การผลิตภาชนะย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากกาบกล้วย. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

วิภา สุโรจนะเมธกุล, และคณะ. (2541). การใช้ดอกกระเจี๊ยบและเปลือกถั่วเหลืองเพื่อผลิตเซลลูโลสผง. อาหาร, 28(47), 255-267.

ศศิณัฏฐ์ หล่อธนารักษ์. (2558). การศึกษาคุณสมบัติการแปรรูปจากต้นกล้วยเพื่อนำมาออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งภายในบ้าน. วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริพร เต็งรัง. (2558). วิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์. กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพมหานคร.

สมเกียรติ สุทธิยาพิวัฒน์, และธมยันตี ประยูรพันธ์. (2563). การออกแบบ และพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มที่นำสู่ความเข้มแข็งของชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 12(1), 120-131.

สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร. (2560). เกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร ฉบับที่ 3. นครปฐม: บริษัท พีทู ดีไซต์ แอนด์ พริ้นท์ จำกัด.

โสรญา ส้มเขียวหวาน. (2557). ศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตกระดาษอย่างง่ายจากเปลือกกล้วยสดและจากผลผลิตเหลือทิ้งหลังการหมักเอทานอล. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Moberg, L & Kornacki, JL. (2015). Microbiological Monitoring of the Food Processing Environment. Compendium of methods for the microbiological examination of foods. Washington: American Public Health Association.